IBM เปิดตัว IBM Blockchain Worldwire เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลก

IBM เปิดตัว IBM Blockchain Worldwire เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกใน 50 ประเทศ

IBM เปิดตัว “ไอบีเอ็มบล็อกเชนเวิลด์ไวร์” (IBM Blockchain World Wire) เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกแบบเรียลไทม์สำหรับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เตรียมเดินหน้าขยายการให้บริการไปสู่ประเทศต่างๆ  

เวิลด์ไวร์เป็นเครือข่าย Blockchain แห่งแรกที่รวมระบบข้อความการชำระเงิน (payment messaging) การหักบัญชี (clearing) และการชำระดุล (settlement) ไว้ในเครือข่ายเดียว ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการแลกเปลี่ยนเงินตรา การชำระเงินข้ามประเทศ และการโอนเงิน โดยเปิดให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สินทรัพย์ดิจิทัลสกุลใดในการชำระดุล

"เราได้พัฒนาเครือข่ายการชำระเงินรูปแบบใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการโอนเงินและเปิดมิติใหม่ของการชำระเงินข้ามประเทศ อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการเคลื่อนย้ายเงินในประเทศที่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบนี้มากที่สุด" ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว "ไอบีเอ็มคาดหวังว่าการสร้างเครือข่ายที่ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลได้หลากหลายประเภท จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินทั่วโลก"

ปัจจุบันเวิลด์ไวร์เปิดให้บริการใน 72 ประเทศ 47 สกุลเงิน และในธนาคาร 44 แห่ง โดยไอบีเอ็มกำลังเดินหน้าขยายเครือข่ายกับสถาบันการเงินทั่วโลก ภายใต้กฎข้อบังคับของแต่ละประเทศที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางในการเปิดใช้บริการ

เวิลด์ไวร์เป็นรูปแบบบริการการชำระเงินข้ามประเทศที่ช่วยลดความซับซ้อน โดยใช้โปรโตคอลของสเตลลาร์ (Stellar) เพื่อให้สามารถโอนเงินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แทนวิธีการโอนเงินผ่านธนาคารตัวแทนต่างประเทศแบบทั่วไปที่มีความซับซ้อน แนวทางนี้ช่วยลดตัวกลางในการโอนเงิน และช่วยให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการชำระดุลได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ผ่านการส่งมูลค่าเงินในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล หรือที่เป็นที่รู้จักในนามคริปโตเคอร์เรนซี (crytocurrency) หรือ "สเตเบิลคอยน์" (stable coin) วิธีนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารสภาพคล่อง เพิ่มความคล่องตัวในการตรวจสอบยอดชำระเงิน และลดต้นทุนการทำธุรกรรมโดยรวมให้แก่สถาบันทางการเงิน  

ปัจจุบันเครือข่ายเวิลด์ไวร์สามารถรองรับการชำระดุลโดยใช้สเตเบิลคอยน์สเตลลาร์ลูเมนส์และดอลลาร์สหรัฐได้แล้ว อันเป็นผลจากความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มและสตรองโฮลด์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ขณะนี้ยังมีธนาคารระหว่างประเทศ 6 แห่ง อาทิ ธนาคารบังโก บราเดสโก ธนาคารปูซาน ธนาคารพาณิชย์ริซัล (RCBC) ที่ลงนามในหนังสือแสดงเจตนารมณ์เพื่อจัดตั้งสเตเบิลคอยน์ของตนเองบนเวิลด์ไวร์ และกำลังรอการอนุมัติจากหน่วยงานที่ตรวจสอบและกํากับดูแลต่างๆ ซึ่งจะนำสู่การเพิ่มสเตเบิลคอยน์ในสกุลเงินยูโร รูเปียห์ (อินโดนีเซีย) เปโซ (ฟิลิปปินส์) วอน (เกาหลี) และเรียล (บราซิล) เข้าสู่เครือข่าย โดยไอบีเอ็มจะเดินหน้าขยายอิโคซิสเต็มของเวิลด์ไวร์ตามที่ลูกค้าได้แจ้งความประสงค์เข้ามาต่อไป

"บราเดสโกได้ปรับใช้นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ" ลูอิซ คาร์ลอส บรานเดา คาวาลคานติ จูเนียร์ กรรมการบริหารฝ่ายนวัตกรรมและช่องทางดิจิทัลแห่งธนาคารบังโก บราเดสโก กล่าว "เครือข่ายเวิลด์ไวร์ตอบโจทย์เป้าหมายของเราทั้งสองด้าน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธนาคารบราเดสโก รวมถึงลูกค้าของธนาคารในบราซิล"

"RCBC มีความยินดีที่ได้เป็นหนึ่งในผู้นำนวัตกรรมรายแรกๆ ที่วางแผนที่จะออกสเตเบิลคอยน์สกุลเงินเปโซของตัวเองบนเวิลด์ไวร์ โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างรอการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากหน่วยงานที่กำกับดูแล" แมนนี ที. นาร์ซิสโค รองประธานอาวุโสแห่งธนาคารพาณิชย์ริซัล (RCBC) กล่าว "เราให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าของเรา และเวิลด์ไวร์ก็ได้แสดงให้เห็นโอกาสมากมายในการพลิกโฉมและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่โครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินของเรา"

ปัจจุบันเวิลด์ไวร์ยังคงเปิดให้ใช้งานในวงจำกัด และกำลังขยายการใช้งานเพิ่มขึ้นในประเทศต่างๆ  สำหรับองค์กรที่สนใจ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ibm.com/blockchain/solutions/world-wire

เกี่ยวกับไอบีเอ็ม

ไอบีเอ็มได้รับการยอมรับในฐานะผู้ให้บริการบล็อกเชนชั้นนำสำหรับองค์กร ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัย ไอที และธุรกิจของไอบีเอ็ม ได้ทำงานร่วมกันเพื่อทลายข้อจำกัดในแง่ความเร็วของการประมวลผลธุรกรรม รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัส (Cryptography) ที่ก้าวล้ำที่สุด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรม นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังมีส่วนร่วมในการมอบโค้ดแบบโอเพ่นซอร์สจำนวนหลายล้านบรรทัดเพื่อพัฒนาบล็อกเชนสำหรับธุรกิจ

ไอบีเอ็มเป็นผู้นำโซลูชันบล็อกเชนแบบโอเพ่นซอร์สสำหรับองค์กร นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา ไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลายร้อยรายในอุตสาหกรรมการเงิน ซัพพลายเชน ภาครัฐ ค้าปลีก การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล และการดูแลสุขภาพ เพื่อนำบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ และบริหารจัดการการทำงานของเครือข่ายจำนวนมากทั้งที่ใช้งานจริงแล้วและยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แพลตฟอร์มไอบีเอ็มบล็อกเชนบนคลาวด์ให้บริการที่ครอบคลุมและจำเป็นสำหรับลูกค้าในการนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนา ดำเนินการ ควบคุม และรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายธุรกิจของตน

ไอบีเอ็มเป็นสมาชิกรายแรกๆ ของไฮเปอร์เลดเจอร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้รูปแบบโอเพ่นซอร์ส

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกี่ยวกับไอบีเอ็มบล็อกเชนได้ที่ https://www.ibm.com/blockchain/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...