ส่องงบการเงิน กงสี 'จิราธิวัฒน์' ปิดปี 62 ธุรกิจเครือ 'เซ็นทรัล' กวาดกำไรกันไปเท่าไหร่บ้าง | Techsauce

ส่องงบการเงิน กงสี 'จิราธิวัฒน์' ปิดปี 62 ธุรกิจเครือ 'เซ็นทรัล' กวาดกำไรกันไปเท่าไหร่บ้าง

ในช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงเวลาของการทยอยประกาศงบการเงินประจำปีของบรรดาบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นการสรุปผลการดำเนินงานตลอดทั้งปีของแต่ละบริษัทว่าสามารถทำกำไรได้แค่ไหน รวมถึงสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่บริษัทต้องประสบพบเจอตลอดปีที่ผ่านมานั่นเอง โดยหนึ่งในเครือธุรกิจที่น่าจับตามอง เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างคือ เครือ 'เซ็นทรัล' ของกลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์ ซึ่งดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั้งอสังริมทรัพย์ และค้าปลีกที่เป็นรายใหญ่ที่สุด โดยปัจจุบันเครือเซ็นทรัลมีบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 4 กลุ่ม ได้แก่  CPN กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ CENTEL กลุ่มธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร CRC กลุ่มธุรกิจค้าปลีก (เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563) และ COL กลุ่มธุรกิจเครื่องเขียน หนังสือ และออนไลน์ ดังนั้นในบทความนี้ Techsauce ได้รวบรวมผลประกอบการประจำปี 2562 ของธุรกิจทั้ง 4  กลุ่มในเครือเซ็นทรัลมาสรุปให้ดูว่า รายได้และกำไรของแต่ละกลุ่มมีการเติบโตเป็นอย่างไรกันบ้างในช่วงที่ผ่านมา 

CPN ยังทำกำไรเติบโตดี แม้ว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัว

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ที่ผ่านมาได้ขยายตัวอยู่ที่ 2.4 % ชะลอตัวลงจากปี  2561 ที่ขยายตัว 4.1% เป็นผลมาจากการส่งออกหดตัว รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องมาจากจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจากผลกระทบของสงครามการค้าซึ่งกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลกโดยรวม 

แต่ด้านผลประกอบการของบริษัทยังมีคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 38,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จาก ปีก่อน และกําไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปีก่อน ซึ่งมาจากการเดิบโตจากธุรกิจศูนย์การค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะการเดิบโตของรายได้จากศูนย์การค้าเดิมที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ประกอบกับบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ 

ตารางแสดงงบกำไรขาดทุนประจำปี 2562 ของ CPN

สำหรับรายได้รวมที่เติบโตขึ้นมาจากการดำเนินธุรกิจของบริษัททั้ง 4 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

(1) รายได้จากการให้เช่าและให้บริการ : บริษัทฯ มีรายได้จากการให้เช่าและให้บริการจํานวน 31,843 ล้านบาท เติบโต ร้อยละ 9.7 จากปีก่อน  แม้ว่าได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงศูนย์การค้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงก็ตาม โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยดังนี้  รายได้จากศูนย์การค้าใหม่ที่เปิดดําเนินการ ได้แก่ 1.) เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2561  2.) เซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ เปิดให้บริการในเดือน มีนาคม 2562 และ 3.) เซ็นทรัล วิลเลจ เปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม 2562 

รวมถึงผลประกอบการที่ดีขึ้นของศูนย์การค้าที่ปรับปรุงใหญ่และทยอยเปิดให้บริการในปี 2561 และ 2562 ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี และ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว 

ผลประกอบการของศูนย์การค้าเดิมที่เติบโตขึ้นอย่างโดดเด่น เช่น เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เซ็นทรัลพลาซา มหาชัย เซ็นทรัล พลาซา นครศรีธรรมราช เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 เป็นต้น 

(2) รายได้จากการให้บริการศูนย์อาหาร : ในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการศูนย์อาหารจํานวน 851 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 16.2 จากปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากศูนย์อาหารใหม่ที่เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า และเซ็นทรัล วิลเลจ รวมถึงศูนย์ อาหารทีjปรับปรุงใหม่และเปิดให้บริการในปี 2562 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัล พลาซา พระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย และเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี

 ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของศูนย์อาหารเดิมในศูนย์การค้าทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด อาทิ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัล พลาซา นครศรีธรรมราช เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี เซ็นทรัลพลาซา ระยอง เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น และ เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก 

(3)รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม : ธุรกิจโรงแรมถือเป็นธุรกิจสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทฯ โดยในปี 2562 บริษัทฯมีรายได้ จากการประกอบกิจการโรงแรมานวน 1,121 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2 จากปีก่อน ในขณะที่ผลการดําเนินกิจการโรงแรมปรับตัวลดลง อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมฮิลตัน พัทยา อยู่ที่ร้อยละ 89 ลดลงจาก ร้อยละ 93 ในปีก่อนหน้า โดยหลักมาจากภาวะการท่องเที่ยวโดยรวมที่ซบเซาลง อัตราการเข้าพักเฉลี่ยโรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อุดรธานี อยู่ที่ร้อยละ 71 ลดลง จากร้อยละ 75 ในปีก่อนหน้า ในขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยในโรงแรมทั้งสองแห่งได้ปรับตัว ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย

(4)รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ : ในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์จํานวน 2,904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.2 จากปีก่อน เป็นผลมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยหลักมาจากโครงการคอนโดมิเนียมที่เชียงใหม่ (แห่งที่ 2) เชียงราย นครราชสีมา ฟิล พหล 34 และ เบ็ล แกรนด์ พระราม 9 ในกรุงเทพฯ รวมถึงโครงการบ้านเดี่ยว นิยาม บรม ราชชนนี โดยบริษัทฯ สามารถโอนและรับรู้เป็นรายได้ตามแผนที่วางไว้

กําไรสุทธิ ในปี 2562 

บริษัทฯ มีกําไรสุทธิเท่ากับ 11,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากปีก่อน โดยมาจากรายได้จากการให้เช่าและให้บริการศูนย์การค้าที่เดิบโตอย่างโดดเด่น และการบริหารค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้าที่เพิ่มขึ้น แม้ต้นทุนทางการเงินปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสูงขึ้น ภายหลังเข้าซื้อกิจการ GLAND เมื่อเดือน กันยายน 2561 และมีเงินกู้ยืมเพิ่มขึ้นจากการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตจากแหล่งรายได้ใหม่ก็ตาม (แหล่งรายได้ใหม่ CPN ได้เข้าลงทุนใน Grab (ประเทศไทย) ในสัดส่วน 33% และเปิดตัว Common Ground coworking space ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ Common Ground มาเลเซีย )

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นที่จะบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมี ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการดําเนินธุรกิจ

CENTEL กำไรหดเล็กน้อย หลังธุรกิจโรงแรมฉุด แต่ธุรกิจอาหารยังโตได้

บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL เปิดเผยว่า ในปี 2562 บริษัทฯมีรายได้รวม 21,190.3 ล้านบาท  ลดลง 2.7% จากปี 2561 เนื่องจากการลดลงของรายได้ธุรกิจโรงแรม โดยสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจโรงแรมต่อรายได้จากธุรกิจอาหาร อยู่ที่ 42% : 58% (ปี 2561: 45% : 55%) ขณะที่กําไรสุทธิในปีนี้อยู่ที่จํานวน 1,744.2 ล้านบาท ลดลง 19.9% จากปีก่อน

ตารางแสดงผลการดำเนินงานประจำปี 2562 เทียบกับปี 2561 ของ CENTEL

รายได้รวมของ CENTEL มาจาก 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจอาหาร

ธุรกิจโรงแรม : ปี 2562 มีรายได้รวมอยู่ที่ 8,895.9 ล้านบาท ลดลง ลดลง 8.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปิดปรับปรุงโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บีชรีสอร์ท สมุย ทําให้ สูญเสียรายได้ประมาณ 289.4 ล้านบาทเทียบปีก่อน หากไม่รวมผลการดําเนินงานของโรงแรมที่ปิด ปรับปรุงดังกล่าวรายได้รวมลดลงประมาณ 6.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการเข้าพักลดลง จาก 81.9% เป็น 77.2% ราคาห้องพักเฉลี่ยลดลง 3.1% เทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 4,477 บาท ส่งผลให้รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย ลดลง 8.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 3,456 บาท

  • กรุงเทพฯ : รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยลดลง 8.8% อยู่ที่ 2,372 บาท เนื่องจาก การลดลงของอัตราการเข้าพักจาก 84.2% เป็น 79.2% ขณะที่ราคาห้องพัก เฉลี่ยอยู่ที่ 2,993 บาท ลดลง 3.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลสืบเนื่องจากการลดลงของการจัดประชุมสัมมนาและรายได้ที่เกี่ยวเนื่อง และสภาวะการแข่งขันสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานโรงแรม 
  • ต่างจังหวัด : รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยลดลง 8.6% เป็น 2,989 บาท เป็นผลจากอัตราการเข้าพักลดลง 80.7% เป็น 75.6% ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยลดลง 2.4% เป็น 3,954 บาท 
  • มัลดีฟส์ : รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยลดลง 9.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนโดยอัตราการเข้าพักลดลงจาก 83.5% เป็น 82.7% แต่ราคาห้องพักเฉลี่ยลดลง 8.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 16,513 บาท ส่วนหนึ่งจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ 

ธุรกิจอาหาร : บริษัทฯ มีรายได้จากธุรกิจอาหารรวม 12,294.5 ล้านบาท เติบโต 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 การเติบโตของธุรกิจอาหารในปี 2562 นี้มาจากการขยายสาขาเป็นหลัก โดยมีการเพิ่มขึ้นของสาขาสุทธิทั้งสิ้น 108 สาขา ในขณะที่อัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (SSS)ลดลง 5.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา การลดลงของ SSS มาจากแบรนด์เค เอฟ ซี มิสเตอร์โดนัท อานตี้ แอนส์ โยชิโนยะ และชาบูตง เป็นหลัก ในขณะที่ แบรนด์ โอโตยะ เดอะ เทอเรส และคัตซียะ มีอัตราการเติบโตของ sss เป็นบวกอย่างต่อเนื่อง

CRC  รายได้- กำไรเติบโตต่อเนื่อง จาก แพลตฟอร์มธุรกิจที่แกร่งในทุกมิติ

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เปิดเผยว่า ภาพรวมผลประกอบการในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวม 222,737 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,117 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.8% จากปี 2561  และมีกําไรสุทธิอยู่ที่  12,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,254 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.3% จากปี 2561 โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น จากการรวมธุรกิจเหงียนคิมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 เงินชดเชยจากการประกันภัยกรณีเพลิงไหม้ที่ห้างสรรพสินค้าเซนการเติบโตของธุรกิจฮาร์ดไลน์ ธุรกิจ พูดในเวียดนาม และธุรกิจแฟชั่นในประเทศ ตามลําดับ

ตารางแสดงผลการดำเนินงานประจำปี 2562 เทียบกับ ปี 2561 ของ CRC

รายได้รวมของ CRC มาจาก 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 

(1) รายได้จากการขาย :  ในปี 2562 อยู่ที่ 195,355 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14,741 ล้านบาท จากปี 2561 หรือคิดเป็น 8.2 % โดยรายได้จากการขายสามารถจําแนกได้ตามประเภทธุรกิจของบริษัทฯ ดังนี้

  • งานแฟชั่น  เท่ากับ 64,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,514 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.4 % โดยมีสาเหตุมาจากการขยายร้านค้าภายใต้ธุรกิจห้างสรรพสินค้าและธุรกิจขายสินค้าเฉพาะทางในประเทศไทย และรายได้ต่อสาขาของธุรกิจห้างสรรพสินค้าในประเทศอิตาลี
  • งานฮาร์ดไลน์ เท่ากับ 50,583 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,033 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.9 % โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ขายสุทธิของร้านค้าที่อยู่ภายใต้กลุ่มฮาร์ดไลน์ในประเทศไทย และการรวมธุรกิจเหงียนคิมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งนี้รายได้ต่อสาขาโดยรวมของกลุ่มฮาร์ดไลน์ลดลงโดยมีสาเหตุหลักมาจากกําลังซื้อโดยรวมของผู้บริโภคในประเทศไทยที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สําหรับสินค้าในหมวดโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นสินค้าหลักของเพาเวอร์บาย 
  • งานฟู้ด เท่ากับ 80,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,193 ล้านบาท หรือคิดเป็น2.8 % โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ของธุรกิจกลุ่มฟู้ดในประเทศเวียดนามที่มีอัตราร้อยละ 8.3 และจากผลการดําเนินงานของบิ๊กซีเวียดนาม และการเติบโตของธุรกิจกลุ่มฟู้ดในประเทศไทยที่มาจากการปรับปรุงส่วนผสมของสินค้า (Merchandise Mix) ให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะการเพิ่มสินค้าที่มีความสดใหม่ และการเพิ่มพื้นที่ขายสุทธิโดยเฉลี่ยต่อสาขา

(2) รายได้จากการให้บริการเช่า : ในปี 2562 อยู่ที่ 6,979 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 565 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8 % โดยหลักประกอบด้วยรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกของกลุ่มบริษัทฯ ในร้านค้า พลาซ่า และพื้นที่อื่นๆ 

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่มีรายได้จากการให้บริการเช่าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดคือ กลุ่มแฟชั่น ตามมาด้วยกลุ่มฟูด และกลุ่มฮาร์ดไลน์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเปิดพลาซ่าแห่งใหม่ 3 สาขา ได้แก่ โรบินสันไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ สาขาชลบุรี สาขาชัยภูมิ และสาขาลาดกระบัง และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งใหม่ 1 สาขา ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาป่าตองในจังหวัดภูเก็ต ที่อยู่ภายใต้ธุรกิจห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย  และจากอัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันในปี 2561 

(3) รายได้จากการให้บริการ : ในปี 2562 อยู่ที่ 1,674 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 262 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18.5 %  จากปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการของบริษัท โรบินสัน จํากัด (มหาชน) และการรวมธุรกิจเหงียนคิมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทฯ

COL  ยังคงมีกำไรเติบโตเล็กน้อย จากการบริหารภายในอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) หรือ COL เปิดเผยว่า ในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมจํานวน 11,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% จากปีก่อน อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขาย และมีกําไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่จํานวน 762 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% จากปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากกําไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจากการผลักดันยอดขายสินค้ากลุ่ม Private Brand และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ 

ตารางแสดงผลการดำเนินงานในปี 2562 เทียบกับปี 2561 ของ COL

รายได้ของ COL มาจากธุรกิจหลักทั้ง 3 บริษัท ดังนี้ 

OfficeMate : ในปี 2562 มูลค่าการขายสุทธิผ่านหน้าร้านมีจํานวน 3,666 ล้านบาท ลดลง 2.2% จากปีก่อน และมีอัตราการเติบโตของยอดขายสาขา เดิมลดลง 2.6% โดยมีสาเหตุหลักจากผลกระทบจากเศรษฐกิจ โดยรวมที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้า บริเวณศูนย์การค้าหลายแห่งได้ส่งผลกระทบทําให้จํานวนลูกค้าที่เข้าร้านลดลง 

ส่วนมูลค่าการขายสุทธิผ่านช่องทางที่ไม่ใช่หน้าร้าน ซึ่งประกอบไปด้วยช่องทางศูนย์บริการทาง โทรศัพท์ และช่องทางออนไลน์ อยู่ที่จํานวน 3,500 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากผลกระทบจากเศรษฐกิจ โดยรวมที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ดี ยอดขายผ่านช่องทาง ออนไลน์เติบโตได้ดีกว่าช่องทางอื่น อันเป็นผลจากการให้บริการผ่าน ช่องทางใหม่ “Chat & Shop” ที่สอดรับพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การทํารายการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายผ่านช่องทาง ออนไลน์ รวมถึงยอดขายจากสินค้ากลุ่ม Factory และ HoReCa

B2S : ในปี 2562 มูลค่าการขายสุทธิจํานวน 4,059 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% จากปีก่อน อันเป็นผลจากการปรับปรุงร้านในรูปแบบ Think Space การนําเสนอสินค้าที่ตรงความต้องการของลูกค้า และยอดขายจากสาขาใหม่ ขณะที่ยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 0.3% จากปีก่อน โดยยอดขายจากสาขาเดิมมีการเติบโตสูงในครึ่งปีแรก 

อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตชะลอตัวลงใน ครึ่งปีหลังโดยมีสาเหตุหลักจากผลกระทบระยะสั้นในช่วงระหว่างการ ดําเนินการปรับปรุงสาขาลาดพร้าวตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคมที่ผ่านมา

MEB : ในปี 2562 มูลค่าการขายสุทธิมีจํานวน 626 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.5% จาก ปีก่อน อันเป็นผลสําเร็จจากการนําเสนอสินค้า E-Book ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เช่น นิยายไทย และนิยายแปลไทย การนําเสนอ หนังสือกลุ่มใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้า เช่น มังงะ (การ์ตูนญี่ปุ่น) นิยายที่ ดัดแปลงจากเกม รวมถึงการทํากิจกรรมการตลาดร่วมกับกลุ่มนักอ่าน เพื่อกระตุ้นการซื้อของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...