5 เรื่องนวัตกรรมเปลี่ยนโลกในงาน CES 2023 | Techsauce

5 เรื่องนวัตกรรมเปลี่ยนโลกในงาน CES 2023

CES 2023 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-5 มกราคม 2563 ที่เมืองลาสเวกัส เป็นงานมหกรรมแสดงนวัตกรรมและเปิดตัวสินค้าล่าสุดที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก งานนี้ใช้พื้นที่ที่ลาสเวกัสคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์กว่า 2 แสนตารางเมตรและมีผู้มาแสดงสินค้ากว่า 3,000 ราย บริษัทยักษ์ใหญ่แบรนด์ดังระดับโลกต่างใช้เวทีนี้แสดงวิสัยทัศน์และผลิตภัณฑ์ที่มาช่วยแก้ปัญหาโลกรวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ในอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนชีวิตของพวกเรา นวัตกรรมทั้งห้าเรื่องที่คัดเลือกมาเล่าวันนี้เชื่อว่าอยู่ในความสนใจของหลายๆคนสำหรับการก้าวไปสู่อนาคตอันใกล้

CES 2023

  1. รถยนต์บีเอ็มดับเบิ้ลยูขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า EV i Vision Dee ด้วยแนวคิด A car with a heart ชื่อรุ่น Dee นี้มาจากคำว่า Digital Emotional Experience โดยกระจกบานหน้าภายในรถสามารถปรับเป็นจอดูภาพได้เมื่อไม่ได้อยู่ในขณะขับรถ เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เรียกว่า BMW Mixed Reality Slider คือผสมผสานทั้งภาพจริงและ Heads-up monitor มีตัวหนังสือขึ้นบนจอกระจกรถ ไฟหน้าสามารถแสดงอารมณ์สีหน้าได้เก้าแบบ รถสามารถสื่อสารพูดคุยกับผู้ขับได้

    ที่พิเศษคือสามารถเปลี่ยนสีรถภายนอกได้ถึง 32 สี ตามอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้รถและสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแค่เปลี่ยนสีรถทั้งคัน เช่นจากสีขาวเป็นสีน้ำเงิน แต่สามารถเปลี่ยนได้หลากหลายสีในขณะเดียวกันเรียกได้ว่าเป็นรถสีรุ้งเลยก็ว่าได้  วิสัยทัศน์ของบีเอ็มวันนี้คือการทำให้รถเป็นเพื่อนของผู้ใช้รถจริงๆ มากกว่าแค่พาหนะโดยสารที่พาคุณจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งแล้วจบ แต่เป็นเพื่อนที่รู้ใจตลอดทาง รู้จักนิสัยการขับ มีอุปนิสัยของตัวเองตามที่บริษัทบีเอ็มตั้งใจเป็น Ultimate Companion
  1. Sony ที่เรารู้จักชื่อเสียงแบรนด์กล้องถ่ายรูปชื่อดังในอดีต วันนี้เข้าถึงตัวผู้บริโภคในโมเดลธุรกิจใหม่ โซนี่หันมาเน้นพัฒนากล้องถ่ายหนังภาพยนตร์คุณภาพสูง ใครที่ได้ชมหนังฟอร์มยักษ์เรื่อง Top Gun: Maverick คงจะนึกภาพออกว่าความละเอียดคมชัดและมุมกล้องถ่ายทำโดยกล้อง Sony Venice ทำให้ผู้ชมตื่นเต้นนั่งไม่ติดเก้าอี้ขนาดไหน โซนี่จริงจังกับการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในธุรกิจผลิตภาพยนตร์ เข้าจับมือร่วมกับคอนเทนท์ครีเอเตอร์และโปรดิวเซอร์มากมาย ทำงานร่วมกับนายเอ็ม ไนท์ ชยามาลาน (ผู้กำกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญโด่งดังจากเรื่อง The Sixth Sense และ Unbreakable) มาร่วมเปิดหนังเรื่องใหม่จากค่ายโซนี่มิวสิคชื่อ Knock at the Cabin

    ในงาน CES นี้ บูธของโซนี่ได้ถูกจำลองฉากบ้านที่อยู่ในหนังจริงมาไว้ที่นี่ ให้ผู้ชมสามารถเข้าถึง เดินและสัมผัสในฉากใส่กล้อง VR เสมือนเป็นส่วนหนึ่งในหนัง ดูผิวเผินเราอาจจะคิดว่าเป็นการขายกล้องของโซนี่ แต่ภายใต้สิ่งนี้คือคอนเซปการตลาดที่เจาะถึงความสำคัญของ Storytelling เล่าเรื่องผ่านภาพเคลื่อนไหวที่คอนเทนครีเอเตอร์ทุกคนโหยหา
    ในขณะที่จำนวนคนเล่นเกมส์เติบโตเร็วจนถึง 3.2พันล้านคนในโลก

    Sony เองในฐานะผู้นำในกลุ่มเกมส์ Playstation ก็ไม่หยุดพัฒนาต่อ ตั้งเป้าเป็นเกมส์ที่ดีที่สุดเสมอมา คนเล่นเกมส์กลายเป็นตัวละครในวิดีโอเกมส์ ส่วนเกมส์กลับมีตัวตนเป็นเสมือนเรื่องจริง ตัวอย่างเช่น Sony PlayStation เชื่อมต่ออุปกรณ์ VR ในการเล่นให้เสมือนจริงที่สุด ส่วนเกมชื่อดังอย่างแกรนด์ทัวริสโม่ (Grand Tourismo) ถูกสร้างเป็นหนังที่จะเข้าฉายในเดือนสิงหาคมปีนี้
  1. หมวด Digital Healthcare บริเวณงานที่ได้รับความนิยมสูงมากในงานนี้ การรักษาโดยแพทย์ผ่านมือถือ (Telemedicine) ที่เราเริ่มรู้จักกันในช่วงโควิด19 ได้สร้างฐานของการยอมรับการรักษาวิธีการนี้มากขึ้น ตลาด Home Health Hub คาดว่าจะมีปริมาณถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ นำตลาดโดยบริษัท Omron ที่นำเสนอ HeartGuide เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกติดตัวพ่วงกับการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

    ส่วนบริษัทซัมซุงก็ร่วมมือกับบริษัทซอฟท์แวร์หลายแห่งที่จะเชื่อมข้อมูลที่อุปกรณ์ซัมซุงป้อนเข้าและนำมาประมวลผล เช่นซัมซุงสร้างนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ เซนเซอร์ที่ฝังบนจอโทรทัศน์เพื่อตรวจดูการเคลื่อนไหวของคน ข้อมูลจะถูกบันทึกขึ้นคลาวด์และแสดงผลบนแอพพลิเคชั่น  บริษัทสัญชาติอเมริกัน Medwand นำเสนอเครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นแบบเคลื่อนที่ ตรวจทั้งภายในภายนอก ได้ทั้งหูคอจมูกและฟังเสียงหัวใจ

    และส่งผลให้ทางแพทย์วินิจฉัยแบบ Real time โดยไม่ต้องมาพบแพทย์ ส่วนบริษัทเกาหลีหนึ่งนำเสนออุปกรณ์ที่เป็นหมวกครอบศีรษะและจับเส้นประสาทในสมองเพื่อตรวจคลื่นสมองอีเคจี บอกถึงการทำงานของสมองและโอกาสความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและโรคอัลเซเมอร์ 
  1. เมื่ออุปกรณ์ใส่ติดตัว (Wearable device) เป็นได้มากกว่าแค่เครื่องวัดผลออกกำลังกาย ปัจจุบันเราคุ้นชินกับการใส่นาฬิกาสมาร์ทวอทช์เพื่อนับจำนวนก้าวเดินในแต่ละวัน หรือนักวิ่งก็จะใช้วัดระยะทาง ความเร็วและอื่นๆ งานนี้บริษัทเทคโนโลยีสร้างฟีเจอร์ที่วัดผลของสุขภาพได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผลที่วัดมานี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับแพทย์พยาบาลผู้ให้บริการ

    ในงานนี้มีอุปกรณ์วัดสายตาด้วย AI แค่มองในแว่นก็บอกถึงความผิดปกติของสายตา ผู้ที่มีปัญหาในการมองเห็นหรือผู้สูงอายุ สามารถใส่แว่นที่ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น ใส่เข็มขัดที่มี sensor สั่นเมื่อเรากำลังจะเดินชนสิ่งกีดขวางหรือทางต่างระดับ ผู้ป่วยเบาหวานใช้แผ่นเพื่อวัดปริมาณน้ำตากลูโคส และมีค่าเตือนไปที่มือถือเพื่อบอกว่าเค้าควรจะปรับอาหารในสัปดาห์นี้อย่างไร ตลาดของอุปกรณ์เคลื่อนที่ทางการแพทย์ถูกครอบครองส่วนแบ่งตลาดโดย Apple แต่ Google ที่ส่ง Wear OS ลงสนามและ Xiaomi จากจีนก็อยากจะแข่งขันในตลาดนี้เช่นกัน

  1. การประชุมออนไลน์จะไม่ได้แค่อยากเห็นหน้าของผู้สนทนาผ่านจออีกต่อไป Cisco Webex Hologram คิดค้นวิธีการประชุมกับอีกฟากหนึ่งผ่านการใส่แว่นวีอาร์ทำให้เราเสมือนได้คุยกับคู่สนทนาอีกฝั่งนึงตัวต่อตัว เราจะเลือกเห็นตัวเขาได้ครึ่งตัวหรือเต็มตัวก็ได้ VR AR จะถูกนำมาแปลงใช้ในโลกของธุรกิจมากขึ้น เช่น การให้ช่างมือใหม่สวมอุปกรณ์ VR AR ที่เชื่อมต่อกับคอมมานเซ็นเตอร์ เข้าไปซ่อมแซมงาน จะสามารถรับคำแนะนำโดยช่างชำนาญงานที่นั่งอยู่ที่ไหนก็ได้

    แก้ปัญหาช่างประสบการณ์น้อยให้ทำงานได้ทันทีและพัฒนาทักษะช่างใหม่ไปในตัว โดยกล้อง VR ก็คือช่างอีกคนหนึ่งที่นั่งอยู่ที่อื่น จะทำให้เขาเห็นภาพเดียวกันกับคนที่อยู่หน้างาน และด้วยการใช้ Mixed reality ทำให้ช่างผู้ชำนาญงานสามารถสร้างกราฟฟิกชี้นำว่าควรจะแก้ไขเรื่องอะไรบ้างเสมือนเขาได้ทำงานไปด้วย 

เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะทำให้เข้าถึงความรู้สึกของเราได้มากขึ้นอย่างที่ BMW ต้องการให้รถเป็นเสมือนเพื่อนสนิทของเราจริงๆ Sony มุ่งมั่นที่จะให้ภาพเป็นตัวสื่อถึงประสบการณ์ที่ตื่นเต้นเสมือนจริงโดยที่เราไม่ต้องผ่านประสบการณ์อันตรายนั้นด้วยตัวเองผ่านมุมกล้องที่มีคุณภาพสูงรวมถึงการทำเกมเสมือนจริง การเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกจึงเป็นเทคนิคสำคัญของบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลาย 

ส่วนเรื่องการแพทย์ โควิดทำให้เรารู้ถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสในรูปแบบต่างๆ การเดินทางไปสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างเคย เมื่ออุปกรณ์ที่เข้ามาทดแทนการตรวจโดยวิธีดั้งเดิมถูกพัฒนาให้เป็นระบบ Self Test โดยส่งผลการตรวจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ห่างไกลสามารถวินิจฉัยและให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ วันนี้ Telemedicine ก้าวไปอีกขั้นด้วยอุปกรณ์ที่สามารถให้ข้อมูลในเชิงลึกขึ้น กว้างขึ้น เพื่อวิเคราะห์โรคต่างๆได้มากขึ้น

และอุปกรณ์เหล่านั้นยังเชื่อมต่อกันได้อย่างกว้างขวางขึ้น เป็นระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ขึ้นและร่วมมือกันได้ตั้งแต่ผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล ไปถึงร้านขายยาและอุปกรณ์เลยทีเดียว การพัฒนานี้เป็นประโยชน์อย่างสูงต่อวงการแพทย์ โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลสถานพยาบาล 

บทความนี้เขียนโดย คุณพรพิมล ปฐมศักดิ์ Business Mentor & Industry Analyst

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Devcon SEA 2024 กำลังจะเปิดที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ตอกย้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางบล็อกเชนระดับโลก

Devcon SEA 2024 งานประชุมสุดยิ่งใหญ่สำหรับชุมชน Ethereum กำลังจะเปิดฉากระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยคาดว่ามีผู้เข้าร่วมกว่า 12,000 คนจากทั่วทุ...

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...