อย่างที่เราทราบกันดีว่า ไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรด้านการเกษตร ทั้งผลิตอาหารส่งออกจำนวนมาก โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 13 ของผู้ส่งออกอาหารทั่วโลก ซึ่ง EATLAB บริษัท Startup ด้าน FoodTech ได้มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในด้านอาหาร โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) และเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ เช่นเดียวกับ IBM Chef Watson ในการช่วยผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทย
EATLAB เป็น IBM Chef Watson ที่สามารถประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจากข้อมูลพฤติกรรม และส่งข้อเสนอแนะไปยังผู้ผลิตอาหาร ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของ ผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น บริษัทนี้ก่อตั้งโดย ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ ซึ่งได้รับปริญญาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) และปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
EATLAB คือ แพลตฟอร์มที่ใช้ Artificial Intelligence เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยใช้ ข้อมูลปริมาณมาก รวมไปถึงข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อรวบรวมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตอาหาร สามารถนำมาพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ผลิตมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น นอกจากนี้ หากผู้พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องการเผยแพร่สูตรอาหารที่สำเร็จแล้ว EATLAB สามารถช่วยทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ที่สนใจซื้อ หรือแฟรนไชส์สูตรอีกด้วย
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 13 ของผู้ส่งออกอาหารทั่วโลก เนื่องจากมีทรัพยากรการเกษตรและความสามารถในการพัฒนาสูตรอาหารได้หลากหลาย ส่งผลให้ศักยภาพการส่งออกอาหารมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 9 แสนล้านบาท บ่อยครั้งเราจะเห็นสูตรอาหารใหม่ ๆ ถูกคิดค้นขึ้นและเผยแพร่ออกมา ซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายและรวดเร็ว ผู้ผลิตอาหารต้องทำความเข้าใจความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หลังจาก ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ จบการศึกษาปริญญาเอกจาก MIT ด้านการวิเคราะห์ระบบซับซ้อน (Complex Systems) ได้เล็งเห็นถึงความหลากหลายของอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย โดยผสมผสานสิ่งที่ดีที่สุดของ 2 ประเทศ นั่นคือเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เธอสร้างจาก MIT และทรัพยากรการเกษตรและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย เธอคิดว่า สิ่งนี้จะยกระดับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยให้สูงขึ้นได้มาก ดร.ชนิกานต์ได้เริ่มทำงานวิจัยที่ปัจจุบันกลายมาเป็น EATLAB ตั้งแต่ปี 2014 และประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบในปี 2015 หลังจากนั้นก็การพัฒนาอย่าต่อเนื่อง จนมีความแม่นยำที่เกินกว่าวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งหมด สิ่งที่พิเศษยิ่งกว่า คือการนำเทคโนโลยี blockchain มาเก็บข้อมูลของ EATLAB ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถทราบถึงคุณภาพของส่วนประกอบอาหาร ความพึงพอใจ และสุขภาวะของผู้บริโภคได้
EATLAB ได้รับการสนับสนุนและบ่มเพาะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยแนวหน้าของการสร้าง tech สตาร์อัพจากงานวิจัยและองค์ความรู้ โดยจะเปิดทำการในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2018 ในรูปแบบร้านอาหารแห่งอนาคต
ดร.ชนิกานต์ ผู้ก่อตั้ง EATLAB ได้ใช้ความรู้จาก MIT และพัฒนาอัลกอริธึมที่คาดการณ์การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ด้วยความแม่นยำที่สูงกว่าวิธีการทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้ AI และการสร้างแบบจำลองของระบบซับซ้อน (Complex System Models) มีโต๊ะอาหาร และการตกแต่งที่ถุกออกแบบมาให้ EATLAB สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ ปัจจุบัน EATLAB มีบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ บริษัท เบทาโกร และเครือข่ายด้านศาสตร์ทางประสาทสัมผัสและการวิจัยผู้บริโภคแห่งประเทศไทย เป็น Partners ที่สำคัญ
EATLAB จะเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิตอาหารในประเทศไทย ผู้ผลิตอาหารข้างทาง (Street Food) ที่ใช้บริการ EATLAB สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นสองเท่า ภายในเวลาเพียง 6 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ครอบครัวมีรายได้ที่เพียงพอ และสามารถส่งลูกไปเรียนหนังสือได้ได้โดยไม่ต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน
สถิติประมาณการณ์ของ UNESCO แสดงให้เห็นว่าในปี 2015 เด็กไทยที่มีอายุระหว่าง 7-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 14 หรือ 1.4 ล้านคน ที่ทำงานและเรียนหนังสือควบคู่กันไปด้วย เพื่อหารายได้มาจุนเจือด้านการศึกษาและค่าใช้จ่ายในครอบครัว EATLAB เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้พ่อแม่ของพวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้มีโอกาสเรียนหนังสือได้อย่างเต็มที่ คุณคิดว่ามีเด็กสักกี่คนที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้?
Street Food ในประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 2 แสนล้านบาท EATLAB มีเป็น Startup ที่มีศักยภาพสูงที่จะผลักดันประเทศไทยจากอุตสาหกรรมอาหารไทยในประเทศไปสู่ระดับโลก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด