ทำไมเด็กไทยต้องเรียนวิชาอินเทอร์เน็ตและภัยออนไลน์ สิ่งสำคัญที่ครูและผู้ปกครองต้องตระหนัก

การที่โลกของเรานั้นเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับเยาวชนในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างง่ายขึ้นผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใกล้ตัว อย่างไรก็ตามแต่ มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน และในปัจจุบันก็มีหลากหลายเหตุการณ์ที่เราเห็นบนสื่อโซเชียลต่าง ๆ ที่กลายมาเป็นภัยออนไลน์ต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Fake News ที่อาจจะสร้างความเข้าใจแบบผิด ๆ ให้กับเด็ก หรือจะเป็นเรื่องของ Cyberbullying ที่อาจทำให้เกิดส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว รวมถึงในเรื่องของการละเมิดความเป็นส่วนตัว การหลอกลวง และการละเมิดทางเพศ ที่เด็ก ๆ นั้นอาจจะตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย ด้วยสภาพแวดล้อมบนโลกออนไลน์ที่เอื้อให้ผู้คนนั้นจะแสดงความคิดเห็นอะไรก็ได้ ทำให้ปัญหาเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นในหมู่เด็ก ๆ มากเป็นเท่าตัว

#StopCyberBullying & YSLC โครงการดี ๆ จาก ดีแทค 

ดีแทค ก็เป็นองค์กรหลักที่ได้ริเริ่มการสนับสนุนเรื่องของภัยออนไลน์ และได้ปล่อยวิดีโอไวรัล ‘Thank you for sharing’ แคมเปญ #StopCyberBullying ที่ทำให้หลาย ๆ คนนั้นตระหนักถึงปัญหาและผลของการรังแกกันบนโลกออนไลน์ และยังได้ริเริ่มค่าย Young Safe Internet Leader Cyber Camp (YSLC) ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่นั้นที่จะสามารถป้องป้องดูแลปัญหาเรื่องนี้ได้ แต่เด็กและเยาวชนก็สามารถก้าวเข้ามาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดค่ายนี้ขึ้นมาคือเพื่อต้องการเสริมสร้างให้เยาวชนไทยนั้นกลายมาเป็นพลเมืองอินเทอร์เน็ตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsible Netizen) สามารถที่จะเรียนรู้และเข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ รวมถึงการตระหนักถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ 

ดีแทค ส่งต่อความรู้จากค่าย YSLC รู้ทันภัยออนไลน์ผ่าน “ห้องเรียนเด็กล้ำ” หรือ Young Safe Internet Leader Curriculum

โดยค่าย Young Safe Internet Leader Cyber Camp ในปีนี้ก็ได้จัดขึ้นไปแล้วเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากเยาวชนทั่วประเทศไทยกว่า 400 คน แต่ถึงแม้ว่าค่ายจะจบลงแต่แน่นอนว่าการเรียนรู้นั้นยังไม่จบ โดย ดีแทค นั้นตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้และหลักสูตรดี ๆ ที่จะเสริมทั้งความรู้ ความเข้าใจและทักษะต่าง ๆ ให้เยาวชนและคนไทยทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ หรือทางเว็บไซต์ https://learn.safeinternet.camp/ 

โดยผู้เข้าเรียนออนไลน์สามารถเลือกเติมเต็มองค์ความรู้การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ถึง 8 วิชา ประกอบไปด้วย

1. กลุ่มวิชาเสริมภูมิคุ้มกันออนไลน์ (Knowledge Courses)

3 หลักสูตรที่จะมาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและเพิ่มความปลอดภัยในโลกออนไลน์ให้กับทุกคน ได้แก่

  • Anatomy of Fake News ที่จะส่งเสริมความรู้ให้กับเยาวชนเกี่ยวกับข่าวปลอมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความหมายและองค์ประกอบ วิธีและเครื่องมือในการแยกแยะข่าวปลอม ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง ผลเสียและผลกระทบจากข่าวปลอม จนถึงการเข้ามามีบทบาทของเยาวชนในการช่วยเหลือสังคมในเรื่องนี้ 

  • Diversity Respect to Stop Cyberbullying ที่จะทำให้เยาวชนนั้นเกิดความรู้และความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิก ข้อดี-ข้อเสีย เพื่อที่จะทำให้พวกเขานั้นเกิดความตระหนักถึงความหลากหลายและเคารพผู้อื่น

  • Online Privacy & Sexual Abuse ที่จะมาให้ความรู้ในเรื่องความสำคัญของข้อมูลส่วนตัวและภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากข้อมูลส่วนตัวนั้นหลุดไป รวมถึงการละเมิดทางเพศและแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเยาวชน ป้องกันอย่างไรและมีกฎหมายใดที่เกี่ยวข้อง

2. กลุ่มวิชาเพิ่มเติมทักษะเฉพาะด้าน (Technical Courses) 

5  วิชาที่มาพร้อมกับความน่าสนใจและความสนุกที่จะมาช่วยอัพสกิลทางเทคนิคเฉพาะด้านให้แก่เด็ก ๆ เช่น 

  • AI Fake Content การเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Artificial Intelligence ในการตรวจสอบข้อมูลเท็จ ตรวจสอบรูปหรือวิดิโอปลอม หาว่าผู้ใช้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ดังนั้นนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัววิชาที่น่าสนใจในการเสริมการป้องกัน Fake News ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโลกออนไลน์ในยุคที่ข่าวสารนั้นแพร่หลายได้อย่างรวดเร็ว

  • Chatbot แน่นอนว่า Chatbot นั้นถูกนำเข้ามาใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายภาคส่วนในปัจจุบัน ซึ่งวิชา Chatbot นี้ก็จะมาให้ความรู้ให้เยาวชนในเรื่องการสร้าง AI Chatbot การออกแบบและวางรูปแบบการสนทนา รวมถึงแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกัลแพลตฟอร์มที่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ 

  • Board Game Development หรือวิชาสร้าง Board Game การออกแบบและวางรูปแบบเกมส์ให้น่าดึงดูด น่าสนใจ และให้ความรู้ไปพร้อม ๆ กัน และยังมีการให้ความรู้ในเรื่องการผลิตและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่าง ๆ สำหรับการทำบอร์ดเกม

  • Storytelling & Content Creator จากการสำรวจพบว่าเยาวชนนั้นมีการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบน Facebook หรือ Twitter ซึ่งเยาวชนก็ได้เสพสื่อ Online Content มากมายจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ ดังนั้นวิชานี้จะมาปรับเปลี่ยนหน้าที่ของเด็ก ๆ จาก ‘ผู้เสพคอนเทนต์’ มาเป็น ‘ผู้สร้างคอนเทนต์’ แทน ซึ่งจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้าง Online Content การหาประเด็นที่น่าสนใจ และวิธีในการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

  • Data Visualisation ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของข้อมูล และการเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้เป็นภาพให้เกิดความน่าสนใจและน่าดึงดูด

ซึ่งวิชาเหล่านี้จะไม่แค่แต่ให้ความรู้ให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนไทย แต่ยังให้แรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ นั้นนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ และนำไปค้นคว้าศึกษาต่อได้ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรที่เหมาะกับเด็กในยุคดิจิทัลอย่างมาก

ตัวอย่างการต่อยอดความรู้จากหลักสูตร YSLC

แน่นอนว่าการเรียนรู้หลักสูตรของ YSLC จาก ดีแทค นั้นได้รับการตอบรับจากเด็ก ๆ อย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะเป็นตัววิชาที่น่าสนใจ น่าดึงดูด และสามารถนำไปใช้ได้จริง ดังนั้นเรามาดูตัวอย่างของเยาวชนไทยที่เคยได้เข้าร่วมเรียนรู้จากโครงการว่าพวกเขานั้นสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในการช่วยแก้ไขปัญหาในสังคมอย่างไรบ้าง

ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการผสมผสานทั้ง 3 องค์ความรู้ เรื่องของภัยออนไลน์ การเรียนรู้ตัวทักษะเฉพาะด้าน ร่วมกันการทำโครงงานขึ้นมา คือ โครงการ เข้าใจคนแกล้งและคนถูกแกล้งผ่าน “การ์ดเกม” ที่ถูกคิดขึ้นโดยทีม Good Net Good Life จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยลัย ที่ได้ผสมผสาน ‘เกม’ เข้ากับการแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่น่าสนใจในการกระจายความรู้และความเข้าใจในเรื่องของ ‘Cyberbullying’ ได้ดีทีเดียว ซึ่งทางทีมได้เห็นความสำคัญของ ‘วิธีการ’ ที่จะเพิ่มความสนุกและน่าดึงดูดให้หลาย ๆ คนนั้นหันมาสนใจ ซึ่งสิ่งที่น้องได้มาหลังการระดมความคิดก็คือการทำออกมาในรูปแบบของการ์ดเกม

“สิ่งแรกที่เราทำเป็นการกำหนดคอนเซปต์ของการ์ดเกม ออกแบบให้ผู้เล่นสามารถรับบทบาทเป็นได้ทั้งคนแกล้งและคนถูกแกล้ง เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าใจความรู้สึกของทั้งสองฝ่าย การ์ดเกมจึงประกอบไปด้วยการ์ดคำถาม การ์ความรู้สึก และการ์ดรูปภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นเปิดอกอธิบายความในใจเมื่อโดนกลั่นแกล้ง ซึ่งมีหลากหลายความรู้สึก ทั้งอายมาก เสียใจ เมื่อเพื่อน ๆ ที่ร่วมเล่นในวงได้ฟังจึงเข้าใจมากขึ้นว่าการกลั่นแกล้งนั้นไม่ดีอย่างไร”

นี่ก็เป็นตัวอย่างของโครงการที่ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรมาผสมผสานกันให้เกิดประโยชน์และสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมสู่ทางที่ดียิ่งขึ้น ที่ถึงแม้ว่าค่ายอาจจะจบไปแต่ความรู้และภาวะผู้นำที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า

สำหรับเยาวชนที่พลาดการสมัครค่ายออนไลน์รอบที่ผ่านมาก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะในวันที่ 2 มิ.ย. 63 นี้ ดีแทค ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึง “ห้องเรียนเด็กล้ำ” อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้พัฒนาความรู้และความสามารถทางดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัด 

พบกับหลักสูตรที่ไม่มีในห้องเรียนแต่มีในโลกชีวิตจริง ได้ที่: https://learn.safeinternet.camp 

#dtacSafeInternet #ห้องเรียนเด็กล้ำ

บทความนี้เป็น Advertorial



No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดตัว ChatGPT Shopping! ฟีเจอร์ใหม่ชอปปิงในแชทจาก OpenAI ท้าชน Google

เปิดโลกชอปปิงใหม่! OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ ChatGPT Shopping ใน ChatGPT ท้าทาย Google ด้วยประสบการณ์ชอปปิงออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็ว เพียงแค่แชท ก็สามารถค้นหาและซื้อสินค้าทุกอย่างที่คุณต...

Responsive image

เริ่มแล้ว! Amazon ส่งดาวเทียมชุดแรกสู่อวกาศ หวังชิงตลาด Starlink ของ Elon Musk

โปรเจกต์ Kuiper ถือเป็นความพยายามครั้งใหญ่ของ Amazon ในการสร้างเครือข่ายดาวเทียมสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Starlink ของ Elon Musk ปัจจุบันมีดาวเที...

Responsive image

เปิดตัว Biomass ดาวเทียมช่วยวัดคาร์บอนในป่าแม้มีเมฆบัง

ดาวเทียม Biomass ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจสำคัญ นั่นคือการ 'มองทะลุเมฆและยอดต้นไม้' เพื่อวัดว่าต้นไม้สามารถกักเก็บคาร์บอนในป่าได้มากแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจบทบาทของป่าไม้ในการ...