FutureTales Lab ฉายภาพ 4 อนาคตที่เป็นไปได้กับ Metaverse | Techsauce

FutureTales Lab ฉายภาพ 4 อนาคตที่เป็นไปได้กับ Metaverse

ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาจัดตั้งโดย MQDC (FutureTales Lab by MQDC) สำหรับรวบรวม  วิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์อนาคต ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

“รวบรวม  วิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์อนาคต ทั้งหมดนี้อยู่ในกระบวนการของเราที่จะต้องตระหนักและรู้เท่าทันเกี่ยวกับแนวโน้มของเทคโนโลยีและผลกระทบที่อาจส่งผลต่ออนาคตของสรรพสิ่ง ดังนั้น เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ๆ และโลกเสมือนหรือ  metaverse เป็นหนึ่งในหลายงานวิจัยที่ศูนย์ฯให้ความสำคัญ”   

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales Lab by MQDC) กล่าวว่า วิวัฒนาการและนวัตกรรม เป็นส่วนหนึ่งของทุกอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจระบบนิเวศที่เราดำเนินการอยู่ “ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และความก้าวหน้านั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญคือต้องทำด้วยการคิดเชิงคาดการณ์อนาคต และใช้หลักคาดการณ์อนาคตที่เหมาะสม” 

การศึกษา metaverse ของศูนย์วิจัยทำให้มีรายงานออกมา 2 ฉบับ รายงานแรก ศูนย์วิจัยฯ ค้นพบสี่อนาคตที่เป็นไปได้ของ metaverse บนสมมติฐานของการกระจายอำนาจ(decentralization)  เมื่อจับคู่กับสองส่วนสำคัญของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รายงานที่สองคือการทดลองทางความคิดเรื่อง “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเมตาเวิร์สสามารถหักล้างทฤษฎีที่มีมายาวนานได้” รายงานนี้เป็นการชวนให้ทุกคนมาคิดและจินตนาการไปด้วยกันว่าการรวมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราในอนาคตข้างหน้าอย่างไร

ใน 'Metaverse Building Blocks: The Four Scenarios' รายงานของศูนย์วิจัยฯ ค้นพบสี่สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งสามารถเล่าออกมาเป็นภาพได้ดังนี้ 

สถานการณ์ที่ 1: ดินแดนแห่งความเท่าเทียม (Autonomous Arcadia) ดึงชื่อมาจากลักษณะการดำรงอยู่และการดำเนินงานที่เปิดกว้างและทำงานร่วมกันได้ ในอนาคต Virtuality ทำให้เกิดสังคมที่มีส่วนร่วม อนุญาตให้มีการผสมผสานระหว่างความเป็นจริง ทางกายภาพ และดิจิทัล ซึ่งสมาชิกทุกคนในสังคมเห็นคุณค่าและรู้สึกหวงแหน

สถานการณ์ที่ 2: สรวงสวรรค์ราคาแพง (Paid Paradise) เป็นอนาคตที่การขาดการทำงานร่วมกันระหว่างในส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ทำให้เกิดความแตกแยกที่ลึกยิ่งขึ้นในโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขึ้น สิ่งนี้จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกัน

สถานการณ์ที่ 3: สวรรค์ของชนชั้นสูง (Elite Elysium) เป็นตัวแทนของ "หอคอยงาช้าง" การเข้าถึงการใช้งาน metaverses เป็นสิทธิพิเศษและถือเป็นตัวบ่งชี้สถานะ - มีเพียง 'ชนชั้นสูง' ของสังคมเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงความเป็นจริงนี้ ในขณะที่ชนชั้นอื่นไม่มี

สถานการณ์ที่ 4: กลเกมส์สิทธิบัตร (Leapfrog) บริษัทฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ทำข้อตกลงเพื่อเข้าถึงการพัฒนาและนวัตกรรม ผู้บริหารของแต่ละบริษัทต่างโยนสิทธิบัตรเข้าไปเผาในกองเพลิงเพื่อแสดงออกถึงการทำงานร่วมกัน แม้ว่าบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆจะออกมาบอกว่าพวกเขาจะทำตาม (โดยมีข้อเรียกร้องมากมาย) แม้ว่าอุปกรณ์จะทำงานร่วมกันได้ แต่ราคาของใบอนุญาตซอฟต์แวร์ก็จำกัดการมีส่วนร่วมและการเติบโต อาจดูคล้ายว่าทุกอย่างน่าจะดีขึ้น – แต่การปิดกั้นทางการจ่ายกำลังฉุดรั้งสังคมไว้

 

 

รายงานฉบับที่สอง 'จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Metaverse สามารถหักล้างทฤษฎี (ที่มีมายาวนาน) ได้' เป็นแบบฝึกหัดความคิดหรือที่เราชอบเรียกในศูนย์วิจัยฯว่า "ยิมนาสติกทางจิต" เพื่อท้าทายรูปแบบการคิดและจิตใต้สำนึก การวิจัยเชิงสำรวจนี้จะชวนให้คิดว่าการมี metaverse อาจส่งผลกระทบต่อวิธีที่เราเข้าใจโลกรอบตัวเราหรือไม่และอย่างไร ก่อนจะเปิดอ่านงานวิจัยนี้ขอให้คุณเปิดใจให้กว้าง เพราะเนื้อหาค่อนข้างจะเข้าถึงยาก (abstract)    

E-book ฉบับเต็มสามารถดาวโหลดได้แล้วที่เวปไซต์ของ FutureTales Lab by MQDC


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘ไปรษณีย์ไทย’ เพิ่มมูลค่า Asset ชูบริการเรือธง EMS World ส่งด่วน ทั่วโลก

EMS World คือ บริการเรือธงที่ทำรายได้หลักให้ไปรษณีย์ไทย หลังจากนี้จะผลักดันบริการสู่ตลาดโลก ร่วมกับการนำ Asset ที่มีอยู่เดิม มาเพิ่มมูลค่าได้อย่างน่าสนใจ...

Responsive image

SearchGPT คืออะไร ? เมื่อ OpenAI ลงสนาม Search engine ท้าชน Google ชิงส่วนแบ่งธุรกิจ

OpenAI ท้าชน Google ชิงส่วนแบ่งธุรกิจ Search Engine เปิดตัว SearchGPT โมเดล Search Engine ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เวอร์ชันต้นแบบ ที่จะมาเปลี่ยนการค้นหาข้อมูลให้เป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว ...

Responsive image

ลงทะเบียนพบนักลงทุนตัวจริงกับ "Meet the VCs" ในงาน Techsauce Global Summit 2024

"Meet the VCs" กิจกรรมสุด Exclusive ในงาน Techsauce Global Summit 2024...