Bgrimm ประกาศ 7 ยุทธศาสตร์ เดินหน้านโยบายความยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าก้าวสู่องค์กร Net-Zero Carbon Emissions ในปี 2050 | Techsauce

Bgrimm ประกาศ 7 ยุทธศาสตร์ เดินหน้านโยบายความยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าก้าวสู่องค์กร Net-Zero Carbon Emissions ในปี 2050

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) Bgrimm เปิดเผยว่า บี.กริม เพาเวอร์ได้ประกาศ 7 ยุทธศาสตร์ มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately) ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ บี.กริม เพาเวอร์ ผ่านการสร้างคุณค่าให้กับสังคมในรูปแบบของ Sustainable Utility Solution Provider ด้วยการผลิตพลังงานที่มีคุณภาพสูงและบริการแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

Bgrimm

Bgrimm กับ 7 ยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต

Bgrimm

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานสะอาดภายใต้รูปแบบสัมปทานกับภาครัฐในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (B2G) (Significantly expand our gas and renewable generating capacity in the region (B2G)) 

เพื่อให้บริการไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงอันเป็นรากฐานสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยจะเป็นการพัฒนาโครงการใหม่หรือการเข้าซื้อกิจการ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เช่น สปป.ลาว, เวียดนาม, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ทำให้เห็นว่า บี.กริม เพาเวอร์ มีนโยบายชัดเจนในการขยายกำลังการผลิต และมีความชัดเจนจะลดพลังงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

นอกจากนี้ บี.กริม เพาเวอร์ มีความพยายามที่จะผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง และขณะเดียวกันสินค้าและบริการของ บี.กริม เพาเวอร์ จะเน้นก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกฝ่าย 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างบทบาทสำคัญในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และเชื้อเพลิงสะอาด  (Become a significant player in the LNG business and clean fuel supply) 

เนื่องจากเชื้อเพลิง LNG เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดที่สุดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เลยต้องการจะส่งผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปยัง LNG จากความต้องการ LNG ของภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีการเติบโตสูงที่สุดในโลก เนื่องจากปริมาณก๊าซที่ขุดเจาะได้มีปริมาณลดลง ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบัน บี.กริม เพาเวอร์ มีโควตาการนำเข้า LNG จำนวน 1,200,000 ตันต่อปี และจะส่งต่อพลังงาน LNG ไปยังภูมิภาคเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีกด้วย อันจะนำมาสู่โอกาสในการบริหารต้นทุนการผลิตที่ดีขึ้น และโอกาสในการขยายธุรกิจใหม่ ทั้งด้านธุรกิจไฟฟ้าและการจำหน่าย LNG  นอกจากนี้ยังศึกษาเชื้อเพลิงทางเลือกต่างๆ เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต 

ทาง บี.กริม เพาเวอร์ ได้ร่วมมือกับผู้ถือหุ้น กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ในการนำพลังงาน LNG เพิ่มเสถียรภาพในการผลิต และมีความสะอาดสูงสุด ซึ่งบริษัทก็ได้เตรียมทีมงานเพื่อรับมือกับการนำเข้าพลังงาน LNG เพื่อนำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ให้บริการลูกค้าอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภคแบบครบวงจร (Grow our B2B solution offerings to industrial customers) 

ปัจจุบัน บี.กริม เพาเวอร์ มีการจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำที่มีคุณภาพสูงให้กับโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 300 รายอย่างต่อเนื่องทั้ง กระจายไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมหลักทั้งในประเทศไทยเพื่อสอดรับกับนโยบาย EEC (โครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) นำแก๊สธรรมชาติเข้ามาใช้ผ่านภาคตะวันตกจากพม่า และส่งต่อแก๊สธรรมชาติจากพื้นที่ความร่วมมือระหว่างไทยและมาเลเซีย เพื่อสนับสนุนแนวโน้มการกระจายตัวแบบไม่รวมศูนย์ (Decentralization) มุ่งสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

บี.กริม เพาเวอร์ ได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากพันธมิตรกว่า 300 แห่ง อาทิ AGC, Bridgestone, Toshiba, Denso จึงทำให้ บี.กริม เพาเวอร์ มีเป้าหมายในการพัฒนาในด้านการให้การบริการสาธารณูปโภคครบวงจรและยั่งยืน และใช้เทคโนโลยีในการบริหารพลังงานและผลิตกระแสไฟฟ้า รวมไปถึงจัดการระบบจัดเก็บพลังงานและจัดจำหน่าย 

ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสำหรับ บี.กริม เพาเวอร์ ได้แก่ Data Centers, อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ คลังผลิตสินค้าสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมห้องเย็น 

ยุทธศาสตร์ที่ 4  ให้บริการสาธารณูปโภคครบวงจรสำหรับกลุ่มอาคารพาณิชย์ (Build a foothold in commercial and building segments) 

โดยบี.กริม เพาเวอร์จะนำเสนอโซลูชั่นในรูปแบบด้านสาธารณูปโภค ภายใต้การผนึกกำลังของบริษัทต่างๆ ในเครือ บี.กริม เพื่อนำเสนอโซลูชั่นให้กับลูกค้าได้อย่างครบถ้วน เนื่องจาก บี.กริม เพาเวอร์ มีองค์ความรู้ด้านพลังงาน และมีผลิตภัณฑ์มากมายที่สามารถเป็นโซลูชันให้กับทั้งบริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ และผู้บริโภค เช่น Captive Power, Solar panels and Inverters, Air-conditioning and controlling, Energy storage systems, Building management systems, Electric vehicle charging stations, Lightning sensors, Entry and exit controls, และ Power distribution boards

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ขยายธุรกิจระบบการส่งไฟฟ้าแรงสูงและระบบการจำหน่ายไฟฟ้าในภาคเอกชน (Become a significant player in private transmission & distribution) 

โดยอาศัยความชำนาญกว่า 25 ปีของ บี.กริม เพาเวอร์ในการสร้างและควบคุมระบบการส่งและระบบการจำหน่ายไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม 9 แห่งทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และกัมพูชา นำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการเป็น Smart City ต่อไปในอนาคตเพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและโครงการ EEC ซึ่งคาดการณ์ว่าการผลิตพลังงานจะเป็นแบบกระจายศูนย์มากขึ้น 

ยุทธศาสตร์ที่ 6  ให้บริการพลังงานที่มีคุณภาพและเสถียรภาพผ่านการซื้อขายในระบบ energy trading (Maximize reliability and viability in energy trading) 

โดยเป็นการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับลูกค้าโดยตรง ไม่ผ่านระบบของการไฟฟ้า ซึ่งอาศัยโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่พัฒนาโดย บี.กริม เพาเวอร์ ปัจจุบัน ทางบริษัทได้นำร่องทดสอบระบบ trading ระหว่างอาคารต่างๆ ในเครือ บี.กริม และในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว ถ้าหากรัฐบาลมีนโยบายซื้อขายไฟฟ้าในอนาคต บี.กริม เพาเวอร์ พร้อมริเริ่มจะซื้อขายไฟฟ้า กระจายปริมาณการผลิตในแต่ละแห่ง รับมือกรณีที่ปริมาณการผลิตของนิคมอุตสาหกรรมที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ

“ทิศทางธุรกิจพลังงานจากนี้ โรงไฟฟ้าจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ อนาคตคนจะมีโรงไฟฟ้าในบ้าน มีการติดแผงโซลาร์บนหลังคาผลิตไฟฟ้าขายเพื่อนบ้านแบบ Peer to Peer ที่แลกเปลี่ยนกันได้โดยตรง” ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว

ยุทธศาสตร์ที่ 7 เดินหน้าพัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับ “ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น” ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการขับเคลื่อนด้วยทีมงานคนรุ่นใหม่ (Champion global best practices in digital transformation) 

โดยได้มีความร่วมมือกับพันธมิตรเช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และ บริษัท SIEMENS energy ในการนำโปรแกรม Digital Twin และโปรแกรมจัดการพลังงานในระบบจำหน่ายมาใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ติดตาม มาจำลอง พยากรณ์สถานะของเครื่องจักร และระบบส่งกำลังไฟฟ้า เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ จุดประสงค์การนำนวัตกรรมดิจิทัลมาเปลี่ยนแปลงบริษัทก็เป็นไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลประกอบการโดยรวม

Bgrimm ตั้งเป้าก้าวสู่องค์กร Net-Zero Carbon Emissions ในปี 2050

พร้อมกันนี้ บริษัทก็ได้เสริมความมั่นคงยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ประการด้วยการเตรียมความพร้อมกลยุทธ์ทางด้านการเงินและความยั่งยืนด้วยเช่นกัน เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอีก 10 ปีนับจากนี้

Bgrimm

โดยประการแรกจะวางแผนเงินทุนให้มีความแข็งแกร่ง เริ่มจากวิเคราะห์กระแสเงินสด หนี้สินต่อทุน รวมไปถึงการวางแผนการระดมทุนในส่วนของการจัดหาเงินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ ทั้งนี้บริษัทได้จัดการเรื่องความเสี่ยงมาอย่างต่อเนื่อง วางแผนการเงินอย่างรัดกุมให้ได้มากที่สุด 

อีกประการหนึ่งในแง่มุมของความยั่งยืน บี.กริม พาวเวอร์ได้ดำเนินการธุรกิจที่ต้องสร้างพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสให้กับสังคม ทาง บี.กริมพาวเวอร์ให้ความร่วมมือด้านการศึกษาในโครงการ Dual Vocation Education Programs นำกีฬาไปสนับสนุนภาคสังคม สร้างประโยชน์ให้กับ The Polo Equestrian in Thailand มาตลอด 11 ปี นอกจากนี้ยังช่วยเหลือด้านดนตรีให้กับองค์กร Bangkok Symphony Orchestra ระยะเวลา 16 ปี

ยิ่งไปกว่านั้น ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์ 7 ประการ จะควบคู่ไปกับจุดแข็ง 5 ข้อของ B.GRIM คือ 1. ความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ 2. การเป็นพันธมิตรที่ดีและได้รับความไว้วางใจ 3. ความสามารถในการพัฒนาและบริหารโครงการ 4. การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และ 5. ความพร้อมทางด้าน “ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น” เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว ด้วยเป้าหมายก้าวสู่บริษัทผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก โดย บี.กริม เพาเวอร์ มีเป้าหมายก้าวสู่องค์กรที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Net-Zero Carbon Emissions ภายในปี ค.ศ. 2050 (ปี พ.ศ. 2593)  

ปัจจุบัน บี.กริม เพาเวอร์ มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวม 48 โครงการ โดยตั้งเป้ากำลังการผลิตเติบโตจาก 3,058 เมกะวัตต์ในปี 2563 เป็น 7,200 เมกะวัตต์ในปี 2568 และมุ่งสู่ 10,000 เมกะวัตต์ และมีเป้าหมายรายได้กว่า 100,000 ล้านบาท ในปี 2573 ผ่านโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยได้มีการวางงบลงทุนตลอดระยะเวลา 10 ปี ในการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้นอยู่ที่ประมาณ 250,000-300,000 ล้านบาท ผ่านการหาเงินทุนในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Non-recourese , EPC financing , Green loan , Perpetual debenture , Asset Recycling , Infrastructure fund และ Vietnam IPO

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ภายใต้หลักธรรมภิบาล ตลอดจนการบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) อย่างรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หนึ่งในโครงการที่ บี.กริม ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง คือ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง (Save the Tigers) ด้วยความร่วมมือกับ WWF เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรเสือในผืนป่า และปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่า นอกจากนี้ ยังมีโครงการเพื่อความยั่งยืนอื่นๆ อาทิ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อขยายพื้นที่ป่า, โครงการปลูกป่าชายเลน และโครงการ บวร บี.กริม เป็นต้น





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bluebik กางแผนธุรกิจปี 2568 ปักธงผู้นำ AI Transformation ในไทย ตั้งเป้าโต 20% ในปีหน้า

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร ประกาศปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่โดยใช้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผ่าน...

Responsive image

NIA จับมือ Business Finland ต่ออายุ MOU พัฒนานวัตกรรม & สตาร์ทอัพ ไทย-ฟินแลนด์อีก 5 ปี

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Business Finland ได้ต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอีก 5 ปี...

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...