เหตุใดทำไมองค์กรใหญ่ถึงหันมาสร้าง Incubator กัน? | Techsauce

เหตุใดทำไมองค์กรใหญ่ถึงหันมาสร้าง Incubator กัน?

ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะมีโครงการบ่มเพาะธุรกิจ หรือที่เรียกกันว่า Incubator เกิดขึ้นมากมาย และหลายๆ โครงการสนับสนุนโดยองค์กรขนาดใหญ่  โดยมีการประเมินจาก National Association Business Incubators ว่ามีโครงการดังกล่าวมากถึง 1,250 รายในสหรัฐอเมริกา!  โครงการแบบนี้มีอยู่ในทุกภาคอุตสหกรรม ในบางโครงการก็เจาะจงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะทางไปเลย อย่างเช่นโครงการ La Cocina ที่ซานฟรานซิสโก ส่งเสริมผู้หญิงที่มีรายได้น้อย  แต่อยากที่จะเปิดธุรกิจอาหารเป็นของตัวเอง

meeting-pano_22978

เมื่อไม่นานมานี้ PayPal ก็ได้ประกาศว่าพวกเขาจะมี Incubation Program ใหม่ในบอสตัน รวมไปถึง LinkedIn ที่จะปล่อยโครงการออกมาเพื่อสนับสนุนพนักงานของพวกเขาเอง ฟาก Microsoft ก็เปิดศูนย์รวมเทคโนโลยีที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล และ Google ก็ไม่น้อยหน้า Microsoft พวกเขาก็มีโครงการแบบนี้ใน Tel Aviv เหมือนกัน ไม่ว่าบริษัทเล็กหรือใหญ่ต่างก็พากันตื่นตัวอย่างมาก บางบริษัทถึงกับให้เงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทุนแก่พนักงานคนไหนที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจกันเลยทีเดียว ดูเหมือนเป้าหมายไม่ใช่เป็นเรื่องการมุ่งหวังในเชิงกำไรจากการลงทุน แต่มีแรงกระตุ้นอื่นที่มากกว่านั้น เราไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

รูปแบบใหม่ของ R&D

สำหรับบางคนคำว่า Incubator อาจจะแปลว่าการค้นหาและพัฒนา ยกตัวอย่างโครงการ Incubator ของ LinkedIn พวกเขาจะดูแลผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์กับลูกค้าและพนักงานของ LinkedIn ไม่ทางใดทางหนึ่ง ในทุกๆ ไตรมาสของปี พนักงานของ LinkedIn สามารถจะ Pitch ไอเดียต่างๆให้แก่เหล่าผู้บริหาร รวมไปถึงผู้ก่อตั้ง Reid Hoffman และ CEO Jeff Weiner ถ้าเกิดไอเดียนั้นได้รับความสนใจและอนุมัติ ทางพนักงานสามารถปรึกษา Mentor เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะเวลา 3 เดือน ปัจจับันได้รับอนุมัติแล้ว 5 โครงการ จากทั้งหมด 50 ไอเดียที่ถูกนำเสนอเข้ามา หนึ่งในเคสที่ประสบความสำเร็จก็คือ go/book อุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือการลงเวลาประชุมที่ LinkedIn ให้ง่ายขึ้น ตามที่ Florina Grosskurth ได้กล่าวไว้ว่า LinkedIn เล็งเห็นว่าโครงการ incubator เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงในอนาคต

กลยุทธ์ในการลงทุนและเข้าซื้อกิจการ

ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมอย่าง Qualcomm ซึ่งมองว่าโครงการ Incubator เปรียบเสมือนกลยุทธ์ในการลงทุนที่เรียกว่า Strategic Investment  ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Qualcomm ได้จับมือกับโครงการ Incubator ชื่อ EvoNexus เพื่อเปิดโครงการชื่อ QualcommLabs@evonexus

ไอเดียในการริเริ่มครั้งนี้เพื่อให้บริษัทที่อยู่ในโครงการ Incubator ของ EvoNexus สามารถสมัครเข้าร่วมเพื่อขอเงินทุนจาก Qualcomm ในปัจจุบันทางบริษัทได้ให้เงินทุนไปแล้วกว่า 550,000 เหรียญสหรัฐฯ กับ 3 Startup ที่พัฒนาโซลูชั่นกลุ่ม wireless และ telecom space

ทำให้ความคิดสดใหม่ตลอด

โครงการ incubator ของ PayPal เริ่มจากเป็น co-working space ในออฟฟิศของ PayPal ที่เมืองบอสตัน ด้าน COO ของ PayPal David Chang ได้กล่าวว่าการทำงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมกับ startups ถือว่ามีแรงกระตุ้นอย่างมาก ตอนนี้บริษัทได้ต้อนรับ 9 startups หน้าใหม่เข้ามาในออฟฟิศที่บอสตันแล้ว startups เหล่านี้จะได้เข้าถึงผู้บริหารของบริษัท และรวมไปถึงทำความรู้จักกับบรรดานักลงทุนต่างๆ การได้ networking กับนักพัฒนารุ่นใหม่ๆ ยังช่วยเรื่องการรับคนเก่งเข้ามาทำงานอีกด้วย

ประโยชน์ให้กับพนักงาน

Will Dean แห่ง Tough Mudder กล่าวว่า บริษัทต้องเต็มไปด้วยทุกองค์ประกอบ บริษัทต้องมีวัฒนธรรมที่ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในบริษัท Dean รู้อีกว่ามีพนักงานหลายคนในบริษัทที่กำลังทำ startups ของตัวเองอยู่เหมือนกัน เพราะพวกเขาก็ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจสักวันหนึ่ง ในปีนี้ Dean กับ co-founder ของเขา Guy Livingstone ได้จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเป็นจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการที่จะสนับสนุนพนักงานคนไหนที่มีไอเดียดีๆ นอกจากนี้พวกเขายังได้ผลักดันให้พนักงานสนใจมา pitch ไอเดียธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย

Dean หวังว่าบริษัทที่ Tough Mudder ลงทุนไปจะยืนได้ด้วยขาตัวเองสักวัน มีหลายคนที่เรียนจบจากสาขาบริหารธุรกิจ พวกเขามาที่นี่เพื่ออยากศึกษาการเป็นผู้ประกอบการจริงๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่กับเราเพียงแค่ 2 ปีแล้วออกไปทำของตัวเองก็ไม่เป็นไร เราคิดว่ามันคงดีถ้าเกิดว่าเรามีศิษย์เก่าของบริษัท ที่ออกไปประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการ เหมือนกับบริษัทอย่าง PayPal

Licensing's pipeline 

บริษัท Procter & Gamble ได้พัฒนาโครงการที่มีชื่อว่า Connect+Develop program ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถ pitch ผลงานและนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้คำแนะนำ เครือข่ายของ P&G ถ้าโชคดีก็ได้ทำ licensing agreement นำสู่ตลาด ขายได้จริง

อันที่จริงแล้วมากกว่า 50% ของผลิตภัณฑ์ P&G มาจากการร่วมมือกับบริษัทภายนอก ผลิตภัณฑ์ที่ทางโครงการ Connect+Develop program รับผิดชอบก็จะมีกระเป๋าGlad ForceFlex, Mr.Clean Magic Eraser, Swiffer Dusters และ Tide PODS ที่มา: Inc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อนาคตที่ปรึกษาทางการเงิน จะเป็นอย่างไร ? เมื่อ AI คือผู้ช่วยคนสำคัญ

ที่ปรึกษาการเงินหลายท่านกำลังเผชิญกับภาวะ "งานเอกสารท่วมตัว" จนแทบไม่มีเวลาดูแลลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับงานที่ไม่สร้างรายได้ ทำให้การสร้างความสัมพันธ...

Responsive image

GAC บุกตลาดหุ่นยนต์ เปิดตัว GoMate หุ่นสี่ล้อสองขาสูงเท่าคน เตรียมใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์

GAC Group แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ได้เปิดตัวหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์หรือ Humanoid ในชื่อ GoMate เพื่อตอบรับเทรนด์การใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานในอนาคต...

Responsive image

หมดยุครถน้ำมัน? จีนจ่อทุบสถิติ ยอดขาย EV แซงหน้ารถสันดาปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

แม้จีนจะขึ้นชื่อด้านรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยอดขายในประเทศยังถือว่าตามหลังรถสันดาป (ICE) แต่ในปี 2025 ที่กำลังจะถึงนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในจีนอาจแซงรถยนต์สันดาปเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดเปลี่ยน...