‘Echo Chamber’ เมื่อโลกนั้นแคบกว่าที่เราคิด | Techsauce

‘Echo Chamber’ เมื่อโลกนั้นแคบกว่าที่เราคิด

เวลาเราโพสต์ในโซเชียลมีเดียกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ก็มักจะเจอคนที่เห็นด้วยกับเราหรือขอไปแชร์ต่อ ระหว่างที่เล่นโซเชียลอยู่ดี ๆ ก็ปรากฎโฆษณาสินค้าและบริการ ที่รู้สึกว่าของมันต้องมีและอยากได้มานาน ครั้นพอย้ายเข้าไป Netflix ดูซีรีส์เกาหลีเรื่องนึงจบ เรื่องต่อไปที่โปรแกรมแนะนำต่างก็มีแต่เรื่องที่เราอยากดูทั้งนั้น แต่พอตัดมาที่ในโลกแห่งความจริง เรากลับไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมความคิดของเราที่คิดว่าเจ๋งและเพื่อนชอบในโซเชียล กลับไม่เป็นที่ยอมรับในที่ทำงาน ทำไมคนคนนั้นคนถึงชื่นชอบกันเยอะ แต่แนวคิดเขากลับไม่ถูกใจเราเลยซักนิด หรือแม้กระทั่งวงที่เราชื่นชอบและคิดว่าดังเป็นพลุแตก กลับไม่ได้รับความนิยมขนาดนั้น แล้วโลกโซเชียลมีเดียที่เห็นนั้นคืออะไรกันแน่ ข้อมูลที่เราได้รับนั้นมันถึงกลับตาลปัตร หรือแท้จริงแล้ว เราติดอยู่ในฟองสบู่ที่เรียกว่า Echo Chamber กันนะ

Echo chamber: ห้องสะท้อนเสียงตัวเอง

พจนานุกรมชื่อดังอย่าง Cambridge ได้ให้ความหมายของคำว่า Echo Chamber ว่าเป็นพื้นที่แห่งเสียงสะท้อน หรือความหมายโดยนัยคือ สถานการณ์ที่คนจะได้ยินแต่ความคิดเห็นแบบเดียวกัน 

ปรากฎการณ์ Echo Chamber ไม่ได้มีแค่ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาเราอยู่ในครอบครัว เผชิญกับสังคมที่โรงเรียน หรืออาศัยอยู่ในชุมชน เราอาจคุ้นชินกับพ่อแม่ที่เปิดทีวีช่องเดียวมาตั้งแต่ยังเล็ก เวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ชอบเรียนเลขมาหลายปี หรืออาศัยอยู่ในชุมชนที่เชื่อในการดูดวง ที่ทั้งหมดนี้เองได้หล่อหลอมความคิดเราจนเริ่มซึมซับความคิดเห็นหรือความจริงเพียงด้านเดียวมาอย่างไม่ทันตั้งตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ เราก็ถูกบังคับเจอความคิดเห็นที่หลากหลายขึ้นและทำให้เราออกจาก echo chamber ได้ในที่สุด 

‘โซเชียลมีเดีย’ Echo Chamber ที่ครอบงำความคิดจนกู่ไม่กลับ

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คนหันมาเริ่มโซเชียลมีเดียกันจนติดหนึบมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากจะมาจากสาเหตุที่ว่าเราได้ติดต่อกับคนใหม่ ๆ เพื่อนเก่าที่ไม่เคยเจอกันมานาน หรือคนที่มีความสนใจตรงกันแล้ว เรายังได้เสาะหาโอกาสใหม่ ๆ ทางการงาน เพิ่มช่องทางการขายสินค้าและบริการจนติดอันดับขายดี 

ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ก็ได้สร้างฟองสบู่พื้นที่เสียงสะท้อนขนาดใหญ่ และทำให้คนตกหล่มในความคิดนั้น ๆ จนออกมาได้ยาก เพราะแต่ละแพลตฟอร์ม ก็มีเครื่องมือทางเทคโนโลยีและอัลกอริทึมที่ช่วยคัดกรองเนื้อหาที่เราสนใจและชื่นชอบ หรือความคิดเห็นที่ยืนยันว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นคือความถูกต้อง ต่อให้ในความเป็นจริงจะไม่สมเหตุสมผลก็ตาม ในจุดนี้เองจึงไม่แปลกใจเลยที่เราจะชอบโซเชียลมีเดียเพราะเป็นที่ ๆ เราได้รับการยอมรับจากคนในคอมมูนิตี้ ไม่รู้สึกแปลกแยกจากสังคมนั่นเอง  

นอกเหนือจากนี้ เมื่อเราเผชิญกับคนที่คิดเห็นต่าง โซเชียลมีเดียก็มีเครื่องมือที่ขจัดความคิดเห็นต่างออกไป เช่น Facebook ทำให้เราสามารถลบเพื่อนที่ไม่ชอบออกผ่านฟีเจอร์ unfriend หรือ unfollow ส่วน Twitter อนุญาตให้เราลบเนื้อหาที่ไม่เห็นด้วยผ่านฟีเจอร์ mute

แล้วพอเรารับความคิดเห็นแบบเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือหลักการคิดแบบมีเหตุผลของเราจะค่อย ๆ เลือนหายไป หรือที่เรียกว่า Cognitive Bias ความคิดเราจะจำกัดมากขึ้น เต็มไปด้วยอคติ คล้อยตามกลุ่มคนจำนวนมาก จนไปถึงรับไม่ได้เมื่อมีคนคิดเห็นต่างจากเรา 

ในระยะสั้นอาจดูไม่น่ากลัวเท่าไร แต่ผลสำรวจจากมหาวิทยาลัย Alberta ในประเทศแคนาดานั้นพบว่า Echo Chamber ในโซเชียลมีเดีย สามารถสร้างความเกลียดชังในสังคมได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ดังที่เห็นได้จากกรณีกลุ่มคนสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อความไม่สงบในอาคารรัฐสภาของสหรัฐจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง เหตุเพราะว่าทรัมป์กล่าวใน Twitter ให้ออกมาต่อต้านผลการเลือกตั้งเพียงทวิตเดียว

เราจะออกจาก Echo Chamber ได้อย่างไร ?

อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องพึ่งพาโซเชียลมีเดียเป็นหนึ่งในช่องทางติดต่อ และหาข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ก็ย่อมหนีไม่พ้นห้อง Echo chamber อยู่ดี แล้วจะทำอย่างไรให้เราไม่ตกในหล่มความคิดที่เต็มไปด้วยอคติ ?

ประการแรก เราต้องรับรู้ก่อนว่าข้อมูลทุกประเภทของโซเชียลมีเดียนั้นอาจไม่ถูกต้องไปทั้งหมด ทุก ๆ ครั้งที่เลื่อนอ่านเนื้อหาในไทม์ไลน์ ก็ควรคำนึงด้วยว่าเนื้อหานั้นใครเป็นคนโพสต์ ภาษาที่เขาใช้เน้นเหตุผลหรืออารมณ์ ที่มาน่าเชื่อถือเพียงใด จากนั้นค่อยตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่ ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือลองเปลี่ยนไปดูเนื้อหาที่เราไม่ชอบบ้าง แล้วเปิดใจว่าสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อคืออะไร และสำคัญไปกว่านั้น ลองเปลี่ยนมาอยู่ในโลกแห่งความจริงบ่อยครั้งขึ้น อาจเริ่มจากการเข้าสังคมใหม่ หรือเลือกไปฟังเสวนาที่หลากหลาย อาจช่วยให้เราเริ่มคิดเป็นเหตุเป็นผล และตัดสินใจโดยปราศจากอคติได้ 

ข้อมูลจาก theringer ,wirednytimes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Krungthai COMPASS คาด ปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญของไทย แม้ GDP จะโตขึ้น มี 5 เรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ออกรายงานประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2568 โดยคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตขึ้น 2.7% จากปัจจัยด้านการลงทุนของภาคเอกชน มาตรการของรัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวที่กำลังจะกลั...

Responsive image

UK AI Week 2025 in Bangkok ปฏิวัติทางเทคโนโลยี สู่โอกาสแห่งอนาคต

งาน UK AI Week 2025 in Bangkok งานที่สำคัญในครั้งนี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งการแบ่งปันความรู้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวบรวมผู้นำทางความคิดจากทั้งสองประเทศ ทั้งนักวิจัย นักนวัตกร...

Responsive image

Apple เตรียมเปิดตัว iPhone Air บางเฉียบกว่าที่เคย พร้อมเทคโนโลยีแห่งอนาคต คาดเปิดตัวปลายปีนี้

ลือ iPhone Air มาแน่! iPhone เตรียมเปิดตัว iPhone รุ่นบางเฉียบในชื่อ iPhone 17 Air ที่จะเป็นการวางรากฐานและการทดสอบเทคโนโลยีสำคัญที่จะนำไปสู่อนาคตของ Apple...