Lay Off หรือ ล้มละลาย การตัดสินใจอันชาญฉลาดของ CEO จาก Gravity | Techsauce

Lay Off หรือ ล้มละลาย การตัดสินใจอันชาญฉลาดของ CEO จาก Gravity

แน่นอนว่าการระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และยังสร้างความท้าทายที่ไม่รู้จบให้กับเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ ท่านอีกด้วย สำหรับ แดน ไพรซ์ (Dan Price) CEO ของบริษัท Gravity ที่ให้บริการดำเนินการชำระเงินให้กับธุรกิจขนาดเล็กทั่วสหรัฐฯ ก็เป็นอีกท่านที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์นี้ เนื่องจากบริษัทของเขารายได้ลดลงถึง 50% ทำให้เขานั้นต้องทำการตัดสินใจครั้งสำคัญระหว่าง lay off พนักงานออก 20% หรือ ล้มละลาย แต่เขานั้นปฎิเสธที่จะใช้วิธีเหล่านั้นและทำสิ่งที่หลาย ๆ คนอาจไม่คาดคิดว่าจะมีผู้ใดทำในสภาวะเช่นนี้

  ในฐานะ CEO ผมไม่เชื่อในวิธีการตัดสินใจแบบ top-down

ในวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ไพรซ์ได้เรียกพนักงานทุกคนมาการประชุม และได้เล่าถึงสถานการณ์ของบริษัทในปัจจุบัน รวมถึงกลยุทธ์ที่จะใช้สำหรับไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ เขาและแทมมี่ โครล (Tammi Kroll) COO ของ Gravity ได้ใช้เวลานานถึง 40 ชั่วโมงในการประชุมย่อยกับพนักงานหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อรวบรวมความคิดและแผนการ จากการประชุมที่ยาวนานนี้ ไพรซ์ก็ได้ความเห็นและไอเดียที่น่าสนใจ และได้ตระหนักว่าถึงแม้ทุกคนจะอยากที่จะเสียสละเงินเดือนเพื่อการอยู่รอดของบริษัทหรือการหลีกเลี่ยงการ lay off พนักงาน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเสียสละเงินจำนวนเท่า ๆ กันนั้นได้ เนื่องจากภาระทางบ้านและทรัพสินย์อื่น ๆ อีก

สุดท้าย Gravity จึงได้ตัดสินใจวิธีการที่ไม่เหมือนใคร คือ การที่ให้พนักงานแต่ละคนกรอกฟอร์มที่ระบุจำนวนเงินที่พนักงานแต่ละคนนั้นสามารถที่จะเสียสละได้ ซึ่งพนักงานส่วนมากที่ได้เงินเดือนมากกว่านั้นยอมที่จะเสียสละเงินมากกว่ากลุ่มที่ได้เงินเดือนน้อยกว่า 

ไพรซ์ยังได้เขียนความเห็นของเขาให้กับ CEO ท่านอื่น ๆ ผ่าน Twitter อีกว่า “โปรดพูดคุยกับพนักงานของคุณก่อน lay off พวกเขา” และได้บอกเหตุผลของเขาว่า “บริษัทของเราได้เสียรายเป็นจำนวน 4 ล้านเหรียญต่อเดือน และเหลือเวลาก่อนที่จะล้มละลายแค่ 4-6 เดือนเท่านั้น แต่เมื่อเราได้พูดคุยกับพนักงานของเราอย่างตรงไปตรงมาแล้ว พวกเขายอมที่จะลดเงินเดือนอย่างสมัครใจเพื่อความอยู่รอดของบริษัท ซึ่งทำให้บริษัทของเราสามารถที่จะอยู่ได้ถึง 8-12 เดือน โดยที่ไม่ lay off พนักงานเลย

ซึ่งวิธีการที่ไพรซ์นั้นใช้นั้นได้แสดงถึงความสามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์อย่างชาญฉลาด และได้แสดงถึง 3 สิ่งสำคัญที่เขาได้ใช้ภายใต้วิกฤติการณ์เช่นนี้ 

1. สื่อสารอย่างเปิดเผยและซื่อตรงต่อพนักงาน การที่เขานั้นเปิดใจพูดคุยกับพนักงานแบบตรงไปตรงมานั้นช่วยให้พนักงานเข้าใจว่ากำลังเผชิญอยู่ในสถานการณ์เช่นไร และจะทำให้พนักงานนั้นสมัครใจที่จะเสียสละเพื่อรักษาบริษัทไว้

2. การฟังคือคีย์สำคัญ ในการฟังครั้งนี้ ไพรซ์ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับความรู้สึกของพนักงานต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และสิ่งพวกเขาที่จะยอมเสียสละในเหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งการจัดการประชุมย่อย ๆ กับพนักงานหลาย ๆ กลุ่มของไพรซ์และแทมมี่ทำให้พวกเขาสองคนได้รับความช่วยเหลือและข้อมูลที่มีประโยชน์จากพนักงาน และยังสามารถช่วยให้เขาตัดสินใจทางเดินของบริษัทได้ง่ายขึ้น

3. รวบรวมความคิดและทำงานร่วมกัน ในการที่ให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันกาทางออก และให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้พนักงานไม่รู้สึกว่าพวกเขานั้นเป็นผู้รับเคราะห์ในเหตุการณ์เช่นนี้ และรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิธีการนั้นเวิร์คและช่วยรักษาบริษัทไว้ได้

ดังนั้นถ้าผู้อ่านท่านใดเป็นเจ้าของกิจการที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินหรือบริษัทอยู่ในช่วงระยะเวลาวิกฤติ ก็สามารถที่จะนำวิธีการของไพรซ์ CEO ของ Gravity ไปปรับใช้ได้ โดยอย่าลืม 3 สิ่งนี้ “เปิดเผยและซื่อตรง-ฟัง-ทำงานร่วมกัน”


อ้างอิง: INC. 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SIAM.AI ใช้โครงสร้างไอทีของ DELL ติดอาวุธคนไทยเก่งปัญญาประดิษฐ์ 30,000 คนในปีเดียว

บริษัท สยาม เอไอ คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการ SIAM.AI Cloud ร่วมมือกับ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประเทศไทย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย...

Responsive image

เมื่อบิ๊กเทคฯ รวมตัวในพิธี Trump ทรัพย์สินรวมกันทะลุ 44 ล้านล้านบาท

พิธีสาบานตนของ Donald Trump ไม่ได้เป็นแค่เหตุการณ์ทางการเมืองธรรมดา แต่ยังเป็นเวทีรวมตัวของผู้นำ Big Tech อย่าง Elon Musk, Jeff Bezos และ Mark Zuckerberg ที่สะท้อนบทบาทสำคัญของเทคโ...

Responsive image

เวียดนามเดินหน้าแผนลดภาษี หวังดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าตลาดหุ้น

เวียดนามเตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มุ่งเน้นดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ตลาดหุ้น ด้วยมาตรการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียม เพื่อเสริมสภาพคล่องและผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ...