ข่าวดี! NIA เผย ดัชนีความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยขยับขึ้นต่อเนื่อง

ข่าวดี ดัชนีความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยขยับขึ้นต่อเนื่อง

NIA เผยผลดัชนีความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยขยับขึ้นต่อเนื่อง ติดอันดับ 4 กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน พร้อมตั้งเป้าดันไทยติดท็อป 30 ในปี 2030

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยผลการจัดทำดัชนีนวัตกรรมระดับโลก (Global Innovation Index – GII) ในปี 2562 ภายใต้ ธีมด้านนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ (Creating Healthy Lives - The Future of Medical Innovation) ซึ่งจัดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization) หรือ WIPO เพื่อรายงานความสามารถด้านนวัตกรรมของแต่ละประเทศ และปีนี้ถือเป็นปีที่ 12 พบว่าในปีนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 43 ขยับขึ้นจากเดิม 1 อันดับจากปีที่ผ่านมา

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า ในปี 2019 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 43 ขยับอันดับขึ้น 1 อันดับ จากปี 2018 โดยในปีนี้ประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้นทั้งทางด้านปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index) จากเดิมอันดับที่ 52 เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่ 47 และปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) ที่ปรับขึ้นจากอันดับที่ 45 เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่ 43 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (upper middle-income economies)ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 4 รองจากจีน มาเลเซีย และบัลแกเรีย จากจำนวน 34 ประเทศ ที่ประเทศไทยมีอันดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปัจจัย ยกเว้นปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 10 จากจำนวน 15 ประเทศ

สำหรับคะแนนในปีนี้ ประเทศไทยทำคะแนนได้ดีในหลายตัวชี้วัดจาก 5 ปัจจัยเสาหลัก อาทิ ประสิทธิการดำเนินดีในด้านเครดิตภายในประเทศที่มีต่อภาคเอกชน (อันดับ 12) การคุ้มครองผู้ลงทุน (อันดับ 14) การลงทุนในตลาด (อันดับ 10) การทำ R&D ที่มีแหล่งเงินจากภาคธุรกิจ (อันดับ 4) การนำเข้าสินค้าไฮเทค (อันดับ 12) สภาพแวดล้อมนการทำธุรกิจ (อันดับ 20) การเติบโตด้านผลิตภาพแรงงาน (อันดับ 14) และการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี (อันดับ 8) รวมถึงตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี และปัจจัยด้านผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ตัวชี้วัดที่ประเทศไทยยังมีข้อด้อยส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม เช่น สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อัตราส่วนของครูและนักเรียน และการกู้ยืมรายย่อยในระดับไมโครไฟแนนซ์ เป็นต้น

ด้าน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดัชนี GII ประกอบด้วย ดัชนีย่อย 2 ด้าน ได้แก่ ดัชนีย่อยปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index)และ ดัชนีย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) โดยภายใต้ 2 ดัชนีย่อยนี้ ได้แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 7 ปัจจัยเสาหลัก (Pillar) ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านสถาบัน 2) ปัจจัยด้านทุนมนุษย์และการวิจัย 3) ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4) ปัจจัยด้านระบบตลาด และ 5) ปัจจัยด้านระบบธุรกิจ 6) ผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี และ 7) ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ GII นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งดัชนีสำคัญด้านนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งสะท้อนความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศทั้งในปัจจัยย่อย การเปรียบเทียบเชิงเวลา และการเปรียบเทียบเชิงแข่งขัน

NIA ในฐานะหน่วยงานนำในการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมของประเทศ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ให้ดำเนินการติดตามและเสนอแนะแนวทางการยกระดับและปรับปรุงอันดับของประเทศไทยในดัชนีนวัตกรรมระดับโลก โดยอาศัยการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมบนฐานของข้อมูล (Data-driven Innovation) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการจัดทำแพลทฟอร์มข้อมูลนวัตกรรมเพื่อติดตามข้อมูลปัจจัยด้านนวัตกรรมจากแหล่างต่างๆ ที่สะท้อนศักยภาพด้านนวัตกรรม อาทิ ข้อมูลผลงานนวัตกรรม ข้อมูลผู้ประกอบการนวัตกรรม ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของระบบนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของ NIA ในการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมของประเทศ

สำหรับผลการจัดอันดับในปีนี้ ถึงแม้ในปีนี้อันดับของประเทศไทยจะขึ้นเพียง 1 อันดับ แต่จะเห็นได้ว่ามีการปรับขึ้นทั้งในอันดับของปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม และปัจจัยผลผลิตทางนวัตกรรม แสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่ต่อเนื่องและสมดุลมากขึ้น การปรับโครงสร้างเชิงระบบของระบบวิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะช่วยเชื่อมโยงปัจจัยเข้าและปัจจัยผลผลิตให้สมดุลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับการทำงานร่วมกันที่ส่งผลต่ออันดับนวัตกรรมของประเทศไทย ทั้งนี้ NIA จะได้มีการดำเนินงานเพื่อวางแผนในการเร่งพัฒนาและปรับปรุงดัชนี้นวัตกรรมของประเทศให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยอยู่ในท็อป 30 ภายในปี 2030  ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

สำหรับประเทศที่มีความสามารถและการพัฒนานวัตกรรมที่ดีที่สุด 10 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่

  1. ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  2. ประเทศสวีเดน
  3. ประเทศสหรัฐอเมริกา
  4. ประเทศเนเธอร์แลนด์
  5. สหราชอาณาจักร
  6. ประเทศฟินแลนด์
  7. ประเทศเดนมาร์ก
  8. ประเทศสิงคโปร์
  9. ประเทศเยอรมนี
  10. ประเทศอิสราเอล

โดยดัชนีนวัตกรรมระดับโลก หรือ GII จัดทำขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ (Creating Healthy Lives - The Future of Medical Innovation) ทำการสำรวจโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ WIPO ซึ่่งเป็นหนึ่งในองค์การเฉพาะทางของสหประชาชาติ ทั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความสามารถด้านนวัตกรรม 129 ประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วโลก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...