Fox จัดหนัก! ฟ้องธนาคารกรุงเทพ 2,500 ล้านบาท ไม่จ่ายแบงก์การันตี กรณี Grammy CTH ค้างจ่ายค่ารายการ | Techsauce

Fox จัดหนัก! ฟ้องธนาคารกรุงเทพ 2,500 ล้านบาท ไม่จ่ายแบงก์การันตี กรณี Grammy CTH ค้างจ่ายค่ารายการ

ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป เอเชีย (ฟ็อกซ์) ประกาศวันนี้ 14 ธ.ค 59 ได้ยื่นเรื่องต่อศาล  ที่ฮ่องกงและไทย ฟ้องธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงเทพ)กรณีม่จ่ายแบงก์ารันตีสำหรับค่าลิขสิทธ์การออกอากาศรายการของฟ็อกซ์ แทนบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (จีเอ็มเอ็ม) และบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (ซีทีเอช) ที่ยุติการให้บริการไปแล้ว

fox_networks_group

ฟ็อกซ์ได้ทำสัญญาให้สิทธิ์ในการออกอากาศรายการต่างๆ แก่จีเอ็มเอ็ม และซีทีเอช ตั้งแต่ปี 2556 โดยทั้งสองบริษัได้ค้างชำระค่าสิทธิ์การออกอากาศดังกล่าวเป็นมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท และต้องชำระดอกเบี้ยกรณีจ่ายล่าช้า ซึ่งธนาคารกรุงเทพเป็นผู้ออกแบงก์การันตีเพื่ค้ำประกันการชำระเงินให้กับจีเอ็มเอ็ม และซีทีเอช และตั้งแต่ปี 2558 นาคารกรุงเทพ ไม่ได้ทำตามสัญญาเพื่อจ่ายแบงก์การันตีแทน บริษัทดังกล่าวเลย       

ฟ็อกซ์ มีความผูกพันอย่างยาวนานต่ออุตสาหกรรมสื่อในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอรายการบันเทิง และรายการกีฬาระดับคุณภาพแก่ผู้ชมชาวไทย นายซูบิน กาเดเวียประธานบริษัท ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป ประจำภูมิภาพเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง กล่าว เรื่องนี้ทำให้เราผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศไทยผิดสัญญาในการจ่ายแบงก์การันตี ซึ่งารผิดสัญญาในครั้งนี้ไม่เพียงจะส่งผลต่อฟ็อกซ์เท่านั้น แต่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูง 

เมื่อ ปีที่แล้วคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เปิดประมูลใบอนุญาตการดำเนินกิจการทีวีดิจิทัล และสร้างรายได้ให้แก่รัฐกว่า 50,000 ล้านบาท โดยมีธนาคารกรุงเทพเป็นผู้ออกแบงก์การันตีรายใหญ่ที่สุดแก่ผู้ให้บริการทีวีดิจิทัลในประเทศไทย โดยออกแบงก์การันตีแก่ผู้ให้บริการจำนวน14 ราย จากทั้งหมด 24 ราย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท หรือราวร้อยละ 41 ของค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามผู้ชนะการประมูลต้องประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการซื้อขายเวลาโฆษณาชะลอตัว อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน อีกทั้งผู้ชมยังคงนิยมรับชมทีวีแบบอนาล็อก และเปลี่ยนมาดูทีวีแบบดิจิทัลในอัตราที่ต่ำอยู่มาก 

การยุติการให้บริการของทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ นับเป็นการทดสอบระบบของธนาคารไทย เนื่องจากส่งผลให้บรรดาเจ้าหนี้ขอให้ธนาคารหลักหลายแห่งในประเทศไทยต้องจ่ายแบงก์การันตีแก่คู่สัญญา และผู้ผลิตหลายราย 

ในช่วง ปีที่ผ่านมา การซื้อเวลาโฆษณาในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการซื้อเวลาโฆษณาผ่านช่องทีวีดิจิทัล ถือว่าต่ำมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 การซื้อเวลาโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล คิดป็นมูลค่าราว 9,000ล้านบาท ลดลงร้อยละ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การซื้อเวลาโฆษณาผ่านทีวีอนาล็อกลดลงร้อยละ 11 คิดเป็นมูลค่าราว 26,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง

ความน่าเชื่อถือของธนาคาร ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน แบงก์การันตีที่ออกโดยธนาคารถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เป็นพื้นฐานต่อทั้งระบบการเงินและการพาณิชย์ของประเทศ ดังนั้น การทำหน้าที่ผู้ค้ำประกันตามสัญญา ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นต่อธนาคารไทย การเพิกเฉยในการทำหน้าที่ดังกล่าว จึงถือเป็นความเสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือของธนาคารกรุงเทพเอง” นายกานเดเวีย กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ครั้งแรกของโลก! Moodeng AI Challenge 2025 การแข่งขันด้านการออกแบบ AI เชื่อมต่อมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ

Moodeng AI Challenge 2025 การแข่งขันระดับโลกที่ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ของนักพัฒนา AI เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์ สัตว์ และธรรมชาติเข้าด้วยกัน น...

Responsive image

SIAM.AI ใช้โครงสร้างไอทีของ DELL ติดอาวุธคนไทยเก่งปัญญาประดิษฐ์ 30,000 คนในปีเดียว

บริษัท สยาม เอไอ คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการ SIAM.AI Cloud ร่วมมือกับ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประเทศไทย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย...

Responsive image

SCB WEALTH ตอกย้ำลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เผยมุมมองเศรษฐกิจ-ลงทุน 2025 เตรียมพร้อมกลยุทธ์รับมือจากทีม Advisory ครบวงจร

SCB WEALTH นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่ครอบคลุมทุกมิติของ SCB WEALTH Holistic จัดงาน SCB WEALTH Holistic Experts ในหัวข้อ “Tomorrow’s Wealth: Key Investment Trends Defining 202...