มาแน่! Go-Jek เตรียมชน Grab ขยายตลาดสู่ไทย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ | Techsauce

มาแน่! Go-Jek เตรียมชน Grab ขยายตลาดสู่ไทย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

Go-Jek ผู้ให้บริการเรียกรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ (Ride-hailing) ยูนิคอร์นตัวแรกของอินโดนีเซีย เตรียมขยายตลาดและบริการสู่ 4 ประเทศใน Southeast Asia ได้แก่ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย เล็งใช้จังหวะหลังจาก Uber ถอนตัวออกจาก Southeast Asia ไปก่อนหน้านี้เพื่อสู้กับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง Grab

GO-JEK

ก่อนหน้านี้บริษัท Go-Jek สตาร์ทอัพที่กลายเป็นยูนิคอร์นระดับพันล้านดอลลาร์ตัวแรกของอินโดนีเซีย หนึ่งในผู้ให้บริการเรียกรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ผ่านแอป (Ride-hailing) โพสผ่าน Facebook และ Twitter ขอบคุณ Uber ที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจดหมายภายในระบุว่ามีการเตรียมขยายบริการสู่ประเทศอื่นเร็วๆ นี้

ล่าสุด Go-Jek เตรียมลงทุนด้วยเงินจำนวน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายตลาดการและบริการอื่นๆ ไปยังอีก 4 ประเทศใน Southeast Asia ได้แก่ เวียดนาม, ไทย, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ โดยจะเริ่มให้บริการ Ride-hailing ก่อนเป็นอันดับแรก

แต่ก็มีจุดมุ่งหมายในอนาคต คือ การนำบริการ Go-Jek ทั้งหมดในอินโดนีเซียทั้งหมด ไปใช้บริการใน 4 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้นเช่นกัน

ถือว่า Go-Jek ใช้จังหวะและโอกาสอันดีหลังจาก Uber ถอนตัวออกจาก Southeast Asia ไปก่อนหน้านี้เพื่อขยายตลาดออกสู่นอกประเทศเป็นครั้งแรก

Nadiem Makarim CEO Go-Jek กล่าวในแถลงการณ์ว่า

 

ผู้บริโภคจะมีความสุขที่สุดเมื่อพวกเขามีตัวเลือก และตอนนี้ผู้คนในเวียดนาม, ไทย, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จะต้องไม่รู้สึกว่าพวกเขาพอใจอยู่ที่แค่นี้

“เราหวังว่าการขยายไปยังตลาดใหม่ๆ จะทำให้เรากลายเป็นแอป Lifestyle ด้านการเดินทางของทุกคนได้อย่างรวดเร็วขึ้น” CEO Go-Jek กล่าว

บริการอื่นๆ ของ Go-Jek นอกจากเหนือจากบริการเรียกแท็กซี่หรือมอเตอร์ไซค์ผ่านแอป ซึ่งตอนนี้ (พฤษภาคม 2018) มีบริการมากถึง 16 บริการ | Photo: Go-Jek

ซึ่ง Go-Jek มีแบ็คคนสำคัญที่สนับสนุนด้านเงินทุนอย่าง Warburg Pincus และ KKR & Co. ทำให้ Go-Jek ขยายบริการจากเดิมมีแค่บริการเรียกแท็กซี่หรือมอเตอร์ไซค์ ทำให้สามารถขยายบริการจ่ายเงิน สั่งอาหาร หรือซื้อตั๋วหนังรายใหญ่ใน Southeast Asia ได้ในที่สุด โดยการระดมทุนของ Go-Jek รอบล่าสุดมีนักลงทุนจาก Google, Tencent และ Temasek Holdings เข้ามาร่วมด้วย จนในปี 2016 Go-Jek มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.8 พันล้านดอลาาร์สหรัฐฯ อ้างอิงข้อมูลจาก CB Insights

คู่แข่งรายใหญ่ของ Go-Jek อย่าง Grab ที่ยึดตลาดในสิงคโปร์ และกระโดดเข้ามาแข่งขันเต็มตัว หลังจากช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Uber ยอมรับข้อเสนอที่จะได้ถือหุ้นใน Grab 27.5 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการถอนการให้บริการของ Uber ออกจากตลาด Southeast Asia ไป

อ่านประกอบ: 5 สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องรู้เมื่อ Grab ซื้อ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ Grab เคยได้รับเงินลงทุน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก SoftBank Group มาแล้ว ทำให้การแข่งขันกับในสิงคโปร์เป็นไปอย่างดุเดือด ซึ่งตอนนี้ Grab ก็เปิดให้บริการใน 7 ประเทศแล้ว ซึ่ง Grab ก็บริหารงานโดย Anthony Tan อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ Nadiem Makarim (CEO Go-Jek ในปัจจุบัน) เมื่อครั้งยังเรียนอยู่ที่ Harvard Business School อีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก Bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ ttb นำทัพตอกย้ำความก้าวล้ำด้าน Digital & Tech ของธนาคาร ผ่านงาน 'ttb spark REAL change'

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) จัดงาน ‘ttb spark REAL change’ ซึ่งมีเวทีเผยวิสัยทัศน์องค์กร นิทรรศการที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบันและอนาคต ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Digital ...

Responsive image

DOGE ของอีลอน มัสก์ อ้างเซฟเงิน 8 พันล้าน แต่ความจริงแค่ 8 ล้าน

อีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla และ SpaceX กำลังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหน่วยงานใหม่ Department of Government Efficiency (DOGE) หรือ 'กรมประสิทธิภาพภาครัฐ' ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลดค่าใช้...

Responsive image

Mercedes-Benz เดินหน้าทดสอบแบตเตอรี่ Solid-state ในรถ EV ตั้งเป้าวิ่งได้ไกลกว่า 600 ไมล์

Mercedes-Benz กำลังทดสอบแบตเตอรี่ Solid-State ในรถยนต์ไฟฟ้า EQS ที่สหราชอาณาจักร เพิ่มระยะทางขับขี่ทะลุ 600 ไมล์ ลดน้ำหนักแบตเตอรี่ 40% นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรม EV แข่งกับ Hyu...