Manus AI จีนคืออะไร ? สรุปความสามารถ AI Agent ตัวใหม่ที่อาจเทียบเคียง DeepSeek

Manus AI คืออะไร

Manus AI จีนคืออะไร ?

‘Manus’ กำลังกลายเป็นชื่อที่วงการ AI ต้องจับตามอง!

ตามรายงานของ Forbes : Manus ไม่ใช่แค่แชตบอตอัจฉริยะหรือเครื่องมือค้นหาที่พัฒนาขึ้น แต่เป็น AI Agent อิสระ ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงช่วยเหลือมนุษย์ แต่สามารถ ทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงิน คัดกรองผู้สมัครงาน หรือดำเนินการในระบบดิจิทัล ทั้งหมดนี้โดยไม่ต้องมีมนุษย์คอยกำกับ

ย้อนกลับไปในปี 2023 การเปิดตัว DeepSeek โมเดล AI ของจีนที่สามารถแข่งขันกับ GPT-4 ของ OpenAI ถูกมองว่าเป็นสัญญาณว่าจีนกำลังก้าวทันโลกตะวันตกในเทคโนโลยี AI

ซึ่ง Manus ก็เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่ชี้ว่าจีนกำลังก้าวไปไกลกว่านั้น

ในขณะที่ AI ตะวันตกอย่าง ChatGPT-4 หรือ Google Gemini ยังคงต้องอาศัยคำสั่งจากผู้ใช้ Manus ตัดสินใจเอง วิเคราะห์ข้อมูล ปรับกลยุทธ์ และดำเนินการโดยอัตโนมัติ เปลี่ยน AI จากผู้ช่วยไปสู่ “แรงงานดิจิทัล” ที่ทำงานได้อย่างอิสระ

Manus AI ของใคร ?

Manus เป็นผลงานของ Monica สตาร์ทอัพจากจีนที่ออกแบบ AI ตัวนี้ให้เป็นมากกว่าแค่เครื่องมือช่วยงานทั่วไป โดยพวกเขานิยามว่า Manus เป็นแพลตฟอร์มที่ bridges minds and actions นั่นหมายความว่า Manus ไม่เพียงแค่คิดวิเคราะห์ แต่ยังสามารถลงมือทำและสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริง

นักพัฒนาของ Monica อธิบายว่า Manus เป็น AI Agent ที่สามารถคิด วางแผน และดำเนินการได้เองโดยอัตโนมัติ โดยสามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น

  • สร้างเว็บไซต์ ตั้งแต่เขียนโค้ดไปจนถึงออกแบบ UX/UI
  • วางแผนการเดินทาง โดยคำนึงถึงงบประมาณ ความสนใจ และข้อมูลสภาพอากาศ
  • วิเคราะห์หุ้น และแนวโน้มการลงทุนโดยอิงจากข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์
  • ดำเนินงานอื่น ๆ อีกมากมาย ตามคำสั่งของผู้ใช้

Manus เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2025 และภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ก็ได้รับความสนใจจากทั่วโลก หลายคนเปรียบเทียบผลกระทบของมันกับ DeepSeek R1 ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ไม่นาน

นอกจากนี้ ผู้พัฒนา Manus ยังอ้างว่า AI ตัวนี้สามารถทำงานได้ดีกว่า OpenAI’s DeepResearch ในการทดสอบ GAIA benchmark ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญในการวัดประสิทธิภาพของ AI Agent ระดับสูง

Manus AI ทำอะไรได้บ้าง ?

Manus ได้รับความสนใจอย่างมากจากความสามารถที่เหนือกว่าหลายระบบ AI ในปัจจุบัน โดยจุดเด่นของมันอยู่ที่การ ทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ความสามารถในการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ และการสร้างผลลัพธ์ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้ ดังนี้

1. การทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบ

Manus ถูกออกแบบให้ทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุม เมื่อได้รับคำสั่ง AI จะประมวลผลบนคลาวด์ และสามารถดำเนินงานต่อไปได้แม้ว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้จะตัดการเชื่อมต่อ

ในวิดีโอเดโมจากผู้พัฒนา Manus แสดงให้เห็นว่า AI สามารถ เปิดแท็บเบราว์เซอร์มากกว่า 50 แท็บพร้อมกัน ใช้งานแพลตฟอร์มอย่าง X (Twitter), Telegram และเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ

2. โต้ตอบแบบเรียลไทม์

Manus ไม่ได้เป็นเพียง AI ที่รอรับคำสั่ง แต่มันสามารถ สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ และดำเนินการต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ โดยผู้ใช้สามารถติดตามกระบวนการทำงานของ AI ได้ตลอด

ตัวอย่างเช่น หากได้รับคำสั่งให้ สร้างแผนการเดินทางไปญี่ปุ่น

  • Manus จะวางแผนการเดินทางแบบ วันต่อวัน
  • ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และกิจกรรมที่เหมาะสม
  • แสดงกระบวนการทำงานทั้งหมดแบบ ไลฟ์ ให้ผู้ใช้เห็นว่า AI คิดและตัดสินใจอย่างไร

3. ทำงานเบื้องหลังได้โดยไม่ต้องรอคำสั่งซ้ำ ๆ

หลังจากที่ผู้ใช้มอบหมายงานให้ Manus สามารถทำงานในเบื้องหลังโดยอัตโนมัติ และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น AI จะแจ้งเตือนให้ทราบ

ตัวอย่างเช่น หากให้ AI ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ แนวโน้มตลาดหุ้น

  • Manus จะวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง
  • ประมวลผลและสรุปเป็นรายงาน
  • แจ้งเตือนเมื่อทุกอย่างพร้อม โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องติดตามเองตลอดเวลา

4. สร้างผลลัพธ์ได้มากกว่าแค่ข้อความ

Manus ไม่ได้แค่ ตอบคำถามเป็นข้อความ แต่สามารถ ดึงข้อมูลแบบไลฟ์ และสร้างผลลัพธ์ที่หลากหลาย เช่น

  • บันทึกข้อมูลจากเว็บ
  • ถ่ายภาพหน้าจอ
  • สร้างไฟล์ PDF, สเปรดชีต หรือพรีเซนเทชัน ตามคำสั่งของผู้ใช้

ปัจจุบัน Manus ยังคงอยู่ในระยะทดสอบแบบจำกัด โดยเปิดให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ได้รับคำเชิญผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท Monica เท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศวันเปิดตัวสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ

อ้างอิง: indiatoday , forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Ant Group ใช้ชิปจีน ฝึกโมเดล AI ขนาดใหญ่ แรงเทียบ Nvidia แต่ต้นทุนถูกลง 20%

Ant Group ใช้ชิปจีนเทรนโมเดล AI ขนาดใหญ่ 1 ล้านล้านโทเคน ด้วยงบเพียง 5.1 ล้านหยวน หรือราว 25 ล้านบาท ลดต้นทุนกว่า 20% เมื่อเทียบกับการใช้ชิป Nvidia พร้อมเปิดตัว Ling-Plus และ Ling-...

Responsive image

Spotify เปิดตัวเพลย์ลิสต์ใหม่ ‘Concerts Near You’ ตัวช่วยค้นหาคอนเสิร์ต

Spotify เปิดตัวเพลย์ลิสต์ใหม่ “Concerts Near You” ช่วยให้คนฟังเช็กคอนเสิร์ตใกล้ตัวได้ง่ายขึ้น ทุกวันพุธเพลย์ลิสต์นี้จะอัปเดต 30 เพลงจากศิลปินที่กำลังจะมาแสดงในพื้นที่ พร้อมลิงก์ซื้...

Responsive image

Elon Musk กับแรงกดดันลาออกจาก Tesla: สรุปประเด็นสำคัญ

Elon Musk กำลังเผชิญแรงกดดันจากนักลงทุนให้ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของ Tesla หลังทุ่มเวลาให้บทบาททางการเมืองใน DOGE และสร้างภาพลักษณ์ที่ส่งผลลบต่อยอดขาย หุ้น และแบรนด์...