SMEs ท่องเที่ยวไทยจะเดินหน้าต่ออย่างไร เมื่อการแข่งขันในยุคใหม่ต้องอาศัยเทคโนโลยี | Techsauce

SMEs ท่องเที่ยวไทยจะเดินหน้าต่ออย่างไร เมื่อการแข่งขันในยุคใหม่ต้องอาศัยเทคโนโลยี

“การท่องเที่ยวไทย” ถือเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปี 2562 ประเทศมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวสูงถึง 3.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17.8% ของผลิตฑ์มวลรวมของไทย (GDP) แต่ในวันที่ต้องเผชิญกับวิกฤตของการแพร่ระบาด ในปี 2563 การท่องเที่ยวกลับต้องชะงัก รายได้ลดลงกว่า 70.8% จากปีที่ผ่านมา เหลือแค่ 8.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 5.65% ของ GDP   และรุนแรงมากขึ้น ในปี 2564 ที่รายได้ลดลง เหลือเพียง  3.56 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.20% ของ GDP เท่านั้น 

ดังนั้น การจะเร่งสปีดให้ภาคการท่องเที่ยวไทย กลับไป “อยู่ในจุดเดิม หรือ ดีกว่าเดิม” จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นท้าทายที่วันนี้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างต้องหันมามองและร่วมเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน ผ่านการดำเนินงานที่บูรณาการเพื่อเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวไทยสามารถฟื้นตัวและไปต่อได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของเงินทุนต่างๆ  การพัฒนาทักษะให้ความรู้ และจัดหาเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่เป็นกลุ่มหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการทำงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ทันและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นต้น

ภาคการท่องเที่ยวไทย ยังเจอปัญหา 

แม้ว่าวันนี้สถานการณ์วิกฤตเริ่มคลี่คลาย การท่องเที่ยวไทยเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน จนทำให้ปี 2566 ต่างคาดการณ์ว่า การท่องเที่ยวไทย จะกลับมาสร้างรายได้ให้ประเทศ ไม่น้อยกว่า 2.38 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว แต่ในมุมกลับกัน ในวันที่ดูเหมือนว่า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย เริ่มคุ้นชินและปรับตัว สามารถดำเนินธุรกิจไปต่อได้บ้างแล้วนั้น ในความเป็นจริงแล้วผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs ของภาคการท่องเที่ยวต่างก็กำลังเผชิญกับปัญหาที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง เพราะจากการสำรวจ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และ เทคซอส มีเดีย ที่ลงพื้นสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ภาคการท่องเที่ยว พบว่า ปัญหาหลักๆ ที่ผู้ประกอบการต้องเจอ มีดังนี้ 

  • ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า ปัญหาสุดคลาสสิค

นอกจากการแข่งขันกันด้วยราคาที่ใครต่ำสุดคือผู้ชนะ ครองใจผู้บริโภค ที่ทำให้เป็นอุปสรรคจนทำให้รายได้ที่เคยเฟื่องฟูของหลายธุรกิจ อย่าง ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว เป็นต้น กลับต้องหดหายลงแล้ว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมนี้ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนเครื่องมือที่ทันสมัย ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมในการทำการตลาด ทั้งที่วันนี้ ได้มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาตอบโจทย์และเข้ามาช่วยในการทำงานและการทำธุรกิจในหลายเรื่องและหลากหลาย แต่พวกเขาก็ยังไม่แน่ใจว่า เทคโนโลยี หรือ เครื่องมือแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจ ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้กับพวกเขามากที่สุด 

  • ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ตรงตามความต้องการ

การหาคนที่ใช่ เหมาะสมกับงานที่ทำถือเป็นอีกปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเจอ เพราะการที่จะดำเนินงานสรรหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งในเรื่องของการมีใจรักในงานบริการ มีความรู้ความสามารถด้านภาษา และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมตรงตามที่แต่ละบริษัทต้องการนั้น เป็นไปได้ยาก ขณะที่บุคลากรที่มีคุณภาพ เก่งๆ และมีความสามารถก็เกิดการลาออก ย้ายงานอย่างต่อเนื่อง (Turnover rate) สาเหตุสำคัญ นอกจากการแย่งซื้อตัวของกลุ่มบริษัทคู่แข่งที่มีกำลังจ่ายสูงแล้ว การขาดระบบหรือเครื่องมือที่เข้ามาช่วยบริหารงานภายในองค์กร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรและสร้างแรงจูงใจในการทำงาน รักษาความสัมพันธ์ให้บุคลากรทำงานอยู่กับองค์กรได้นานขึ้น ก็เป็นอีกข้อจำกัดที่พวกเขากำลังเผชิญ

  • ขาดเครื่องมือ ระบบที่เข้ามาช่วยในการปรับตัวให้ทันต่อการแข่งขัน

นอกจาก 2 ปัญหาข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบการ SMEs จุดปัญหาร่วมที่เราพบคือ ผู้ประกอบการ SMEs ภาคการท่องเที่ยวยังขาดเครื่องมือ ระบบ เทคโนโลยีดิจิทัล ที่เข้ามาช่วยในการสร้างศักยภาพและยกระดับการทำงาน ตลอดจนการทำธุรกิจ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้านการตลาดและการบริหารภายในองค์กร รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้าเก่าและดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ไปพร้อมๆ กับการบริหารงานภายในที่ดีขององค์กร


ETDA ชวน Service Provider ร่วมแก้ปัญหา SMEs ท่องเที่ยว 

ETDA  ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยเกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มั่นคงปลอดภัย เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาชีวิตให้พร้อมรองรับโลกอนาคตอย่างมั่นใจ จึงร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกสาร รวมกว่า 15 หน่วยงาน อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) The Finlab powered by UOB Amazon Web Services (Thailand) และ เทคซอส มีเดีย จัดกิจกรรม “HACK for GROWTH” ภายใต้แนวคิด  Make a Chance to Grow Together” เปิดพื้นที่ให้ Startup, Service Provider, ผู้พัฒนานวัตกรรมหน้าใหม่ หรือคนที่มีของ มีนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ แพลตฟอร์มใหม่ ๆ หรือที่ถูกพัฒนามาจากของที่มีอยู่เดิม ได้มาร่วมแข่งขันประชันไอเดีย นำเสนอนวัตกรรม โซลูชัน เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ให้สามารถทรานส์ฟอร์มการทำงานและการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสู่การเติบโตกว่าที่เคยเป็น ชิงเงินรางวัล มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท พร้อมโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมและบริการดิจิทัลไปกับผู้เชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ 


ภายใต้โจทย์สุดท้าทายที่ตอบโจทย์ SMEs ท่องเที่ยวไทยโดยตรง ดังนี้ 

R1: Revenue Growing

นวัตกรรม โซลูชัน ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างยอดขายจากทรัพยากรที่มีอยู่ 

R2: Recruiting Better

นวัตกรรม โซลูชัน ที่จะช่วยสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถและตรงตามที่องค์กรต้องการ

R3: Retaining People Growth

นวัตกรรม โซลูชัน เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการวิธีการทำงานของทีมภายในองค์กร


คุณสมบัติผู้สมัคร  

  1. อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ อาชีพ ประสบการณ์ สัญชาติ/เชื้อชาติ ใดก็ได้
  2. พักอาศัยอยู่ประเทศไทยในระหว่างโครงการ
  3. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
  4. สมัครรูปแบบทีม 3-5 ท่าน โดย 1 ท่านมีชื่อเพียงทีมเดียวเท่านั้น
  5. นวัตกรรม โซลูชัน ที่สมัครเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนวัตกรรม โซลูชันใหม่ / ต่อยอดจากของเดิม / เป็นผู้คิดค้นด้วยตนเอง
  6. นวัตกรรม โซลูชันที่นำเสนอสอดคล้องกับโจทย์ที่ประกาศในโครงการ
  7. นวัตกรรม โซลูชันที่นำเสนอหรือองค์ประกอบ (ภาพ, เสียง, เนื้อหา) จะต้องเป็นผลงานที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น
  8. สามารถนำเสนอผลงานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้
  9. ยินดียอมรับผลการตัดสิน รวมถึงหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการตัดสินทุกประการ


เงื่อนไขและข้อตกลงในการเข้าร่วมกิจกรรม

  1. สมาชิกทีมอย่างน้อยทีมละ 3 ท่าน ต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ตลอดทั้งโครงการ
  2. ทีมที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะได้รับโอกาสในการทดสอบ Product Trial กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งกิจกรรม Networking เพื่อขยายเครือข่ายทางธุรกิจกับ Partner


รางวัลสำหรับทีมผู้ชนะ

- รางวัลชนะเลิศ: เงินรางวัล 500,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และประกาศนียบัตร

- รองชนะเลิศอันดับที่ 1: เงินรางวัล 250,000 พร้อมโล่รางวัล และประกาศนียบัตร

- รองชนะเลิศอันดับที่ 2: เงินรางวัล 100,000 พร้อมโล่รางวัล และประกาศนียบัตร 

- รางวัลขวัญใจกรรมการ 2 รางวัล รางวัลละ 75,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

ทีมผู้ชนะทั้ง 3 ทีม

- ได้โอกาสเข้าร่วมนำเสนอผลงาน (Pitching) บนเวที Tech Showcase ในงาน Techsauce Global Summit 2023

- ได้รับ AWS Credits จาก Amazon Web Services

รางวัลสำหรับทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ 20 ทีม

- ประกาศนียบัตร - ได้รับบัตรเข้าร่วมงาน Techsauce Global Summit 2023


ตารางการจัดกิจกรรม 

10 พ.ค. - 12 มิ.ย. 66 - เปิดรับสมัครทีมเข้าร่วมโครงการ 

19 มิ.ย. 66 - ประกาศรายชื่อ 40 ทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ

26 มิ.ย. 66 - กิจกรรม Open House 

26 และ 27 มิ.ย. 66 - กิจกรรม Workshop

29 มิ.ย. 66 และ 11 ก.ค. 66 - กิจกรรม Mentoring

4 ก.ค. 66 - กิจกรรม Online Pitching 

6 ก.ค. 66 - ประกาศรายชื่อ 20 ทีมที่ได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

19 ก.ค. 66 - งานแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 


เปิดรับสมัครร่วมกิจกรรมได้แล้วตั้งแต่ วันที่ 10 พฤษภาคม จนถึง 12 มิถุนายน 2566  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ : https://www.etda.or.th/th/hackforgowth

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ที่ เพจ ETDA Thailand: https://www.facebook.com/ETDA.Thailand  


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อัปเดต 2025 มัดรวม 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ขอใบขับขี่สากลผ่าน ‘เป๋าตัง’

ขอใบขับขี่สากลง่าย ๆ ปี 2025 แค่ 4 ขั้นตอนผ่านแอป ‘เป๋าตัง’ ไม่ต้องไปขนส่ง พร้อมเลือกอนุสัญญาและรอรับเอกสารถึงบ้าน สะดวก รวดเร็ว ใช้ขับรถต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง!...

Responsive image

ทำความรู้จัก Gen Beta ผู้ไม่รู้จัก ‘โลกในยุคไร้ AI’ เจนเนอเรชั่นกำเนิดใหม่ของปี 2025

เจเนอเรชัน Beta (Gen Beta) กำลังจะเป็นกลุ่มใหม่ที่เกิดในปี 2025-2039 พวกเขาเติบโตในโลกที่ AI และเทคโนโลยีเชื่อมโยงชีวิตอย่างสมบูรณ์ พร้อมรับมือกับความท้าทายระดับโลกและเน้นความยั่งย...

Responsive image

EU เริ่มกฎบังคับใช้พอร์ตชาร์จ USB-C ตั้งเป้าลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากที่สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้านการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการเคลื่อนไหวด้านกฎบังคับให้ใช้พอร์ตชาร์จเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์มาตั้งแต่ปี 2022 ล่าสุดกฎหมายดังกล่าว...