หมดยุคเล่นเกมแล้วหมดอนาคต นายจ้างยุคใหม่เลือกจ้างเซียนเกม เพราะมี Skills ที่ต้องการ | Techsauce

หมดยุคเล่นเกมแล้วหมดอนาคต นายจ้างยุคใหม่เลือกจ้างเซียนเกม เพราะมี Skills ที่ต้องการ

การเล่นเกมที่ใคร ๆ ก็มองว่าเสียเวลา! สู่ทักษะที่กำลังเป็นต้องการของนายจ้าง จากการศึกษาของ Manpower พบว่าทักษะจากเกมเป็นความสามารถที่ไม่สามารถฝึกฝนได้ง่าย และบริษัทต้องการตัวเซียนเกมเหล่านี้ด้วย 

มุมมองที่เปลี่ยนไปในอุตสาหกรรมเกมในยุคปัจจุบัน

มุมมองต่ออุตสาหกรรมเกมได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญในปัจจุบัน ในอดีตเกมมักถูกมองว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่น่าจับตามอง เสียเวลา และไม่มีความประโยชน์ทางอาชีพ แต่ในปัจจุบันเกมมีการพัฒนามากขึ้นและมีผู้เล่นมากถึง 2.5 พันล้านคนทั่วโลก เกมสามารถสร้างรายได้ผ่านการสตรีม การแข่งขันกีฬา E-sport รวมถึงช่องทางอื่น ๆ

อีกทั้งสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานคุณภาพได้ส่งผลให้บริบทของวงการเกมเปลี่ยนไปมากขึ้น องค์กรเริ่มรับรู้ถึงทักษะที่มีค่าของเกมเมอร์ที่มักถูกมองข้าม ซึ่งเป็นโอกาสที่ ManpowerGroup ได้เห็นและศึกษาประโยชน์จากนั้น ใช้ประโยชน์จากทักษะที่เหล่าเกมเมอร์ฝึกฝนมา นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน สร้างโอกาสให้กับเกมเมอร์เชื่อมโยงทักษะของพวกเขาเข้ากับตลาดแรงงาน

เพราะอะไรบริษัทถึงต้องมองหาเซียนเกมเข้าทำงาน?

ใครจะไปคาดคิดว่าทักษะที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างเช่น การถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดทางอารมณ์ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และทักษะการสื่อสารความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถพัฒนาได้จากการเล่นเกม 

นายจ้าง 43% กล่าวว่าการสอนทักษะที่พวกเขากำลังมองหานั้นยากกว่ามาก ดังนั้นการเลือกพนักงานจากเหล่าเซียนเกมจึงตอบโจทย์กว่า 

ทักษะอะไรบ้างที่นายจ้างต้องจับตามองจากเกมเมอร์ ?

จากผลการศึกษาของ ManpowerGroup หรือบริษัทจัดหาทรัพยากรมนุษย์ชั้นนำของโลก ในหัวข้อ ‘Game To Work’ ผ่านการวิเคราะห์เกมกว่า 11,000 เกม ใน 13 ประเภท สามารถแบ่งกลุ่มเกมและทักษะที่ได้ดังนี้

  • หมวดกลยุทธ์ ปริศนา บททดสอบ เช่น StarCraft, League of Legends ผู้เล่นจะพัฒนาทักษะการตัดสินใจ การวางแผน สมาธิ ซึ่งพัฒนาไปสู่ทักษะที่สามารถปรับใช้ในการทำงานได้แก่ Critical thinking ทักษะการแก้ปัญหาและคิดอย่างเป็นระบบ
  • หมวดแอ็คชั่น-ผจญภัยและ Role Play เช่น World of Warcraft, Assassin's Creed, Pokémon ผู้เล่นจะพัฒนาทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
  • หมวด Open world หรือเกมแบบไม่กำหนดจุดเริ่มและสิ้นสุด ให้อิสระในการเล่นสูง เช่น Minecraft ผู้เล่นจะได้พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะมิติสัมพันธ์ 
  • หมวด Team-Play กีฬาและการแข่งรถ เช่น FIFA, Rocket League และ Mario Kart ผู้เล่นจะพัฒนาทักษะการวางแผน กลยุทธ์ ลูกเล่น รวมถึงทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • หมวดเกมอินดี้และเกมเพลง เช่น Mario Party, Just Dance, และ Rock Band ถึงแม้จะไม่ได้ท้าทายเหมือนกับเกมประเภทอื่น ๆ แต่ก็ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ การฝึกฝน เผื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการเล่นครั้งต่อไป

ปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์หลายบริษัทมีการพิจารณาพนักงานจากทักษะเกมในเรซูเม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทอีคอมเมิร์ซชื่อ Komplett รับพนักงานเกมเมอร์ในฝ่ายบริการลูกค้า Daniel Hauan ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของ Komplett ให้เหตุผลว่า “เกมเมอร์พัฒนาทักษะสำหรับอีคอมเมิร์ซได้ดี เช่น ทักษะด้านไอทีและทักษะการทำงานร่วมกัน” 

การเล่นเกมอาจจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเตรียมตัวสำหรับอนาคตที่ท้าทายของคนรุ่นใหม่ที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี เป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่สามารถสร้างคุณค่าและพัฒนาทักษะที่เหมาะสมและสามารถนำมาใช้ในการทำงานในอนาคตได้

อ้างอิง: manpowergroup, forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...

Responsive image

Tencent จับมือ Visa เปิดตัวระบบชำระเงินด้วยฝ่ามือ (Palm Payment) ในสิงคโปร์

Tencent ประกาศความร่วมมือกับ Visa เพื่อเปิดตัวระบบจ่ายเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจดจำฝ่ามือ โดยเริ่มให้บริการในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก...