6 เรื่องที่ CEO ต้องเริ่มทันที ในสถานการณ์ COVID-19 | Techsauce

6 เรื่องที่ CEO ต้องเริ่มทันที ในสถานการณ์ COVID-19

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกนั้นดูไม่เหมือนกับวิกฤติอื่น ๆ ที่ผ่านมา มาตรการตั้งรับแบบเดิมอาจจะยังไม่เพียงพอในการนำธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปได้ ดังนั้นสิ่งที่ CEO ควรจะทำในตอนนี้คือการเริ่มลงมือทำและเตรียมความพร้อมของธุรกิจในช่วงการเปลี่ยนแปลงอันเร็วเช่นนี้

สิ่งที่ต้องทำประการแรกคือการเริ่มจากการดูแลคนของคุณ แน่นอนว่าในทั่วโลกหน้าที่แรกของทุกคนคือการรักตัวเอง รักครอบครัว รักเพื่อน และรักคนรอบข้าง ดังนั้นถ้าคุณเป็น CEO การดูแลคนนั้นรวมถึงการดูแลพนักงานของคุณและลูกค้าของคุณ และสิ่งที่ CEO สามารถทำได้ก็คือการทำให้พวกเขานั้นแน่ใจว่าพวกเขาถูกดูแลและมีมาตรการมารองรับพวกเขาในวิกฤติเช่นนี้

ถึงแม้การดูแลพนักงานและลูกค้าจะเป็นสิ่งแรกที่ CEO ทุกท่านควรคำนึงถึง แต่ในขณะเดียวกันการคำนึงถึงรายได้ในตอนนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษารายได้ไว้นั้นคือการโฟกัสกับสิ่งที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ คือการทำอย่างไรก็ได้ในการสร้างความเชื่อมั่นและความจงรักภักดีต่อลูกค้า และความจงรักภักดีนั้นจะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤติเช่นนี้ไปได้

ท้ายที่สุดแล้ววิกฤติครั้งนี้จะเปลี่ยนเราทุกคน มันอาจจะเป็นการยากที่จะเดินถอยหลังในเวลาเช่นนี้ และในฐานะ CEO มันถึงเวลาแล้วที่เราจะคาดการณ์และวางแผนว่าอนาคตของเราจะเป็นเช่นไร พนักงานและลูกค้าจะถูกเปลี่ยนไปเช่นไรจากผลกระทบของวิกฤติ และบริษัทของคุณต้องทำอย่างไรในการที่จะตอบสนองต่อความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเช่นนี้

สถานการณ์ปัจจุบัน

  • มาตรการในการกักตัวและการลดการระบาดของไวรัส COVID-19 ในแต่ละประเทศจะทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่

  • เตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ที่แย่ที่สุดโดยเฝ้าระวังและคอยสังเกตุการณ์อยู่ตลอด

  • มีโอกาสสูงที่จะเกิดการชะงักของรายได้อย่างมหาศาล ซึ่งนำไปสู่วิกฤติสภาพคล่องของหลาย ๆ บริษัท 

  • การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจจะไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว บริษัทควรวางแผนสำหรับการลดลงของรายได้ในหลาย ๆ ไตรมาส

  • พนักงานและลูกค้าอาจจะประสบกับความกลัวและการแพนิคต่อวิกฤติ

  • ควรจะแต่งตั้งทีมที่คอยเฝ้าดูสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะ

  • ในฐานะ CEO คุณควรจะอยู่ข้างหน้า คอยคิดแผนการและมาตรการที่สามารถเป็นไปได้เพื่อพยุงบริษัทไปข้างหน้า

  • ลูกค้าจะเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคบางพฤติกรรมอย่างถาวร เป็นการดีที่จะศึกษาเทรนด์การบริโภค ซึ่งการกระทำที่อันชาญฉลาดเช่นนี้จะช่วยพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จในช่วงเวลาอันตกต่ำเช่นนี้

ข้อแนะนำในการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสถานการณ์ COVID-19 หรือ COVID-19 War-room

สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการแจ้งสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของ COVID-19 และการคาดการสถานการณ์ทางการเงินที่เลวร้ายที่สุดให้กับกลุ่มผู้อาวุโสเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันและการสื่อสารที่ถูกต้อง การจัดตั้งความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง และให้เรื่องการรักษาเงินทุนและสภาพคล่องทางการเงินเป็นอันดับสอง

สิ่งต่อไปคือการจัดตั้งทีมเฝ้าระวัง ซึ่งสมาชิกภายในทีมนั้นควรมาจากหลาย ๆ สายงาน เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการเงิน และฝ่ายบุคคล จัดเรียงความสำคัญของการดำเนินงาน และปรับเปลี่ยนการรายงานและการอัปเดตสถานการณ์ของบริษัทเป็นแบบรายวันให้กับ CEO รวมถึงจัดทำเค้าโครงสถานการณ์การระบาด COVID-19 ทั่วประเทศ โดยนำเค้าโครงนี้มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการถดถอยของรายได้และการชะงักของการดำเนินงานของบริษัท และสุดท้ายคือการเริ่มวางแผนกลยุทธ์ในการปรับตัวในสถานการณ์การระบาดเช่นนี้

สิ่งที่ CEO ต้องเริ่มทันที

สิ่งที่ CEO สามารถทำในตอนนี้ในการช่วยลดและบรรเทาผลกระทบจากการระบาด ในขณะเดียวกันเป็นการช่วยสร้างสถานภาพของบริษัทให้แข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย โดยสามารถดู 6 CEO Checklists ที่จะช่วยเป็นแนวทางในการเตรียมพร้อมบริษัทในสถานการณ์เช่นนี้

1. การปกป้องพนักงานและลูกค้าของคุณ 

  • ใช้แนวทางที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในการปกป้องทั้งพนักงานและลูกค้าของคุณ
  • คอยตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพระดับโลกและของบริษัทอื่น ๆ และดำเนินการปรับให้เข้ากับบริษัทต่อไป
  • สื่อสารให้มากเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความโปร่งใส 
  • เข้าร่วมในมาตรการที่จะช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของโรคในทางที่สามารถเป็นไปได้ที่สุด

2. เฝ้าระวังเรื่องผลกำไรขาดทุน (P&L) และสภาพคล่องทางการเงิน

  • จัดทำเค้าโครงสถานการณ์ภาพรวมของตลาด และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลดลงทางรายได้และสถานการณ์ผลกำไรขาดทุน
  • ควรที่จะคาดการณ์และเฝ้าระวังสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
  • สรุปการดำเนินงานที่สำคัญในช่วงเวลาเช่นนี้

3. การตั้งรับการถดถอยของรายได้

  • การใช้วิธีการทำความเข้าใจจากมุมมองของลูกค้า (Customer-centric) เช่น คุณจะสร้างความเชื่อมัน, ความภักดี และส่วนแบ่งการตลาดผ่านช่วงวิกฤติและช่วงผ่านพ้นวิกฤติต่อไปอย่างไร
  • เตรียมวิธีการบรรเทาผลกระทบ สำหรับการถดถอยลงของรายได้หลัก
  • การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ สำหรับการเติบโตในตอนนี้และอนาคตของบริษัท รวมถึงการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์และช่องทางอื่น ๆ

4. การสร้างเสถียรภาพในการดำเนินงาน สำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะกลายมาเป็นสถานการณ์ปกติในอนาคต

  • สร้างเสถียรภาพของห่วงโซ่สินค้า สำหรับการถดถอยทางภูมิศาสตร์และแรงงาน เช่น การสร้างความมั่นคงในขั้นตอนการผลิตและการแจกจ่ายสินค้า 
  • สร้างแผนปฏิบัติการฉุกเฉินสำหรับในทุก ๆ ด้านของธุรกิจ

5. วางแผนสำหรับการลดต้นทุนที่เร่งด่วนสำหรับกากรักษารายได้

  • การหยุดการใช้จ่ายภายในบริษัททันที เช่น การหยุดการว่าจ้าง
  • จัดทำแผนโครงสร้างต้นทุนในอนาคต สำหรับการนำบริษัทเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น และการเตรียมพร้อมต่อวิกฤติที่มากขึ้น

6. ไม่ใช่แค่วิธีการเชิงรับ แต่ต้องเตรียมพร้อมด้วยวิธีการเชิงรุก

  • คิดค้นกลยุทธ์ที่จะทำให้บริษัทของคุณนั้นทำผลงานได้ดีกว่าคู่แข่งและขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในช่วงเวลาวิกฤติและในอนาคต
  • เตรียมพร้อมสำหรับการกลับมาสู่สภาวะปกติ
  • วางแผนและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มากขึ้นกว่าเดิม

ในสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกเช่นนี้ บางบริษัทอาจจะเริ่มได้รับผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามแต่เราควรจะเตรียมพร้อมและตั้งรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังนี้ เพราะไม่มีใครอาจรู้ได้ว่าเราจะสามารถหยุดสถานการณ์อันเลวร้ายเช่นนี้ได้เมื่อไหร่ อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ในสถานการณ์เช่นนี้ มาตรการเชิงรับอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอสำหรับการรักษาและผลักดันบริษัทไปข้างหน้า ทำให้ CEO หลาย ๆ คนต้องคำนึงถึงมารตการ ‘เชิงรุก’ ที่จะช่วยบริษัทนั้นปรับตัว พัฒนา และหาโอกาสภายใต้สภาวะเช่นนี้


อ้างอิง: BAIN&COMPANY





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...