แบงก์ชาติขยับเรื่อง Digital Asset ไฟเขียวให้บริษัทลูกของสถาบันการเงินลงทุนใน "สินทรัพย์ดิจิทัล" ได้แล้ว

แบงก์ชาติขยับเรื่อง Digital Asset ไฟเขียวให้บริษัทลูกของสถาบันการเงิน ลงทุนใน "สินทรัพย์ดิจิทัล" ได้แล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ออกหนังสืออนุญาตให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันการเงิน สามารถดำเนินการออกโทเคนดิจิทัล, ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล, ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แล้ว Photo: ShotStash

ก่อนหน้านี้ เราจะเห็นว่า กลต. ออกประกาศหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) หรือโทเคนดิจิทัล (Digital Token) ออกมาเป็นจำนวนมาก

ล่าสุดถึงคิวของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ประกาศยกเลิกหนังสือ ธปท.ฝนส.(23)ว. 276/2561 เรื่อง ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561

โดยออกหนังสือใหม่ คือ ธปท.ฝนส.(23)ว. 1759/2561 เรื่อง แนวทางการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561

โดยเนื้อหาในหนังสือระบุว่า ธปท. อนุญาตให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ที่มีหน่วยงานกำกับโดยเฉพาะ ได้แก่

  • บริษัทหลักทรัพย์
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
  • บริษัทประกันวินาศภัย
  • บริษัทประกันชีวิต

สามารถดำเนินการออกโทเคนดิจิทัล, ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล, ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แล้ว

แต่ยังอนุญาตไม่ให้ตัวสถาบันการเงินดำเนินการโดยตรง

"เนื่องจากพัฒนาการของสินทรัพย์ดิจิทัลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่สามารถประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลจึงอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินและเสถียรภาพของระบบการเงินได้" ธปท. กล่าวถึงเหตุผลที่ห้ามสถาบันการเงินดำเนินการอะไรที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงในเวลานี้

แต่สถาบันการเงินใดที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการเงิน ก็เปิดช่องให้เข้าร่วมทดสอบบริการทางการเงินผ่าน Regulatory Sandbox ได้ และหลังจากมีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวออกมา ก็ไม่ต้องเข้า Sandbox อีกต่อไป โดยทำตามมาตรฐานทีออกมาแทน

Photo: Techsauce

ส่วนแนวทางการกำกับดูแล ธปท. ระบุว่า หากสถาบันทางการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะทำธุรกรรมหรือประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ

  1. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุดของสถาบันการเงินหรือของบริษัทแล้วแต่กรณี
  2. ต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรัดกุม
  3. บริษัทของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ธปท.

นอกจากนี้ ธปท. ยังระบุในหนังสือนี้ว่าจะเตรียมออกหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับสินทรัพยืดิจิทัล เช่น หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนของสุาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในลำดับต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ GenAI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

หากต้องการใช้ศักยภาพจาก AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรควรปรับระบบการทำงาน โครงสร้างกำลังคน และเตรียมบุคลากรให้พร้อม ด้วยแนวคิด "Net Better Off" สนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ ทำง...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...