Google ปักหมุดเอเชีย ส่ง Local Team มุ่งพัฒนาบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมและลักษณะการเสิร์ช | Techsauce

Google ปักหมุดเอเชีย ส่ง Local Team มุ่งพัฒนาบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมและลักษณะการเสิร์ช

ความต่างของวัฒนธรรมและภาษา ทำให้ลักษณะการเสิร์ชหาข้อมูลของผู้ใช้มีรูปแบบที่แตกต่างกัน Google วางแผนจัดตั้ง “Development Local Team” มุ่งศึกษาการใช้งานในในเชิงพื้นที่ อัตลักษณ์วัฒนธรรมและความแตกต่างของผู้ใช้งาน เพื่อปรับแต่งบริการให้เข้ากับลักษณะนิสัยและบริบทที่แตกต่างกัน ปักหมุดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียงที่กำลังมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่จากภูมิภาคดังกล่าว

Google ปักหมุดเอเชีย ส่ง Local Team มุ่งพัฒนาบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมและลักษณะการเสิร์ช

ก่อนหน้านี้ Google มีทีมพัฒนาท้องถิ่นในญี่ปุ่นและอินเดีย ซึ่งกำลังปรับปรุงในส่วน Search Services หรือบริการค้นหาให้เหมาะกับผู้ใช้ชาวญี่ปุ่น หนึ่งในเป้าหมายของทีมคือการนำเสนอผลลัพธ์ ‘คำแนะนำในการค้นหา’ ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

Prabhakar Raghavan รองประธานอาวุโส Google ผู้รับผิดชอบผลิตภัณฑ์ Google Search, Google Assistant, Google Ads , Google Commerce และ Google Payments กล่าวว่า “ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานในสหรัฐอเมริกานั้นไม่อาจแปรผลได้ตรงตามวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการออกแบบเพื่อผู้ใช้งานทุกพื้นที่ เราต้องลงทุนในความเข้าใจวัฒนธรรมให้ทั่วทุกพื้นที่”  

ยกตัวอย่าง ผู้ใช้งานญี่ปุ่น มักจะป้อนข้อความค้นหาที่สั้นกระชับมากกว่าผู้ใช้งานประเทศอื่น ซึ่งแตกต่างกับอินเดียที่ตรงกับกันข้ามกับญี่ปุ่นที่มักป้อนคำค้นหาเป็นข้อความหรือคำพูดในรูปแบบที่ค่อนข้างยาวมาก โดยเฉพาะที่อินเดียมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันกว่า 20 ภาษาในแต่ละจังหวัดและมีการใช้รูปแบบคำศัพท์ที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญของ Google ที่จะต้องพัฒนาระบบให้รู้จักคำพูดที่ซับซ้อน ในบางประเทศจจึงต้องมีทีมท้องถิ่นที่ปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมและสังคมท้องถิ่นนั้น ๆ 

จากข้อมูลของ Google ในปี 2021 ประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 75% โดยเพิ่มขึ้น 40 ล้านคนในปีที่แล้วและเติบโตขึ้นอีกเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว “หากคุณดูประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย พวกเขามีประชากรอายุน้อยมาก และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใหม่เกือบทั้งหมดในโลกมาจากประชากรเหล่านั้น” Raghavan กล่าว 

ในขณะเดียวกัน รายได้สุทธิของ Alphabet บริษัทแม่ของ Google ลดลง 14% จากปีก่อนหน้าเป็น 16 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสามเดือนถึงเดือนมิถุนายน เนื่องจากการเติบโตของธุรกิจโฆษณาหลักชะลอตัวท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และยังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจาก ByteDance ของจีนที่กำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากแอปวิดีโอแบบสั้น TikTok ที่สามารถดึงดูดผู้ใช้จากทั่วโลก และถึงแม้ว่า จะผลสำรวจเปิดเผยว่า คนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปใช้ Tiktok ในการค้นหาข้อมูลทั่วไป  แต่อย่างไรก็ตาม Google ยังมั่นใจว่าผู้ใช้ยังคงใช้บริการค้นหาของ Google เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่แชร์ผ่านวิดีโอขนาดสั้นอีกครั้งอยู่ดี และเน้นว่าบริการยังคงมีสถานะที่แข็งแกร่ง 

สำหรับการจัดการกับกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในการปกป้องความเป็นส่วนตัวทั่วโลก Raghavan กล่าวว่า “วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ในขณะที่ยังมีโฆษณาที่เกี่ยวข้องอยู่นั้นเป็นเทคนิคที่เราพัฒนาขึ้นโดยใช้ AI เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อรักษาผลกระทบต่อผู้ใช้งาน โดยวางแผนที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์ในอีกไม่กี่ไตรมาสนี้” 

Prabhakar Raghavan เป็นหนึ่งในหน่วยงานระดับแนวหน้าของ Google Search ก่อนหน้านี้ เขาดำรงตำแหน่งรองประธานของ Google Apps, Google Cloud ที่ดูแลด้านวิศวกรรม พัฒนา ผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ของผู้ใช้ ภายใต้การนำของเขา ธุรกิจ Apps ของบริษัททำให้ผลิตภัณฑ์พัฒนาไปสู่โซลูชันที่ใช้ในระดับองค์กรที่เป็นส่วนสนับสนุนหลักในธุรกิจระบบคลาวด์ของ Google นอกจากนี้ เขายังพัฒนาทั้ง Gmail และ Drive  และแนะนำฟีเจอร์ AI ใน G Suite ซึ่งรวมถึง Smart Reply, Smart Compose, Drive Quick Access ซึ่งแต่ละอย่างนำไปสู่การปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ที่วัดผลได้ในปัจจุบัน


อ้างอิงข้อมูลจาก 

Google to expand local development teams in Asian countries

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...