บ้านปูทุ่ม 2.4 หมื่นล้านซื้อเเหล่งก๊าซบาร์เนตต์ขึ้นเเท่นผู้นำธุรกิจพลังงานในอเมริกา | Techsauce

บ้านปูทุ่ม 2.4 หมื่นล้านซื้อเเหล่งก๊าซบาร์เนตต์ขึ้นเเท่นผู้นำธุรกิจพลังงานในอเมริกา

สถานการณ์ของธุรกิจพลังงานที่เป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่มาเเรงเเละมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตได้หลายทางโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจพลังงานครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างบ้านปูที่ได้ประกาศถึงแผนธุรกิจของปี 2020 โดยเผยถึงการขยายโครงการสำคัญทั้งในส่วนของ บ้านปูและบ้านปูเพาเวอร์ ที่ได้เดินหน้ากลยุทธ์ Greener ขยายธุรกิจก๊าซธรรมชาติในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

บ้านปูได้เปิดเผยว่าเมื่อเดือนธันวาคม 2019 บ้านปูฯ ได้ลงทุนเป็นจำนวน 770 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 23,907 ล้านบาท) เพื่อเข้าซื้อแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ในมลรัฐ  เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอุปสงค์การใช้ก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาคิดเป็น 15% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมของประเทศ 

ส่งผลให้บ้านปูฯ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ 20 อันดับแรกของสหรัฐอเมริกา การเข้าซื้อกิจการแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ นับได้ว่าอยู่ในช่วงเวลาและราคาที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งที่สามารถซื้อได้ในราคาที่ไม่สูงมากสำหรับการลงทุนทำให้มีความเสี่ยงและมีต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำ และช่วยยกระดับศักยภาพของบ้านปูฯ ให้มีพอร์ตทางธุรกิจที่หลากหลายตอบรับกับความต้องการในหลากหลายพื้นที่ จากเดิมที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ Marcellus ในพื้นที่ตะวันออกเฉียง เหนือของมลรัฐเพนซิลเวเนียอยู่แล้ว โดยบ้านปูมองว่าการเข้าซื้อบาร์เนตต์ฯ ครั้งนี้มีโอกาสคืนทุนได้เร็ว โดยคาดการณ์ว่าสามารถคืนทุนให้บ้านปูฯ ได้ภายใน 6 ปี ขณะที่มีปริมาณสำรองการผลิตระยะยาวอย่างน้อย 16 ปี  

บ้านปูรายงานผลภาพรวมการดำเนินงานปี 2019 ของบริษัทฯ ดังนี้

  • มีรายได้จากการขายรวม 2,759 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 85,660 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อน 722 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 22,416 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 21 โดยมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) รวม 695 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,578 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 41 จากปีก่อนหน้า 
  • มีรายได้จากการขายรวม 2,759 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 85,660 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อน 722 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 22,416 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 21 มีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) รวม 695 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,578 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 41 จากปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิก่อนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนคิดเป็นจำนวน 75 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,329 ล้านบาท) ซึ่งปรับลดลงร้อยละ 66 จากปีก่อนหน้า
  • จากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมาทำให้เกิดผลขาดทุนจากการแปลงค่างบการเงินจำนวน 95 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,950 ล้านบาท) งบการเงินรวมจึงได้บันทึกขาดทุนสุทธิจำนวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 621 ล้านบาท)


ในส่วนของ บ้านปูเพาเวอร์เองได้เริ่มการขยายเเผนพัฒนาเช่นกันในส่วนของการขยายโรงไฟฟ้าและพอร์ตพลังงานสะอาดในจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม โดยในปี 2020 เตรียม COD โรงไฟฟ้าในจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม รวมอีก 451 เมกะวัตต์ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 แต่บ้านปูเพาเวอร์เองไม่ได้กระทบมากนักยังสามารถควบคุมสถานการณ์ในจีนได้และยังมุ่งมั่นพัฒนาโครงการต่อไป สำหรับปี 2020 บริษัทฯ คาดว่าจะมีโรงไฟฟ้าที่ COD เพิ่มอีก 4 แห่ง กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 451 เมกะวัตต์เทียบเท่า ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวงในจีน โรงไฟฟ้าพลังงานลม ระยะที่ 1 ในเวียดนาม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยามางาตะ (Yamagata) และยาบูกิ (Yabuki) ในญี่ปุ่น

บ้านปูเพาเวอร์ รายงานผลภาพรวมการดำเนินงานปี 2019 ของบริษัทฯ ดังนี้

  • มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ที่ 4,802 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 19 และมีกำไรจากการดำเนินงานรวม 3,191 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปีก่อน 
  • เนื่องจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงของโรงไฟฟ้าหงสาและโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งยังคงเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยรายงานดัชนีค่าความพร้อมจ่าย (Equivalent Availability Factor: EAF) ที่ร้อยละ 81 และร้อยละ 90 ตามลำดับ
  • ในปี 2019 บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีรายได้รวม 5,687 ล้านบาท จากธุรกิจไฟฟ้าในจีน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 7 แห่ง จำนวน 755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 40 ล้านบาท เป็นผลมาจากปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต
  • รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม จำนวน 4,790 ล้านบาท นอกจากนี้ยังรับรู้รายได้จากธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 142 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรภายใต้การลงทุนตามโครงสร้าง TK จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นอีกจำนวน 39 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไร 3,673 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีก่อน 

สำหรับการปรับเป้าหมายขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2025 แบ่งเป็นพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป 4,500 เมกะวัตต์เทียบเท่า และพลังงานหมุนเวียน 800 เมกะวัตต์ ส่วนหลังจะมาจากการเข้าถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด (Banpu NEXT) ที่มุ่งดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงาน นั่นหมายความว่าพอร์ตธุรกิจไฟฟ้าของบ้านปู เพาเวอร์ฯ จะมีความหลากหลายขึ้นและสอดรับกับกระแสด้านพลังงานแห่งโลกอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ในปีนี้ ดั้งนั้นการจัดตั้งธุรกิจ “บ้านปู เน็กซ์” เต็มพิกัด เพื่อเพิ่มพอร์ตพลังงานสะอาด ตอบโจทย์รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคตและเป็นโครงการสำคัญที่ตอบโจทย์การพัฒนาด้านพลังงานของบ้านปูและบ้านปู เพาเวอร์ฯ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ GenAI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

หากต้องการใช้ศักยภาพจาก AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรควรปรับระบบการทำงาน โครงสร้างกำลังคน และเตรียมบุคลากรให้พร้อม ด้วยแนวคิด "Net Better Off" สนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ ทำง...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...