Krungthai COMPASS คาด ปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญของไทย แม้ GDP จะโตขึ้น มี 5 เรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว | Techsauce

Krungthai COMPASS คาด ปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญของไทย แม้ GDP จะโตขึ้น มี 5 เรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ออกรายงานประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2568 โดยคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตขึ้น 2.7% จากปัจจัยด้านการลงทุนของภาคเอกชน มาตรการของรัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวที่กำลังจะกลับมาบูมอีกครั้ง 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยข้อมูลของศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ระดับ 2.7% จากแรงกดดันของสงครามการค้าที่กลับมาเร่งตัว ซึ่งถือว่าชะลอตัวลงจากปีก่อน 

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าที่ดุเดือดขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ทำให้ภาคการส่งออกของไทยอาจโตแค่ 2% โดยในช่วงครึ่งปีหลังไทยจะเจอแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และสินค้าล้นตลาดของประเทศจีน

ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว จะเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจะกลับมามีจำนวน 39 ล้านคนใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิด-19 เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่จะกลับมาขยายตัวจากแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจแห่งอนาคต

ส่วนทางฝั่งของภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนบับสนุนเศรษฐกิจ ด้วยมาตรการที่ทยอยดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปีทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 2 และเฟส 3 รวมถึงมาตรการ Easy E-receipt

อย่างไรก็ดี Krungthai COMPASS มองว่าปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญ (Inflection Point) ของเศรษฐกิจไทย โดยมี 5 ความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน ได้แก่

1.สงครามการค้ารอบใหม่ : สินค้าส่งออกไทยที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงเสี่ยงได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรมที่อาจถูกเก็บภาษีนำเข้า 40%-60%

2.เศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ : คิดเป็นสัดส่วนราว 48% ของ GDP ทำให้จำเป็นต้องเร่งผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบมากขึ้น 

3.อุตสาหกรรมยานยนต์ภายใต้ Perfect Storm : รถยนต์สันดาปกลับไปสู่ยุครุ่งเรืองยาก ยอดผลิตรถยนต์ของไทยช่วงปี 2568-69 อาจอยู่ที่ 1.47-1.53 ล้านคัน/ปี ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต 15% ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังการซื้อที่น้อยลง กระแส EV ที่มาแรง และการแข่งขันด้านราคา

4.การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ (Man-made Destination) : ไทยต้องดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ และเพิ่มรายได้ให้สะพัดมากขึ้น โดยคาดว่า Man-made Destination ของไทยในปี 2588 จะอยู่ที่ราว 58,300 บท/คน/mริป 

5.การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่รั้งเศรษฐกิจไทย : เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับสูง หนี้ครัวเรือนที่เมื่อรวมกับหนี้นอกระบบแล้วสูงถึง 104% ของ GDP พร้อมกับต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้กระกอบการให้ทันต่อกระแสโลก และลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

UK AI Week 2025 in Bangkok ปฏิวัติทางเทคโนโลยี สู่โอกาสแห่งอนาคต

งาน UK AI Week 2025 in Bangkok งานที่สำคัญในครั้งนี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งการแบ่งปันความรู้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวบรวมผู้นำทางความคิดจากทั้งสองประเทศ ทั้งนักวิจัย นักนวัตกร...

Responsive image

Apple เตรียมเปิดตัว iPhone Air บางเฉียบกว่าที่เคย พร้อมเทคโนโลยีแห่งอนาคต คาดเปิดตัวปลายปีนี้

ลือ iPhone Air มาแน่! iPhone เตรียมเปิดตัว iPhone รุ่นบางเฉียบในชื่อ iPhone 17 Air ที่จะเป็นการวางรากฐานและการทดสอบเทคโนโลยีสำคัญที่จะนำไปสู่อนาคตของ Apple...

Responsive image

Gartner คาดการณ์ความท้าทายองค์กรยุค AI พนักงานอาจเจอปัญหาเสพติดดิจิทัล โครงสร้างองค์กรอาจเปลี่ยนไป

Gartner บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เผยการคาดการณ์กลยุทธ์สำคัญสำหรับปี 2025 โดยชี้ให้เห็นว่า Generative AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงา...