ธปท. ขยายวงเงินการโอนทางออนไลน์ ส่วนคลังเปิดทางตั้งบริการกู้ยืมเงิน Peer-to-Peer ได้แล้ว | Techsauce

ธปท. ขยายวงเงินการโอนทางออนไลน์ ส่วนคลังเปิดทางตั้งบริการกู้ยืมเงิน Peer-to-Peer ได้แล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขยายวงเงินการโอนทางออนไลน์ จากไม่เกิน 50,000 เป็นไม่เกิน 699,999 บาท ส่วนกระทรวงการคลังเปิดทางให้ตั้งแพลตฟอร์มกู้ยืมเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) ได้อย่างเป็นทางการ แต่ต้องเข้า Regulartory Sandbox ของ ธปท. ก่อน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก 2 ประกาศสำคัญ ได้แก่ (1) การขยายวงเงินการโอนผ่านช่องทาง Online และ (2) ประกาศกรอบการกำกับดูแลระบบธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือ Peer-to-Peer Lending Platform ของกระทรวงการคลัง

ขยายวงเงินการโอนทางออนไลน์ จากไม่เกิน 50,000 เป็นไม่เกิน 699,999 บาท

ประกาศแรกเปิดเผยโดย คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ปัจจุบันการทำธุรกรรมโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก โดยอ้างอิงจากข้อมูล 2 ส่วน

  • การใช้งานบริการพร้อมเพย์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 35 ต่อเดือน โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 2 ปี 2561 ธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า อันเป็นผลจากการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
  • พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่นิยมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Device) ในการโอนเงิน โดยคิดเป็นสัดส่วนมูลค่ากว่าร้อยละ 81 ของมูลค่าธุรกรรมทั้งหมด และมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 31 ต่อเดือน สอดคล้องกับความนิยมในการใช้ Mobile Banking ที่เพิ่มสูงขึ้น

ทำให้ ธปท. และธนาคารพาณิชย์ผู้ให้บริการ ได้หารือร่วมกันถึงการขยายวงเงินการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ Internet Banking และ Mobile Banking โดยธนาคารพาณิชย์จะทยอยเพิ่มวงเงินสูงสุดในการโอนเงิน ตามระดับการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละธนาคาร จากวงเงินเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายการ เพิ่มวงเงินเป็นไม่เกิน 699,999 บาทต่อรายการ ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นไป

Photo: Techsauce

เปิดทางให้ตั้งแพลตฟอร์มกู้ยืมเงินระหว่างบุคคล แต่ต้องเข้า Sandbox ก่อน

ประกาศที่สองเปิดเผยโดย คุณฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58

โดยให้ธุรกิจ Peer-to-Peer Lending Platform ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างผู้ให้กู้ และผู้ขอกู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และต้องมีทุนขั้นต่า 5 ล้านบาทตลอดระยะเวลาการประกอบธุรกิจ

นอกจากนี้ Platform ดังกล่าวต้องมีแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค และมาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น กระบวนการรู้จักลูกค้า การประเมินความเหมาะสม (client suitability) ของผู้ให้กู้ และการประเมินระดับความเสี่ยง (Credit Rating) ของผู้ขอกู้

ธปท. จะกำหนดหลักเกณฑ์รองรับผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อมายัง ธปท. เพื่อขอเข้าร่วมทดสอบใน Regulatory Sandbox ของ ธปท. และเมื่อพร้อมให้บริการในวงกว้างแล้ว ธปท. จะเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ใบอนุญาตต่อไป

คุณฤชุกรให้เหตุผลในการเปิดทางครั้งนี้ว่า "เพื่อขยายการเข้าถึงบริการด้านสินเชื่อให้แก่ประชาชนรายย่อยที่ประกอบธุรกิจโดยการนาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการ สอดคล้องกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งมีการกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างเหมาะสม"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KKP คาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 หดตัว บ้านใหม่เสี่ยงค้างสต๊อกสูงสุดใน 8 ปี หวังมาตรการใหม่ช่วยกระตุ้น

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผย ตลาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 ยังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดชะลอตัวได้แก่ หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90%...

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...