ดร.วิรไท สันติประภพ (กลาง) ผู้ว่าการ ธปท. และนางทองอุไร ลิ้มปิติ (ขวา) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.เป็นข่าวดีที่กระตุ้น FinTech ไทยอีกครั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ “แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563)” เป็น 1 ใน 3 แผนยุทธศาสตร์หลักของ ธปท. ได้แก่ แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน, แผนเงินทุนเคลื่อนย้าย, แผนพัฒนาระบบการชำระเงิน ซึ่งจะเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยแผนดังกล่าวกำหนดแนวคิดหรือเสาหลัก 4 เสา คือ แข่งได้, เข้าถึง, เชื่อมโยง และยั่งยืน
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงแผนพัฒนาสถาบันการเงิน ที่เพิ่งจะผ่านความเห็นชอบว่า “ในการที่เราทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 3 ปีนี้เป็นการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของ ธปท. ที่อยากขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของทั้งของ ธปท. และหน่วยงานอื่นๆ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ให้พัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมเศรษฐกิจ พัฒนาการระบบการเงินโลก พัฒนาการตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย”
คุณทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวย้อนไปถึงกรอบการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า ระบบสถาบันการเงินจะต้องคำนึงใน 6 ประเด็นหลัก
- ความลึกของระบบงาน (Depth)
- ความมั่นคงเข้มแข็งและมีเสถียรภาพของสถาบันการเงิน (Stability)
- ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
- ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
- การเข้าถึงระบบการเงิน (Accessibility)
- โครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงิน (Infrastructures)
กรอบนโยบายหลัก 4 ด้านที่จะเข้ามาสนับสนุนแนวคิด แข่งได้, เข้าถึง, เชื่อมโยง และยั่งยืน ได้แก่
- ส่งเสริมการใช้บริการทางการเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ (Digitization & Efficiency) โดยสนับสนุนให้ผู้ให้บริการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดรับความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่งเสริมการให้ความรู้และสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ และทบทวนกลไกราคาเพื่อกระตุ้นการใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกัน ธปท. จะสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของภาครัฐ อีกทั้ง สนับสนุนให้พัฒนากระบวนการท างานภายในให้เป็นอัตโนมัติ และมีการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานกลางร่วมกัน และมีระบบ ติดตามการทุจริตทางการเงิน (Fraud monitoring system) เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber risk) นอกจากนี้ ในการส่งเสริมประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ธปท. จะประเมินโครงสร้าง ระบบสถาบันการเงินและก าหนดภูมิทัศน์ (Landscape) ที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง มีเสถียรภาพ และรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะต่อไป
- สนับสนุนการเชื่อมต่อการค้าการลงทุนในภูมิภาค (Regionalization) เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของระบบการเงินไทยในการสนับสนุนการขยายตัวของการค้าการลงทุนและการเชื่อมโยงของประเทศในภูมิภาค รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และการขยายตัว ของธุรกิจไทยไปยังกลุ่มภูมิภาคดังกล่าว โดยมีมาตรการที่ส าคัญ เช่น การเจรจาเปิดเสรีภาคการธนาคาร ในกลุ่มอาเซียน (Qualified ASEAN Banks: QABs) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินระหว่าง ประเทศ รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง
- ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Access) เพื่อให้ประชาชนรายย่อย กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ทั่วถึง และสอดคล้องกับความต้องการ โดยส่งเสริมให้ผู้ให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพิ่มช่องทางการในการเข้าถึงในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่จ าเป็นของระบบสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสให้ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสถาบันการเงินและช่องทางอื่น นอกจากนี้ ธปท. จะสนับสนุนการด าเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อส่งเสริมและพัฒนา สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการระดมทุนของภาคเอกชน
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Enablers) เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3 จึงจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในระบบการเงินควบคู่กันไป ทั้งการพัฒนาบุคลากรทางการเงิน การส่งเสริมความรู้ทางการเงินและความคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน การสนับสนุนให้มีกฎหมายทางการเงิน ที่เอื้อต่อการบริหารความเสี่ยงและการด าเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน รวมทั้งการพัฒนาเกณฑ์การก ากับ ดูแลสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินให้เหมาะสมตามมาตรฐานสากลเพื่อรักษาเสถียรภาพ โดยรวมของระบบ
สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Intended Outcome) ของแนวคิดต่างๆ ได้แก่
- การแข่งได้ สถาบันการเงินไทยดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีบริการและผลิตภัณฑ์ครบถ้วนหลากหลายด้วยราคาที่เหมาะสม และเอื้อต่อความสามารถในการแข่งขัน
- การเข้าถึง ประชาชน ธุรกิจ SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก
- การเชื่อมโยง สถาบันการเงินไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และสามารถให้บริการระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนของภาคธุรกิจไทยและตรงกับความต้องการของประเทศ
- ความยั่งยืน ระบบสถาบันการเงินไทยมีความมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนความอยู่ดีกินดีของประชาชนอย่างยั่งยืน
ขณะที่ประโยชน์ในมุมของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่
- ระบบสถาบันการเงิน ซึ่งรวมทั้งธนาคารพาณิชย์และที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ จะมีความมั่นคงและมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี เปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์ไทยอย่างน้อย 1 แห่งมีขนาดใหญ่พอจะแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและสามารถให้บริการทางการเงินได้ครบวงจร สถาบันการเงินต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีให้บริการ Digital Banking แบบครบวงจร มีช่องทางการให้บริการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของคนทุกระดับ เช่น อาจจะต้องไม่มีสาขาอีกต่อไป เป็นต้น สุดท้าย ธปท. จะต้องปรับปรุงการกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล
- ประชาชนและภาคธุรกิจ ต้องการให้เกิด Banking Anywhere, Anytime, Any Devices สร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือธุรกิจ
- เศรษฐกิจโดยรวมจะมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำลง ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากขึ้น
“ถ้าให้สรุปในคำเดียว ไฮไลท์ของเราเลยคือ Digital Banking ต้องมา ถ้าไม่มาเราสู้ใครไม่ได้เลย แล้วถ้าทำได้มันจะมาหมดเลยที่พูดไป ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ การเข้าถึงระบบการเงิน และอื่นๆ ที่จะตามมาอีก” คุณทองอุไรได้พูดทิ้งท้ายไว้
ที่มา: ThaiPublica, ธนาคารแห่งประเทศไทย