Go-Jek เข้าซื้อ 'Coins.ph' FinTech startup ด้วยเงิน 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หวังขยายตัวในฟิลิปปินส์

Go-Jek เข้าซื้อ 'Coins.ph' FinTech startup ด้วยเงิน 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หวังขยายตัวในฟิลิปปินส์

Go-Jek

Go-Jek บริการ Ride-hailing ได้ประสบปัญหาเรื่องโครงสร้างตัวองค์กรในช่วงต้นเดือนนี้กับการขยายตัวสู่ประเทศฟิลิปปินส์ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่จะสามารถขัดขวางบริษัทอินโดนีเซียแห่งนี้จากการลงทุนในตลาดได้ ในวันนี้ Go-Jek ได้ประกาศถึงการลงทุนครั้งสำคัญในบริษัท Coins.ph ซึ่งจัดว่าเป็นการถือหุ้นส่วนใหญ่ในธุรกิจ การตกลงยังไม่แน่ชัดแต่มีการประเมินว่า Go-Jek ได้จ่ายเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ Go-Jek เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน 

โดยทางบริษัทบอกว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานชาวฟิลิปปินส์จำนวน 5 ล้านคนที่สมัครเข้าใช้งาน ซึ่งรวมไปถึงการใช้งาน mobile wallet สำหรับการจับจ่าย เติมเงินโทรศัพท์ ชำระบิล ค่าบริการขนส่งสาธารณะ และอื่นๆ หลังจากการทำข้อตกลง ทางบริษัทจะนำทรัพยากรและประสบการณ์ของ Go-Jek มาใช้ในการทำงาน

Ron Hose CEO และผู้ก่อตั้ง Coins.ph เผยว่าในขณะนี้บริษัทกำลังจะขยายตัวและเปิดการระดมทุนรอบใหม่ ในช่วงเดียวกันนั้นเองเป็นโอกาสที่ Go-Jek ได้เข้ามาพอดี  

“เรากำลังพิจารณาและนึกถึงการเติบโตของบริษัทซึ่งเราก็ค้นพบว่า Go-Jek และบริษัทของเราจะสามารถสร้างบางสิ่งที่ดีขึ้นได้เพื่อลูกค้าของเรา” Hose กล่าว

Coins.ph เริ่มต้นด้วยบริการแลกเปลี่ยน crypto แต่ก็ได้ขยายไปสู่ FinTech รวมถึงการชำระเงินทางโทรศัพท์และบริการทางการเงินรูปแบบอื่นๆ บริษัทได้เติบโตอยู่ที่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการระดมทุนสองรอบของบริษัทโดยมี Naspers, Global Brain, Wavewaker, Beenext และ Pantera Capital การเข้าซื้อกิจการเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ชัดเจนของ Go-Jek ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมาบริษัทขยายตัวใหญ่ขึ้น และเติบโตไปยังต่างประเทศอย่าง เวียดนาม ไทย และสิงคโปร์ ในส่วนของฟิลิปปินส์ยังอยู่ในอีกเป้าหมายถึงแม้จะใช้เวลานานกว่ากำหนดการและยังไม่เปิดตัวออกมาในขณะนี้ FinTech อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูสำหรับการเข้าไปสู่บริษัทประเภท ride-hailing แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียกใต้ ride-hailing และ FinTech คือสิ่งที่ทำงานควบคู่กันและเป็นหนึ่งในความสำเร็จของ Go-Jek

อินโดนีเซียคือที่แห่งการเติบโตของบริการ GoPay ซึ่งเป็นบริการช่วยในการแลกเปลี่ยนเงิน จ่ายค่าบริการรวมไปถึงประกันภัยและสินเชื่อ  บริษัท กล่าวว่าครึ่งหนึ่งของการทำธุรกรรมบนเครือข่ายในอินโดนีเซียนั้นคือบริการการชำระเงิน ระบบนี้ได้ถูกลอกเลียนไปใช้โดย Grab คู่แข่งสำคัญของ Go-Jek ซึ่งเปิดตัวบริการ Grab Pay ในหกประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมวางแผนที่จะเข้าสู่การบริการสินเชื่อและประกันภัย นอกจากนี้ยังจับมือเป็นพันธมิตรกับ ZhongAn บริษัท ประกันภัยดิจิทัลของจีน

Go-Jek ได้กล่าวในวันนี้ว่าทาง Coins.ph จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Gopay เพื่อที่จะส่งเสริมสังคมที่ไร้เงินสดและยกระดับการเข้าถึงบริการการเงินในฟิลิปปินส์ ส่วนทาง Coins.th มีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อไปตามที่เป็นอยู่ขณะนี้ โดย Hose กล่าวไว้ว่าทางหน่วยงานของไทยนั้นมีที่ตั้งน้อยกว่าธุรกิจของฟิลิปปินส์ ดังนั้งจึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะดึงดูด Go-Jek ถึงแม้ว่าทาง Go-Jek กำลังจะขยายธุรกิจไปแล้วในประเทศไทย การร่วมมือของ Gopay นั้นน่าจะนำไปสู่การเปิดตัวของบริการอย่าง การประกัน เงินกู้ และบริการทางการเงินอื่นๆ และรวมไปถึงการเพื่มฐานผู้ใช้ Coin.ph ในประเทศฟิลิปปินส์ซึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากกว่า 105 ล้านคน

“ด้วยการเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงเป็นอันดับสอง พร้อมด้วยระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ฟิลิปินส์คือประเทศที่น่าจับตามองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการร่วมมือกับ Coin.ph ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติที่เราจะมีสวนร่วมในการเปลี่ยงแปลงการชำระเงินแบบดิจิทัลของประเทศนี้” Nadiem Makrim, ซีอีโอของ Go-Jek ได้กล่าวในแถลงการณ์

“การประกาศตัวในวันนี้ถือเป็นการตกลงที่ยาวนานในการที่จะสานต่อเป้าหมายของเราในการใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาชีวิตของผู้คนและสร้างสิ่งดีๆ ในฟิลิปินส์” Nadiem กล่าว

ถึงจะมีคู่แข่งอีกมากมายอย่าง Grab ที่กำลังเตรียมเปิดตัว GrabPay หรือ Alibaba ที่ได้ลงทุนกับบริษัท FinTech อย่าง Mynt ในขณะที่ยักษ์ใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตและผู้ลงทุน Go-Jek อย่าง Tencent ได้ให้การสนับสนุน Voyager คู่แข่งของ Go-jek ผ่านข้อตกลง 215 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตอนนี้ Go-Jek พร้อมที่จะต่อสู้โดยเตรียมเปิดการลงทุนที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นปีที่น่าจับตามองสำหรับวงการ Fintech ในฟิลลิปปินส์เลยก็ว่าได้

ก่อนหน้านี้ Go-Jek ได้มีการเข้ารวบซื้อบริษัทบริการชำระเงินต่างๆ เช่น บริษัทชำระเงิน offline อย่าง Kartuku บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายชำระเงิน อย่าง Midtrans และ Mapan อีกกระทั่งได้ไปตามหาข้อตกลงซื้อกิจการและซื้อตัวทีมงาน startup ในประเทศอินเดียอย่าง C42, Codelgnition และ Piant ซึ่งเป็น startups ที่ช่วยสร้างศูนย์กลางเทคโนโล ยีที่บังกาลอร์

อ้างอิง TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...

Responsive image

ประกวดนางงาม Miss AI ครั้งแรกของโลก ที่ส่วนใหญ่สร้างตาม Beauty Standard

ตอนนี้มี Miss AI หรือนางงามปัญญาประดิษฐ์ที่จะมาประชันความงามกันบนโลกดิจิทัลแล้ว ด้านผู้จัดการประกวดหวังช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี...