Grab ยื่นขอใบอนุญาตการทำดิจิทัลแบงก์กิ้งในสิงคโปร์ เชื่อธุรกิจด้านการเงินเติบโตในอนาคต ซึ่งหาก Grab ประสบความสำเร็จในการได้รับใบอนุญาตจะทำให้ลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจทั้งรายย่อยและรายกลางจะสามารถเข้าถึงการฝากเงิน การกู้ยืม และบริการทางการเงินอื่นๆ ได้ เรียกได้ว่าเป็นก้าวสำคัญสู่การขึ้นเป็นบริษัทผู้นำทางเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการให้สัมภาษณ์กับทาง Nikkei Asian Review Reuben Lai ผู้ดูแล Grab Financial Group ซึ่งเป็นหน่วยที่ดูแลด้านการเงินของ Grab ได้กล่าวว่า “จะมีการยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลแบงก์กิ้งในสิงคโปร์ ก่อน 31 ธันวาคมนี้ โดยใบอนุญาตนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสมากมายในการให้บริการกับผู้ใช้งานของเรา ที่ผ่านมา Grab Financial Group จัดว่าเป็นเสาหลักสำคัญในการเติบโตของ Grab ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งของ Fintech Ecosystem ที่ใหญ่ที่สุด”
มีรายงานว่าธนาคารกลางของสิงคโปร์จะออกใบอนุญาตดิจิทัลแบงก์กิ้งสูงสุดห้าใบ ใบอนุญาตในการทำธุรกิจธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบสองใบ (Full bank licenses) และใบอนุญาตผู้ให้บริการแบบดิจิทัลแก่ธุรกิจ SMEs อีกสามใบ (Wholesale bank licenses) เพื่อการเปิดเสรีภาคธนาคาร เพื่อสามารถทำธุรกิจธนาคารได้อย่างเสรีภาพ ทั้งนี้ Grab จะยื่นขอใบอนุญาตแบบ Full Bank เพื่อให้สามารถให้บริการทั้งลูกค้าที่เป็นผู้ค้าปลีกและไม่ใช่ผู้ค้าปลีกได้ Lai กล่าว
ในช่วงมิถุนายนที่ผ่านมา Grab ได้แสดงความสนใจในการขอใบอนุญาตเมื่อสิงคโปร์ประกาศการเปิดการทำธุรกิจการเงินเสรี แต่ก็ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าจะยื่นขอหรือไม่
จากข้อมูลของ Lai นั้น การ Grab สมัครครั้งนี้มีความร่วมมือกับพันธมิตรที่มี Ecosystem ขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยผู้บริโภคและผู้ค้าขนาดเล็ก
“สิ่งที่เราต้องการทำเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบการธุรกิจธนาคารคือการเพิ่มความโปร่งใส และเพิ่มการเข้าถึงของผู้ใช้ให้มากขึ้น นี่จภช่วยให้ผู้ใช้งานในสิงคโปร์เข้าถึงกับธนาคารในแบบที่ง่ายมากขึ้นและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม" Lai กล่าว นอกจากนี้เขาไม่ได้ให้รายละเอียดของแผน เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
มีหลายฝ่ายที่สนใจในใบอนุญาตนี้ Grab อาจจะต้องแข่งขันกับ Startup FinTech รายใหม่ๆ แต่ถึงอย่างไรการมุ่งเน้นถึงคุณค่าที่แท้จริงและความยั่งยืน คือปัจจัยหลักในการพิจารณา ซึ่ง Lai มั่นใจว่า Grab คือแนวหน้าในเรื่องนี้
Grab ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดยมีธุรกิจที่หลากหลายตั้งแต่การบริการเรียกรถไปจนถึงการส่งอาหารและการบริการด้านการเงิน ปัจจุบันได้ให้บริการทางการเงินใน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
สิงคโปร์ในฐานะประเทศแนวหน้าในด้านเศรษฐกิจ ตลาดธุรกิจธนาคารจึงได้รับความสนใจจากผู้เล่นจำนวนมาก แต่ Lai ยังเน้นย้ำว่า “ขณะนี้ยังคงมีความต้องการกลุ่มผู้ใช้งานทั้ง SMEs และกลุ่ม gig อย่างคนส่งอาหาร คนขับรถบนแพลตฟอร์มอย่าง Grab”
Grab จะมองหาโอกาสการเติบโตของการทำแบงก์กิ้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากพวกเขาพร้อมเข้าร่วมในการจะก้าวสู่การเป็น Virtual banks ซึ่งถ้ามีโอกาสแล้ว Grab ยินดีจะเข้าร่วม”
คาดว่าธนาคารกลางสิงคโปร์จะประกาศใบอนุญาตในช่วงกลางปี 2020 โดย Grab จะเปิดตัวบริการการบริหารความมั่งคั่งซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้และพันธมิตรทำการลงทุนเพียงเล็กๆ น้อยๆ ผ่านบัญชีบน Grab คาดเปิดตัวในครึ่งปีแรกของปีหน้าโดยเริ่มที่สิงคโปร์
ปัจจุบันตามข้อมูลเชิงลึกของ CB Insights Grab มี SoftBank, Toyota Motor, Uber Technologies และ Microsoft ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีมูลค่าอยู่ที่ 14.3 พันล้านดอลลาร์ นับว่าเป็น Startup ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์
ที่มา: Nikkei Asian Review
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด