IBM ระบุ เอเชียถูกโจมตีทางไซเบอร์สูงสุด ภาคการผลิตตกเป็นเป้าสำคัญ หลังวิกฤต Supply Chain เพิ่มขึ้น | Techsauce

IBM ระบุ เอเชียถูกโจมตีทางไซเบอร์สูงสุด ภาคการผลิตตกเป็นเป้าสำคัญ หลังวิกฤต Supply Chain เพิ่มขึ้น

IBM Security เปิดเผยรายงาน X-Force Threat Intelligence Index ประจำปี ชี้การเติบโตของแรนซัมแวร์และการหาประโยชน์จากช่องโหว่ในปี 2564 ได้ “จองจำ” และเพิ่มภาระให้กับซัพพลายเชนทั่วโลก โดยภาคการผลิตกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด ขณะที่การโจมตีช่องโหว่และฟิชชิ่ง เป็นสาเหตุการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดในเอเชีย ในปีที่ผ่านมา X-Force สังเกตเห็นถึงการโจมตีช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการแพตช์เพิ่มขึ้น 33% ซึ่งเป็นช่องที่อาชญากรแรนซัมแวร์อาศัยใช้ในการโจมตีมากกว่าวิธีการอื่นๆ และเป็นสาเหตุ 44% ของการโจมตีแรนซัมแวร์

IBM Security เปิดเผยรายงาน X-Force Threat Intelligence Index ประจำปี ชี้การเติบโตของแรนซัมแวร์และการหาประโยชน์จากช่องโหว่ในปี 2564 ได้ “จองจำ” และเพิ่มภาระให้กับซัพพลายเชนทั่วโลก โดยภาคการผลิตกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด ขณะที่การโจมตีช่องโหว่และฟิชชิ่ง เป็นสาเหตุการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดในเอเชีย รายงานของปี 2565 ยังแสดงรายละเอียดของวิธีการที่เหล่าอาชญากรแรนซัมแวร์พยายามใช้เพื่อ “สร้างรอยร้าว” ให้กับโครงสร้างหลักของซัพพลายเชนทั่วโลกผ่านการโจมตีภาคการผลิต โดยภาคการผลิตกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับการโจมตีสูงสุด (29%) ในเอเชียในปี 2564 รองจากบริการทางการเงินและประกันภัยซึ่งเป็นอันดับหนึ่งมาอย่างยาวนาน การที่ภาคการผลิตประสบกับเหตุโจมตีด้วยแรนซัมแวร์มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ สะท้อนให้เห็นว่าอาชญากรหวังพึ่งผลกระทบที่จะถูกกระเพื่อมออกไปเป็นระลอกคลื่น เพราะเมื่อบริษัทหนึ่งในภาคการผลิตหยุดชะงัก ย่อมกระทบบริษัทอื่นๆ ในซัพพลายเชนและส่งผลให้บริษัทเหล่านั้นหันมากดดันให้องค์กรที่โดนโจมตีต้องจ่ายยอมค่าไถ่ โดย 47% ของการโจมตีในภาคการผลิตมีสาเหตุมาจากช่องโหว่ที่องค์กรเหยื่อยังไม่ได้แก้ไขด้วยแพตช์หรือไม่สามารถแก้ไขได้ สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญกับการจัดการแก้ไขแพตช์ช่องโหว่

รายงาน IBM Security X-Force Threat Intelligence Index ปี 2565 เปิดเผยถึงเทรนด์และแพทเทิร์นการโจมตีที่ IBM Security ได้สังเกตและวิเคราะห์จากข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิ ข้อมูลจากดาต้าพอยท์หลายพันล้านจุดจากทั่วโลกและประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายหรืออุปกรณ์เอ็นด์พอยท์ ข้อมูลการตอบสนองต่อเหตุโจมตี การแทร็คการฟิชชิ่ง ฯลฯ รวมถึงข้อมูลที่ได้จาก Intezer

 ข้อมูลไฮไลต์อื่นๆ จากรายงานประจำปีนี้ อาทิ

  • แกงค์แรนซัมแวร์เกิดใหม่แม้ล่มสลาย แรนซัมแวร์ยังคงเป็นวิธีการโจมตีอันดับต้นๆ ที่พบในปี 2564 และไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าจะมีความพยายามในการกำจัดแกงค์แรนซัมแวร์เพิ่มขึ้นก็ตาม จากรายงานในปี 2565 อายุเฉลี่ยของกลุ่มแรนซัมแวร์ก่อนปิดตัวลงหรือรีแบรนด์ใหม่คือ 17 เดือน
  • ช่องโหว่ ภัยน่ากลัวที่สุดของธุรกิจ X-Force เปิดเผยว่าสำหรับในเอเชีย ช่องโหว่ที่ไม่ได้รับการแก้ไขเป็นสาเหตุนำสู่ 46% ของการโจมตีในปี 2564 ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหายากลำบากใหญ่หลวงของธุรกิจ ซึ่งก็คือการอุดแพตช์ช่องโหว่ต่างๆ
  • สัญญาณเตือนวิกฤตไซเบอร์ในระบบคลาวด์ อาชญากรไซเบอร์กำลังวางรากฐานเพื่อมุ่งเป้าสภาพแวดล้อมคลาวด์ โดยรายงานล่าสุดชี้ให้เห็นการเพิ่มขึ้นของโค้ดแรนซัมแวร์ลินุกซ์ถึง 146% และการหันไปมุ่งเป้า Docker ซึ่งน่าจะเป็นช่องที่ทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น

“โดยปกติแล้วอาชญากรไซเบอร์จะไล่ตามเงิน แต่วันนี้สิ่งที่พวกเขากำลังทำคือการใช้แรนซัมแวร์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด” นายชาร์ลส์ เฮ็นเดอร์สัน Head of IBM X-Force กล่าว“องค์กรควรตระหนักว่าช่องโหว่ต่างๆ สามารถทำให้พวกเขาตกอยู่ในภาวะหยุดชะงัก และอาชญากรแรนซัมแวร์ก็กำลังใช้ช่องโหว่เหล่านี้เพื่อสร้างประโยชน์ให้ตน นี่เป็นความท้าทายที่ไม่ได้มีผลแค่สองทาง เพราะพื้นที่การโจมตีจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นแทนที่จะดำเนินการภายใต้สมมติฐานที่ว่าทุกช่องโหว่ในสภาพแวดล้อมของตนได้รับการแก้ไขแล้ว ธุรกิจควรดำเนินการภายใต้สมมติฐานที่ว่าองค์กรตนถูกเจาะเรียบร้อยแล้ว และหันมายกระดับการจัดการช่องโหว่ด้วยกลยุทธ์ Zero Trust แทน”

กลุ่มแรนซัมแวร์ “เก้าชีวิต” 

เพื่อตอบสนองต่อการเดินหน้าเร่งกำจัดกลุ่มแรนซัมแวร์ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย กลุ่มแรนซัมแวร์อาจเริ่มใช้แผน disaster recovery การวิเคราะห์ของ X-Force ชี้ให้เห็นว่าอายุเฉลี่ยของกลุ่มแรนซัมแวร์คือ 17 เดือน ก่อนที่จะปิดตัวลงหรือรีแบรนด์ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น REvil ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อเหตุโจมตีถึง 37% ของเหตุแรนซัมแวร์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปี 2564 สามารถอยู่มาได้ยาวนานถึงสี่ปีโดยอาศัยการรีแบรนด์ตัวเอง สะท้อนความเป็นไปได้ที่ว่ากลุ่มเหล่านี้จะกลับมาอีกครั้ง แม้ว่าจะถูกกำจัดลงโดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ แล้วก็ตามในช่วงกลางปี 2564

แม้ว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะสามารถชะลอการโจมตีของแรนซัมแวร์ลงได้ และยังส่งผลให้กลุ่มแรนซัมแวร์ต้องจัดหาเงินทุนสำหรับการรีแบรนด์หรือสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งสำคัญคือองค์กรต้องปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของตนให้ทันสมัย เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ให้การปกป้องข้อมูล ไม่ว่าจะบนระบบในองค์กรหรือบนคลาวด์ การทำเช่นนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการ ควบคุม และปกป้องเวิร์คโหลดของตน และขจัดผู้คุกคามที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่รั่ว โดยทำให้การเข้าถึงข้อมูลในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์เป็นไปได้ยากขึ้น

ช่องโหว่กลายเป็นวิกฤตสำหรับบางองค์กร

รายงานของ X-Force เน้นถึงจำนวนช่องโหว่ที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2564 โดยช่องโหว่ในระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems: ICS) เพิ่มขึ้น 50% จากปีก่อนหน้า แม้ว่าจะมีการเปิดเผยช่องโหว่มากกว่า 146,000 รายการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ องค์กรต่างๆ ได้เร่งสปีดเส้นทางดิจิทัลของตน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นผลมาจากแรงหนุนจากการระบาดใหญ่ จึงคาดการณ์ได้ว่าความท้าทายในการจัดการช่องโหว่ในปัจจุบันยังไม่ถึงจุดสูงสุด

ในขณะเดียวกัน การแสวงหาประโยชน์ด้วยการโจมตีช่องโหว่ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดย X-Force พบการโจมตีในลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า พบช่องโหว่ที่ถูกโจมตีมากที่สุดในปี 2564 จำนวนสองจุด บนแอพพลิเคชันองค์กรที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย (Microsoft Exchange, Apache Log4J Library) เมื่อโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลขยายตัว องค์กรจะเผชิญความท้าทายในการจัดการช่องโหว่มากขึ้น การตรวจสอบและการดูแลให้ธุรกิจปฏิบัติอย่างสอดคล้องต่อกฎข้อบังคับต่างๆ จะกลายเป็นงานล้นมือขององค์กร สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินการตามสมมติฐานที่ว่าองค์กรของตนได้ตกอยู่ในความเสี่ยงแล้ว และต้องนำกลยุทธ์แบบ Zero Trust เข้ามาช่วยปกป้องสถาปัตยกรรมของตนเอง

ผู้โจมตีมุ่งเป้าไปที่จุดร่วมระหว่างคลาวด์

การสังเกตโดย X-Force ในปี 2564 พบว่าผู้โจมตีเปลี่ยนเป้าหมายไปที่ container อย่าง Docker ซึ่งเป็นคอนเทนเนอร์รันไทม์เอนจินที่โดดเด่นที่สุดตามข้อมูลจาก RedHat ผู้โจมตีตระหนักดีว่าคอนเทนเนอร์เป็นพื้นที่ร่วมในหลายองค์กร ดังนั้นจึงเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าเพื่อเพิ่ม ROI ของตน ด้วยมัลแวร์ที่สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มและสามารถใช้เป็นจุดต่อไปยังคอมโพเนนท์อื่นๆ บนระบบโครงสร้างพื้นฐานของเหยื่

 รายงานดังกล่าว ยังเตือนว่าเหล่าอาชญากรได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในมัลแวร์ Linux ซึ่งเรื่องนี้ไม่ปรากฎในการสังเกตการณ์ครั้งก่อนหน้านี้ โดยข้อมูลจาก Intezer ชี้ให้เห็นการเพิ่มขึ้นของแรนซัมแวร์ Linux ที่มีโค้ดใหม่ถึง 146% วันนี้อาชญากรยังคงมุ่งมั่นแสวงหาวิธีในการสเกลการโจมตีบนสภาพแวดล้อมคลาวด์ ธุรกิจต่างๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่ม visibility ในโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดของตน สภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ที่สร้างขึ้นบนมาตรฐานที่เอื้อต่อการทำงานข้ามระบบและมาตรฐานแบบเปิด จะช่วยให้องค์กรสามารถตรวจจับจุดบอด เร่งสปีด และตอบสนองเหตุซิเคียวริตี้ได้โดยอัตโนมัติ

ข้อค้นพบเพิ่มเติมจากรายงานปี 2565 ยังคลอบคลุมถึง

  • เอเชียเป้าโจมตีสูงสุด จากการสังเกตของไอบีเอ็ม เอเชียประสบกับการโจมตีมากกว่า 1ใน 4 ของเหตุที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปี 2564 ซึ่งมากกว่าภูมิภาคอื่น โดยธุรกิจบริการทางการเงินและการผลิต ประสบกับเหตุโจมตีนับเป็นเกือบ 60% ของเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเอเชีย
  • การใช้โทรศัพท์ร่วมกับฟิชชิ่งฟิชชิ่งเป็นสาเหตุการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดในปี2564 ในการทดสอบการเจาะระบบของ X-Force Red อัตราการคลิกในแคมเปญฟิชชิ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าเมื่อทำร่วมกับการโทรศัพท์

รายงานฉบับนี้ นำเสนอข้อมูลที่ไอบีเอ็มรวบรวมจากทั่วโลกในปี 2564 เพื่อมอบเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแลนด์สเคปของภัยคุกคามทั่วโลก และเป็นมุมมองให้ผู้เชี่ยวชาญด้านซิเคียวริตี้ได้ทราบถึงภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตนมากที่สุด โดยสามารถดาวน์โหลด IBM Security X-Force Threat Intelligence Index ปี 2565 ฉบับเต็มได้ที่ https://www.ibm.com/security/data-breach/threat-intelligence/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยชูอาหารเป็น Soft Power ดันต้มยำกุ้งดึงดูดนักลงทุน ในงาน World Economic Forum 2025

ต้มยำกุ้งไทยโดดเด่นใน World Economic Forum 2025 ที่ดาวอส! นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ชู Soft Power ด้านอาหารไทย พร้อมดึงดูดนักลงทุนด้วยนวัตกรรมเกษตรกรรมและศักยภาพเศรษฐกิจไทย...

Responsive image

ตะลุย Davos ส่อง 5 ประเด็นหลัก ใน World Economic Forum

สำรวจประเด็นสำคัญจากงาน World Economic Forum 2025 ที่ Davos เวทีประชุมระดับโลกที่รวมผู้นำหลากหลายวงการ เพื่อหารือเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พร้อมบทบาทไทยในเวทีนานาชาติ...

Responsive image

Trump ไฟเขียว เปิดทางให้ Elon Musk-Larry Ellison เข้าซื้อกิจการ Tiktok

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เผยว่าพร้อมพิจารณาให้ Elon Musk หรือ Larry Ellison ซื้อแอป TikTok ซึ่งเป็นของ ByteDance จากจีน ถ้าพวกเขาพร้อมที่จะทำข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลสหรัฐฯ...