ASEAN ร่วมใจ ขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม ADB ชี้ Green bonds โตเพิ่มกว่า 51.3% | Techsauce

ASEAN ร่วมใจ ขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม ADB ชี้ Green bonds โตเพิ่มกว่า 51.3%

10 ชาติประชาคม ASEAN ได้เร่งออก Green bonds หรือตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน โดยตั้งเป้าระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการคาดการณ์ว่าจะบรรลุแผนงานเพื่อชะลอภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้

ASEAN ร่วมใจ ขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม ADB ชี้ Green bonds โตเพิ่มกว่า 51.3%

ตามรายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปริมาณตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนจากตลาดหลักในอาเซียนและเอเชียตะวันออก (อาเซียน และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) มีมูลค่าถึง 478.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีการขยายตัว 51.3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว

รายงานระบุว่าอาเซียนและเอเชียตะวันออกคิดเป็น 18.1% ของการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนทั่วโลก โดยเป็นรองแต่เพียงยุโรปที่ตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ทั้งนี้ ภูมิภาคอาเซียน  "มีอัตราการเติบโตที่มากกว่า" ซึ่งโดดเด่นอย่างมาก ท่ามกลางแนวโน้มความนิยมของอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวในเรื่อง Carbon Footprint ทั่วโลก ซึ่งความเคลื่อนไหวของแต่ละประเทศเป็นดังนี้

ประเทศไทย

ไทยได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ซึ่งภาคเอกชนเป็นผู้นำในการออก Green bonds โดย ธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต ได้ออกพันธบัตรชุดแรกของประเทศที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทเอกชนอื่นๆ จึงร่วมตบเท้าออก Green bonds บ้าง เช่น ผู้ผลิตอาหาร Thai Union และผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ได้ออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน และหลังจากนั้นรัฐบาลจึงออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนในปี 2020 เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากการระบาด COVID-19

รายงานของ Climate Bonds Initiative และ ADB ยังระบุด้วยว่าไทยอยู่ใน "ตำแหน่งที่ดี" ในการดึงดูดนักลงทุนที่มุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคได้มากที่สุด เนื่องจากตลาดมีความพร้อม ตั้งแต่ปี 2020 การออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนโดยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีมูลค่าสูงถึง 1.27 แสนล้านบาท ตามรายงานประจำปีของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะของไทยที่เปิดเผยเมื่อปีที่แล้ว 

สิงคโปร์

สิงคโปร์เองนั้นกำลังตั้งเป้าการออกพันธบัตรสำหรับโครงสร้างทางรถไฟเพื่อส่งเสริมให้ผู้สัญจรด้วยรถไฟมากขึ้นและลดการพึ่งพารถยนต์ โครงการของรัฐนี้รวมถึงเครือข่ายรถไฟอย่าง Jurong Region ทางตะวันตกของสิงคโปร์ด้วย โดยรัฐบาลคาดหวังที่จะลดการปล่อยมลพิษในการขนส่งทางบกลง 80% ภายในอีกสิบปีข้างหน้านี้

Indranee Rajah รัฐมนตรีคลังของสิงคโปร์ ได้กล่าวเกี่ยวกับกรอบการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมว่า “การลงทุนในโครงการสีเขียวต่างๆ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของสิงคโปร์ โดยใช้ Green Bond ดึงดูดเงินทุน และนักลงทุน เพื่อกระตุ้นการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนในภูมิภาค”

ทั้งนี้ สิงคโปร์กำลังปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการปกป้องชายฝั่ง ในฐานะประเทศเกาะเล็กๆ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมส่งผล สิงคโปร์จึงตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งจากระดับสูงสุดที่คาดการณ์ไว้ในปี 2030

ฟิลิปปินส์

เมื่อต้นปี 2021 นี้ ฟิลิปปินส์ได้ออก Green bonds เป็นครั้งแรกในส่วน "เงินทุนสำหรับโครงการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว" โดยจำหน่าย Green bonds อายุครบกำหนดชำระ 25 ปีมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง Carlos Dominguez กล่าวว่า "การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนนั้นเป็นการเน้นย้ำความเชื่อมั่นของนักลงทุน ในการพัฒนาที่ยั่งยืนและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 75% ภายในปี 2030"

มาเลเซีย

มาเลเซียซึ่งมีประชากรมุสลิมอาศัยเป็นจำนวนมากได้เปิดตัวตราสารหนี้อิสลามสีเขียวหรือ Sukuk มาตั้งแต่ปี 2017 โดยครั้งนั้นมาเลเซียมีเป้าหมายเพื่อระดมเงินทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงสิ้นปีที่แล้ว ภาคเอกชนของมาเลเซียได้ขาย Sukuk เป็นจำนวนเงินกว่า 8.3 พันล้านริงกิต (1.9 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งทำให้มาเลเซียเป็นผู้ออก Green bonds รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียออก Green bonds มูลค่า 6.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงระหว่างปี 2018 ถึง 2021 ตามรายงานของ Climate Bond Initiative โดย Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของประเทศ กล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ว่า Green bonds ทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกสำหรับงบประมาณของรัฐ และในขณะเดียวกันก็คาดว่าจะช่วยให้รัฐบาลบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2060 รวมถึงพลังงานหมุนเวียน การขนส่งที่ใช้คาร์บอนต่ำ และโครงสร้างการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

อ้างอิงจาก Nikkei Asia

พบกับงาน Tech Conference ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
'Techsauce Global Summit 2022' ขนทัพความรู้จาก Speaker ระดับโลก 
พร้อมหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
อ่านรายละเอียดได้ที่ https://techsauce.co/news/techsauce-global-summit-2022
ซื้อบัตรได้ที่ : https://summit.techsauce.co/


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...