depa x Mastercard ดัน 27 จังหวัดเข้า City Possible มอบ Solution พัฒนาเมือง | Techsauce

depa x Mastercard ดัน 27 จังหวัดเข้า City Possible มอบ Solution พัฒนาเมือง

Credit: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

Smart City หนึ่งในความมุ่งมั่นที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) ได้วางรากฐานและกลยุทธ์โดยครอบคลุมถึงการสนับสนุนทั้งในตัวของเเต่ละจังหวัดในประเทศไทยในด้านความรู้ เครื่องมือ รวมถึง ส่งเสริมกลุ่ม Startup ที่มี Solution ในการเข้ามาช่วยตอบโจทย์การเเก้ปัญหาชุมชน เมือง โดยเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ depa smart city accelerator นับได้ว่าเป็นการเชื่อมโยงการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพด้วยการเชื่อมโยง Startup และชุมชนเมืองที่เข้าร่วมโครงการพัฒาเมืองถึงเเม้ปัจจุบันจะมีจังหวัดที่คุณสมบัติพร้อมในการพัฒนาสมัครเข้ามาไม่มากแต่ในอนาคตทาง depa เปิดเผยว่าจะมุ่งเน้นขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมมากขึ้นและปัจจุบันทางโครงการยังเปิดรับจังหวัดที่ต้องการพัฒนาเมืองให้เป็น Smart City หากจังหวัดนั้นมีความพร้อมตามข้อกำหนดเเละความตั้งใจจริงในการลงมือทำสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan 

Credit: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากโครงการที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) ได้จัดทำมาก่อนแล้วด้วยความมุ่งมั่นที่พยายามหา Solution และผู้เข้าร่วมการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันหนึ่งในความร่วมมือครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นคือ การร่วมมือระหว่าง depa และ Mastercard โดยดึงเมืองที่เข้าร่วมเป็นหนึ่งใน Smart City กับทาง depa ที่มีศักยภาพทั้ง 27 เมืองเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ  City Possible ซึ่งโครงการพัฒนาเมืองครบวงจรที่เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันสร้างวิธีแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนของเมืองโดยโครงการมีการเข้าร่วมเเล้วกว่า 40 เมืองทั่วโลกโดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเชื่อมโยงการพัฒนาทั่วโลกเพื่อร่วมมือกันในการเเก้ปัญหาของเมือง นับเป็นการเข้าร่วมโครงการพร้อมกันเพื่อขยายเครือข่ายที่มากที่สุด นับเป็นก้าวสำคัญของ depa ในการดำเนินงานสู่เป้าหมายในการขยายของเขต Smart City เพื่อให้เกิดเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 100 เมืองภายในปี 2020 หลังจากประสบความสำเร็จกับเมืองนำร่องอย่าง ภูเก็ต ขอนแก่น กรุงเทพฯ และเมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

Credit: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร. ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าว “เมื่อปีที่แล้ว 27 เมืองทั่วประเทศไทยได้ส่งแผนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะกับ depa เพื่อให้ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะที่ depa สนับสนุนอยู่ ดังนั้น ปีนี้จึงจะเป็นปีของการลงมือปฏิรูปเมืองตามแบบแผนพัฒนาที่ได้ยื่นต่อ depa  และเพื่อเป็นการส่งเสริมความตั้งใจเหล่านี้ แทนที่จะเลือกเพียงหนึ่งเมือง เราได้นำทั้ง 27 เมืองดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ City Possible นับเป็นเกียรติที่เราได้เป็นพันธมิตรรายแรกจากภาครัฐที่เข้าร่วมเครือข่ายของ City Possible” 

การพัฒนาประเทศให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะคือเสาหลักของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในเมืองให้ดีขึ้น ตอนนี้หลายพื้นที่ใน 27 เมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้ง 7 องค์ประกอบของการเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะแล้ว อันได้แก่ การสัญจร ชุมชน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การปกครอง อาคาร และพลังงาน

Credit :Miguel Gamino Jr.(Mastercard)

City Possible  คือ โครงการอะไร ?

City Possible เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายฝ่าย มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครื่องมือด้านเทคโนโลยีอันทรงพลังเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในเมืองให้ดีขึ้น มอบการเข้าถึงเครือข่ายระดับโลกที่เชื่อมต่อผู้นำเมืองต่างๆ ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรภาครัฐและเอกชนจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งสมาชิกโครงการจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรม รวมถึงเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ความท้าทายและปัญหาที่ทุกเมืองต้องเผชิญเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืน

ประโยชน์จากการเป็นสมาชิก City Possible Global Network

  • เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการ  การประชุม และงานอุตสาหกรรมระดับโลก
  • โอกาสพบปะผู้นำเมืองต่างๆ และสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ
  • เข้าร่วมฟอรั่ม City Possible ทางออนไลน์
  • สนับสนุนและเผยเเพร่ความรู้บนสื่อนานาชาติ
  • รับข้อเสนอเเนะและข้อมูลเชิงลึกจากพันธมิตร City Possible เกี่ยวกับเทคโนโลยีสำหรับเมือง
  • เข้าถึงความร่วมมือระหว่างองค์กร และเป็นเจ้าภาพจัดงานแก้ปัญหาร่วมกันของ City Possible
  • เข้าถึงงานวิจัยของพันธมิตรทางวิชาการและมีโอกาสเสนอหัวข้องานวิจัย

เครื่องมือพัฒนาที่สมาชิกจะได้รับ : กุญแจเมืองมาสเตอร์การ์ด (Mastercard City Key)

  • กุญแจเมืองมาสเตอร์การ์ด ผสานระหว่างการยืนยันตัวตนกับฟังก์ชั่นชำระเงินเพื่อช่วยให้เมืองให้บริการประชาชนได้มากขึ้น มีความครอบคลุมพื้นที่และคุ้มค่า
  • เมืองจะได้รับ Platform ที่ปรับแต่งตามความเหมาะสมได้ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการได้ในแต่ละความต้องการของวิถีชีวิตคนในเมืองนั้น
  • ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทุกอย่างได้ เพียงใช้ ID เดียว

Credit :Miguel Gamino Jr.(Mastercard)

คุณมิเกล กามิโน จูเนียร์ รองประธานกรรมการบริหารเมืองระดับสากล มาสเตอร์การ์ด กล่าว “ในความเป็นจริง เมืองทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายที่เหมือนๆ กัน หากแต่ต่างฝ่ายต่างแก้ไขปัญหา City Possible จึงทำหน้าที่เสมือนตัวกลางเชื่อมต่อเมืองสมาชิกจากทั่วโลกด้วยข้อมูลและทรัพยากร ทำให้การดำเนินงานเร็วขึ้นและก่อให้เกิดการปกครองเมืองอย่างอัจฉริยะมาสเตอร์การ์ดมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ช่วยส่งเสริมผู้นำเมืองด้วยวิธีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพในระดับสากล เนื่องด้วยเร็วๆ นี้ depa กำลังจะเปิดอบรมหลักสูตรผู้นำขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ  (Chief Smart City Officers) เพื่อส่งเสริมการทำงานของผู้นำเมืองต่างๆ”

จูเลียน โลห์ รองประธานกรรมการบริหารความร่วมมือระหว่างองค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าว “สำหรับประเทศไทย มาสเตอร์การ์ดกำลังมองหาช่องทางในการนำกุญแจเมืองมาสเตอร์การ์ด (Mastercard City Key) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจากความร่วมมือกับเมืองโฮโนลูลู (City of Honolulu) เมืองหลวงของรัฐฮาวาย ที่นำการระบุตัวตนมาผูกกับการชำระเงินเพื่อช่วยให้ประชากรสามารถเข้าถึงบริการของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงมากขึ้น City Key ถือเป็นความสำเร็จโดยตรงจากความร่วมมือและกิจกรรมร่วมที่เกิดจากการสนับสนุนโดยโครงการ City Possible”

Credit: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานได้มีตัวเเทนหนึ่งในโครงการเมืองที่เข้าร่วมกับ depa เข้าร่วมเเลกเปลี่ยนความคิดถึงปัญหาและสิ่งที่ทางเมืองได้เริ่มพัฒนาว่าตอนนี้ได้ทำสิ่งใดแล้วบ้างอย่างเมือง ยะลา หนึ่งใน 27 เมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงจากความพยายามของนายกเทศมนตรีในการพัฒนาเมืองยะลาให้กลายเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าว “ความสำเร็จของแพลตฟอร์ม City Key ของเมืองโฮโนลูลูเป็นแรงบรรดาลใจที่ทำให้ยะลาเห็นถึงขีดความสามารถของเทคโนโลยีในการนำมาใช้เพื่อหาทางออกที่ครอบคลุมทั้งชุมชน เมื่อชาวยะลามีความภูมิใจในเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ มันจะช่วยดึงดูดความสนใจจากคนภายนอกให้อยากมาอาศัยและท่องเที่ยว รวมถึงทำธุรกิจ” 

ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือการผลักดันการพัฒนาอย่างเนื่อง การดำเนินงานขั้นต่อไปของ depa คือการร่วมมือกับมาสเตอร์การ์ดในการนำความรู้ความชำนาญจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private-Partnerships; PPPs) ริเริ่มโดยหน่วยงานฝ่ายความสัมพันธ์ภาครัฐ (Government Engagement) ของมาสเตอร์การ์ด มาสู่เมืองอัจฉริยะของไทยโครงการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะจำเป็นต้องมีเงินลงทุนในการผลักดันให้เกิดขึ้น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นวิธีในการหมุนเวียนเงินทุนและดึงเอาความสามารถของภาคเอกชนมาใช้เพื่อเป้าหมายส่วนรวม

เจอรัล ซัน รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายความสัมพันธ์ภาครัฐ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าว “การจัดการเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องและการจัดหาเงินทุนมักเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้โครงการพัฒนาหลายโครงการล่าช้า มาสเตอร์การ์ดจึงเล็งเห็นว่า การสนับสนุน depa ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเมืองไทยจะช่วยให้ depa ก้าวผ่านอุปสรรคเพื่อให้เมืองน่าอยู่อัจฉริยะกลายเป็นจริงได้” 

Credit: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

สุดท้ายทาง depa ได้เผยถึงงานใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2563 โดย depa จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน World Smart City Showcase เชิญเมืองสมาชิกในโครงการ City Possible มาร่วมจัดแสดงแผนการดำเนินงานการเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ พร้อมทั้งเชิญเมืองอัจฉริยะของไทยขึ้นเวทีใหญ่ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงเมือง พร้อมทั้งหาทางออกและความร่วมมือใหม่ๆ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...