มช.พัฒนาแอปฯ สามารถประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 เบื้องต้นด้วยตนเองได้ | Techsauce

มช.พัฒนาแอปฯ สามารถประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 เบื้องต้นด้วยตนเองได้

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาแอปพลิเคชันแบบทดสอบคัดกรองตนเองที่สามารถทำได้เองที่บ้านลดปัญหาการเดินทางออกนอกบ้าน  เพื่อประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้สงสัยที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวของแต่ละระดับความเสี่ยง แอปพลิเคชั่นนี้มีผู้ใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่ง Solution นี้รองรับภาษาเบื้องต้น 3 ภาษา ได้เเก่ ไทย, จีน, อังกฤษ สามารถใช้โทรศัพท์ในการเข้าทำเเบบทดสอบได้ทั้งระบบ IOS และ Android

สำหรับผู้สงสัยที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในการคัดกรองตนเองเบื้องต้นนี้ สามารถประเมินความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เบื้องต้นได้และพร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของแต่ละระดับความเสี่ยงโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและสะดวกเเก่ประชาชนทั่วไป

แบบคัดกรองตนเอง สำหรับผู้สงสัยที่จะติดเชื้อ COVID-19 (เชื้อไวรัสไวโรน่า 2019)

Coronavirus 2019 Self-Screening

新型冠状病毒疑似感染者个人检疫表

http://sescimande.net/Self-Screening/

การประเมินออนไลน์นี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เป็นกังวลและต้องการประเมินความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรค COVID-19  โดยสามารถเข้าไปประเมินด้วยการตอบคำถาม 4 ประเด็น ได้แก่

1. การมีไข้

2. การมีอาการสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ็บคอ น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ

3. การมีประวัติเดินทางมาจากประเทศจีนหรือในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในช่วงเวลา 14 วัน ก่อนเริ่มป่วย

4. การมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ต้องสงสัยการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

โดยหลังจากตอบคำถามทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว จะมีการประเมินผลความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. สีเขียว ไม่เข้าเกณฑ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

2. สีเหลือง แยกตัวเอง สังเกตอาการ หากไม่สบายหรืออาการไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์

3. สีแดง รีบพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

Solution การคัดกรองดังกล่าวจะมีการอัพเดทข้อมูลของไวรัส COVID-19 เเละพัฒนาเเอปพลิเคชันเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงตอบโจทย์การคัดกรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ถึงอย่างไรหากต้องการทราบผลการตรวจที่เเน่ชัดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจด้วยร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้ง 

ขอบคุณข้อมูลจาก thaipublica.org

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...