Bosch จับมือกับ ทอมทอม (TomTom) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลจราจรและแผนที่สัญชาติดัตช์ ประสบผลสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาแผนที่ความละเอียดสูง รองรับการขับขี่ด้วยระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ Bosch ซึ่งเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีและการบริการด้านนี้ นับเป็นผู้ให้บริการรายแรกของโลกที่สามารถสร้างเลเยอร์ระบุตำแหน่งเข้าไปโดยใช้สัญญาณเรดาร์ และจะทำให้กลายเป็นแผนที่คู่ใจที่ขาดไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ข้อมูลในรูปแบบวิดีโอ ทั้งนี้ ระบบ “เรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์” ของ Bosch เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจุดสะท้อนนับหลายพันล้านจุด ณ ตำแหน่งที่สัญญาณเรดาร์ตกกระทบ อาทิ แนวรั้วกั้นถนน หรือสัญญาณจราจรต่าง ๆ เป็นต้น และทำการจำลองเส้นทางบนถนนขึ้นมา ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจึงสามารถใช้แผนที่นี้กำหนดตำแหน่งบนท้องถนนได้อย่างแม่นยำ ด้วยพิกัดที่ละเอียดเป็นหน่วยเซนติเมตร
“ระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ นับเป็นก้าวย่างครั้งสำคัญบนเส้นทางพัฒนาสู่การขับขี่ด้วยระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติอย่างแท้จริง เพราะช่วยให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง แม่นยำได้ตลอดเวลา”
นอกจากนี้ ข้อได้เปรียบอย่างยิ่งของระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ คือ ประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งต่างจากแผนที่ทั่วไปที่ใช้ข้อมูลแบบวิดีโอในการระบุตำแหน่งของยานยนต์ และระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ ยังทำงานได้ดีในเวลากลางคืนและในภาวะที่ทัศนวิสัยต่ำ นอกจากนี้ ระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ ของ Bosch ยังมีอัตราการส่งข้อมูลไปยังระบบคลาวด์เพียง 5 กิโลไบต์ต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งหากใช้แผนที่แบบวิดีโอ ปริมาณข้อมูลจะเพิ่มเป็นสองเท่า ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าภายในปีพ.ศ. 2563 จะมียานยนต์รุ่นแรกที่สามารถให้ข้อมูลสำหรับระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ ได้ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเสริมข้อมูลระบุตำแหน่งเข้าไปในรูปแบบของระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ ที่เราพัฒนากับทาง Bosch ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งจะช่วยให้ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่แม่นยำ ด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” มร. แอโรลด์ กอดด์จิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ทอมทอม (TomTom) กล่าว
องค์กรทั้งสองได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังในการพัฒนาระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ ที่ได้นำข้อมูลไปผนวกกับแผนที่ความละเอียดสูงของทอมทอมตั้งแต่เริ่มโครงการความร่วมมือกันในเดือนกรกฎาคม 2558
Bosch เป็นบริษัทชั้นนำด้านระบบตรวจจับเรดาร์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับ 77 กิกะเฮิร์ตซ์ และการตรวจจับได้สูงสุดในช่วงระยะ 250 เมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับการตรวจจับในระบบวิดีโอ ที่ตรวจจับได้ในช่วงระยะ 150 เมตรเท่านั้น สิ่งที่ท้าทายคือการต้องหาวิธีปรับระบบเรดาร์ที่ใช้กันอยู่ให้เข้ากับระบบนี้ ในกรณีใช้ระบบตรวจจับเรดาร์ควบคู่กับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติหรือระบบควบคุมความเร็วคงที่พร้อมการปรับความเร็วอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control – ACC) อุปกรณ์ตรวจจับจะทำการค้นหาวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ แต่ในกรณีการสร้างเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ จะต้องสามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่นิ่งได้ด้วย หมายความว่าต้องมีการปรับอุปกรณ์ตรวจจับใหม่ อุปกรณ์ตรวจจับระบบเรดาร์ของ Bosch นรุ่นต่อๆ ไปจึงต้องสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ ได้ “รถยนต์ที่จะออกสู่ตลาดในอีกหลายปีข้างหน้าพร้อมฟังก์ชั่นช่วยเหลือผู้ขับขี่สำหรับยุคหน้า จะเป็นตัวขับเคลื่อนแผนที่ที่ทำขึ้นเพื่อรองรับยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแห่งอนาคต” มร. โฮไฮเซล กล่าว
แผนที่ความละเอียดสูงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขับขี่อัตโนมัติ เพราะสามารถแสดงข้อมูลนอกบริเวณการตรวจจับของเซนเซอร์ได้ ซึ่งต่างจากแผนที่ซึ่งเป็นเครื่องมือนำทางในปัจจุบัน เพราะแผนที่เหล่านี้ประกอบไปด้วยข้อมูลหลายเลเยอร์ที่ทับซ้อนกัน
ดังนั้น ข้อมูลแต่ละเลเยอร์สำหรับแผนที่ความละเอียดสูงเพื่อการขับขี่อัตโนมัติ จึงต้องปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยเฉพาะชั้นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอาจต้องอัพเดทแบบเรียลไทม์ “เมื่อไม่นานมานี้ เราคาดการณ์ว่าคงต้องใช้กองทัพยานยนต์จำนวนมาก สำหรับการตรวจสอบสภาพบนช่องทางด่วนต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิก โดยหนึ่งกองทัพรถน่าจะมีประมาณร่วมล้านคัน เพื่อให้แผนที่ความละเอียดสูงของเรา มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน” มร. โฮไฮเซล กล่าว โดยข้อมูลล่าสุดสำหรับแต่ละเลเยอร์ จะมาจากตัวเซนเซอร์ที่ติดตั้งในรถยนต์ขณะขับเคลื่อน กล่องระบบสื่อสาร อาทิ หน่วยควบคุมการเชื่อมต่อ (Connectivity Control Unit) ของ Bosch จะส่งข้อมูลตัวเซนเซอร์ผ่านระบบเรดาร์ จากตัวรถไปยังระบบคลาวด์ของผู้ผลิต แล้วส่งต่อไปยังระบบคลาวด์สำหรับ IoT ของ Bosch และ Bosch จะประมวลข้อมูลเหล่านี้มาสร้างสัญลักษณ์บนถนนกับระบบเรดาร์ที่สามารถใช้ร่วมกับแผนที่รูปแบบเดิมได้ ขณะที่ ทอมทอม รับผิดชอบการผนวกระบบเรดาร์ โรด ซิกเนเจอร์ เข้าไปในแผนที่โดยรวมก่อนจะเผยแพร่ต่อไป
Bosch ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน Bosch สร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง และสายการผลิตโซลูชั่นส์และการบริการส่วนเครื่องจักรเพื่อบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดชลบุรี ในปีที่ผ่านมา Bosch ในประเทศไทยมียอดขายถึง 11.9 พันล้านบาท (305 ล้านยูโร) และมีพนักงานมากกว่า 1,200 คน ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bosch.co.th และ https://www.facebook.com/BoschThailand
กลุ่มบริษัท Bosch ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 390,000 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559) ในปี 2559 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 73.1 พันล้านยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT (Internet of Things) Bosch นำเสนอนวัตกรรมแห่งโซลูชั่นส์เพื่อบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ยานยนต์ และ อุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเซนเซอร์ ซอฟท์แวร์ และการให้บริการ รวมถึงไอโอทีคลาวด์ของ Bosch เอง เราจึงสามารถให้บริการโซลูชั่นส์ที่เชื่อมต่อแบบข้ามโดเมนได้เบ็ดเสร็จจากแหล่งเดียว เป้าหมายกลยุทธ์ของเรา คือการส่งมอบนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่เชื่อมต่อถึงกัน ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเสนอคำตอบที่ล้ำสมัยและเป็นประโยชน์ที่นับได้ว่าเป็น “เทคโนโลยีเพื่อชีวิต” กลุ่ม Bosch ประกอบด้วยบริษัท โรเบิร์ต Bosch จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 440 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่างๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่างๆ ทั้งส่วนการผลิต งานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย Bosch ครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทจึงมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 59,000 คน ในศูนย์วิจัยกว่า 120 แห่งทั่วโลกในปัจจุบัน
ข้อมูลเพิ่มเติม: www.bosch.com, www.iot.bosch.com www.bosch-press.com, twitter.com/BoschPresse
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด