ทีมแพทย์จุฬาฯ พัฒนาตู้ความดันลบสำหรับเก็บสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ลดความเสี่ยงไวรัส COVID-19 แพร่กระจาย | Techsauce

ทีมแพทย์จุฬาฯ พัฒนาตู้ความดันลบสำหรับเก็บสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ลดความเสี่ยงไวรัส COVID-19 แพร่กระจาย

ทีมแพทย์จุฬาฯ พัฒนาตู้ความดันลบสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจให้บุคลากรทางการแพทย์ในการเก็บสารคัดหลั่งต่างๆ จากคอหอยและโพรงจมูกของคนไข้มาตรวจ ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ทดแทนการใช้ห้องความดันลบที่ใช้ในการเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยที่จะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก และไม่สามารถทำได้ในทุกโรงพยาบาล

อ.นพ.พสุรเชษฐ์ สมร ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 การเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยโดยบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตู้ความดันลบสำหรับใช้เก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาขึ้นนี้เป็นตู้ความดันลบตามมาตรฐานของการเก็บสิ่งส่งตรวจ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคให้อยู่แต่เฉพาะในตู้นี้เท่านั้น สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อความสะดวกในการใช้งาน วัสดุที่ใช้ทำตู้เป็นอะคริลิกหนา 15 มิลลิเมตรซึ่งทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อ มีลักษณะใส สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ภายในตู้มีเครื่องดูดอากาศผ่าน HEPA Filter เกรดที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ซึ่งสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กเท่าไวรัสได้ 99.995% โอกาสที่ไวรัสจะหลุดรอดจากฟิลเตอร์แทบจะเป็น 0% นอกจากนี้ยังมีการฆ่าเชื้อด้วยหลอด UV-C ทำให้ไวรัสหมดความสามารถ ในการก่อโรค เมื่อเทียบกับหน้ากาก N95 ที่สามารถกรองอนุภาคได้ขนาด 0.3 ไมครอน ตู้นี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสมากกว่า 1 พันเท่า

ขณะนี้ได้มีการนำตู้ความดันลบสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยแบบเคลื่อนที่มาใช้งานจริงแล้วที่หอผู้ป่วย COVID-19 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นตู้ที่สามารถเคลื่อนที่ไปที่ไหนก็ได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อ

อ.นพ.พสุรเชษฐ์ กล่าวว่า ตู้นี้ยังทำให้ผู้เข้ารับการตรวจเชื้อไม่ต้องกังวลในเรื่องความปลอดภัยของคนไข้ที่มาใช้งานต่อ เพราะอากาศที่ฟุ้งกระจายในตู้จะถูกดูดออกโดยอนุภาคฟิลเตอร์และมีการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C นอกจากนี้ยังมีการพ่นแอลกอฮอล์และเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง ปัจจุบันได้มีการผลิตตู้มาใช้งานที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แล้ว 8 เครื่อง จำนวนตู้ที่ผลิตทั้งหมด 50 เครื่อง ซึ่งจะใช้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 10 เครื่อง ที่เหลือจะกระจายไปตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลปัตตานี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ฯลฯ ค่าใช้จ่ายในการผลิตตู้ละ 100,000 บาท โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท TCP ในส่วนของการออกแบบสร้างตู้สำหรับตรวจ COVID-19 หากมีผู้ที่สนใจต้องการจะนำไปผลิตหรือปรับปรุงเพื่อใช้งานทางการแพทย์ ก็สามารถนำไปใช้ต่อได้”

“ตู้นี้เป็นความร่วมมือของคณาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ และหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยใช้วัสดุที่ผลิตและหาได้ง่ายในประเทศ เมื่อสถานการณ์วิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง ก็ยังสามารถนำตู้นี้ไปใช้ในระยะยาวในการเก็บสิ่งส่งตรวจจากโรคทางด้านทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ปัจจุบันเราประสบปัญหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลน ใครที่พอจะมีกำลังที่จะทำได้ก็ขอให้ช่วยกัน แต่ถ้าขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้ใช้งานจริงก่อนจะดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน” อ.นพ.พสุรเชษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย

source

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...