ไม่มีใครปฏิเสธอีกต่อไปว่า AI จะพลิกโฉมอนาคตในทุกมิติ PWC บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกคาดการณ์ว่า AI จะสร้างมูลค่าถึง 16 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 โดย Generative AI (Gen AI) เป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจพลิกโฉมอย่างรวดร็ว
นี่คือความท้าทายของซีอีโอที่จะต้องกำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางการใช้ AI ในองค์กร
สองแม่ทัพใหญ่ นำโดย คุณ สวัสดิ์ อัศดารณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และ Managing Partner กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม คอนซัลติง และ คุณ สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี ได้สรุป 5 เทรนด์สำคัญที่จะช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรธุรกิจในปี 2024 ดังนี้
3 ใน 4 ซีอีโอที่เข้าร่วมการสำรวจความคิดเห็น มองว่าความได้เปรียบในการแข่งขันขึ้นอยู่กับว่าใครมี Gen AI ที่ก้าวล้ำที่สุด แต่องค์กรกว่า 60% ยังไม่ได้มีการพัฒนาแนวทางด้าน Gen AI ที่สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ หรือขยายการใช้งานได้ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำสู่ก้าวย่าง AI Plus และระบบ AI ที่เชื่อถือได้
งานวิจัยโดย IBV ระบุว่า 2 ใน 3 ซีอีโอที่สำรวจกำลังเดินหน้าโดยไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าจะช่วยเหลือพนักงานของตนอย่างไร เมื่อ AI เข้ามาพลิกโฉมและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยมีซีอีโอไม่ถึง 1 ใน 3 ที่เคยประเมินถึงผลกระทบที่ Gen AI อาจมีต่อพนักงานของตน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการชะลอตัวในปี 2567 ผู้นำองค์กร 72% ระบุว่าเต็มใจยอมสละประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้ Gen AI เนื่องจากข้อกังวลด้านจริยธรรม และ 69% คาดว่าการนำ Gen AI มาใช้จะนำสู่การจ่ายค่าปรับตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ
ข้อแนะนำ: องค์กรต้องออกแบบโมเดลการทำงานใหม่โดยมองผ่านเลนส์ AI Plus
องค์กรต้องกำหนดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจริยธรรม AI ที่มีหน้าที่สนับสนุนการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบโดยเฉพาะ โดยเป็นผู้ให้คำแนะนำและใช้อำนาจยับยั้ง รวมถึงทำให้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้และเชื่อถือได้ โดยผนวกจริยธรรมตลอดวงจรการพัฒนา AI
องค์กรควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทักษะใหม่และต่อยอดทักษะเดิม โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์และทักษะด้านคน ลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงเพื่อรองรับข้อมูล ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและการเรียนรู้เกี่ยวกับ AI ทั่วทั้งองค์กร
องค์กรควรบูรณาการการกำกับดูแล AI (AI governance) เข้ากับโมเดลธุรกิจหลักขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถอธิบายที่มาของการให้คำแนะนำของ AI ได้ (explainability) โดยที่ระบบ AI ปราศจากอคติและเชื่อถือได้ องค์กรควรให้ความรู้กับพนักงานในเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องสามารถรับรู้ได้ว่าเมื่อใดกำลังปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ที่ใช้ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยอยู่
ผลการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่า 77% ของคนทำงานระดับเริ่มต้นจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของบทบาทงานของตนภายในปี 2568 ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงมากกว่า 1 ใน 4 ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ยิ่งเมื่อ Gen AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จำนวนของตำแหน่งและผู้ที่จะได้รับผลกระทบจาก AI ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นในทุกระดับงาน ตัวอย่างเช่น ภายใน 5 ปี ผู้นำหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่คาดว่าจะต้องใช้จ่ายในงานด้าน AI และระบบออโตเมชัน มากกว่าในการจ้างบุคลากร
ซีอีโอประเมินว่าในการนำ AI และออโตเมชันมาใช้นั้น พนักงาน 40% จะต้องเรียนรู้ทักษะใหม่อย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีข้างหน้า สิ่งสำคัญคือทักษะที่ทำให้คนเป็นที่ต้องการในโลกความจริงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นงานเดิมหรืองานใหม่ที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง โดยความริเริ่มสร้างสรรค์ (ทักษะที่ผู้นำมองว่าจะมีคุณค่ามากที่สุดในปี 2568) การตัดสินใจอย่างถ้วนถี่ลึกซึ้ง และความเข้าใจผู้อื่น จะเป็นทักษะที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น
มากกว่าจะมาแทนที่การจะประสบความสำเร็จได้ พนักงานต้องเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงาน AI คนใหม่
องค์กรควรทำให้ระบบ zero trust และข้อมูลที่เชื่อถือได้กลายเป็นจุดต่างสำคัญของตน โดยมุ่งเน้นความโปร่งใสและความถูกต้องเชื่อถือได้เพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงอคติ
เสริมสร้างขีดความสามารถด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เพื่อสร้างความไว้วางใจ รวมถึงปกป้องธุรกิจและสัมพันธภาพที่มีกับทุกฝ่าย มุ่งเน้นการตรวจสอบและจัดการกับจุดที่มีผลต่อการสร้างหรือทำลายความไว้วางใจ
ระบุอุปสรรคระหว่างองค์กรและคู่ค้า โดยมุ่งเน้นที่ขั้นตอนและการกำกับดูแลที่จำกัดการตัดสินใจและการสร้างคุณค่า หรือบั่นทอนความไว้วางใจ ยึดเรื่องการรักษาความปลอดภัยเป็นเกณฑ์หลักเมื่อต้องตรวจสอบคู่ค้าหรือยุทธศาสตร์ของคู่ค้า
หลายสิบปีที่ผู้บริหารระดับสูงพูดถึงความสามารถในการรับรู้และตอบสนอง เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากดิสรัปชันต่างๆ แต่เทคโนโลยีในการจัดการและบรรเทาเหตุที่คาดไม่ถึงยังมีความล้าหลังอยู่
ผู้บริหาร 81% มองว่าความสามารถในการคาดการณ์ของ Gen AI จะช่วยให้ตรวจพบปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และ 77% มองว่า Gen AI ช่วยระบุความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และสภาพภูมิอากาศได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้สามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็วในเชิงรุก
ช่วยให้เห็นภาพกว้างและตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
ในปี 2567 Ecosystem จะวิวัฒนาการจากกลุ่มของหน่วยงานที่แยกจากกัน เป็นการรวมตัวกันเพื่อดำเนินเป้าหมายที่แยกจากกันแต่สอดคล้องกัน ผู้บริหาร 69% ระบุว่าองค์กรของตนได้รับผลตอบแทนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการมีส่วนร่วมใน Ecosystem ทางธุรกิจ และในโลกที่มีการขาดแคลนบุคลากรทักษะสูง ผู้บริหาร 65% ระบุว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงทักษะที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ต้องการสูงได้ผ่าน Ecosystem ทางธุรกิจ
พันธมิตรสามารถแบ่งปันความสามารถ แนวคิด ทรัพยากร เทคโนโลยี และอื่นๆ เพื่อพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในหลายด้าน ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการสนับสนุนหลังการขาย
เพื่อให้นวัตกรรมแบบเปิดประสบความสำเร็จ โดยการเติบโตของรายได้ในกลุ่มผู้นำนวัตกรรมแบบเปิดสูงกว่าคู่แข่งถึง 59%
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด