iHeartMedia ประกาศชัด ห้ามพนักงานใช้ ‘ChatGPT’ มุ่งพัฒนา AI ของตัวเองแทน | Techsauce

iHeartMedia ประกาศชัด ห้ามพนักงานใช้ ‘ChatGPT’ มุ่งพัฒนา AI ของตัวเองแทน

iHeartMedia เป็นอีกหนึ่งองค์กรต่อจาก Apple, Spotify และ Verizon ที่ประกาศการจำกัดการใช้ ChatGPT ของ OpenAI สำหรับพนักงาน และยังห้ามการใช้ AI ต่างๆ บนอุปกรณ์ของบริษัทอีกด้วย ซึ่ง Bob Pittman CEO และ Rich Bressler CFO ของ iHeartMedia  ได้ส่งอีเมลถึงพนักงานเพื่อเตือนว่าไม่ให้ใช้ ChatGPT สำหรับการป้องกันข้อมูลรั่วไหล รวมถึงข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ iHeartMedia เช่นกัน

ผู้บริหารระดับสูงเขียนในอีเมลที่ส่งถึงพนักงานว่า “แม้ว่าจะเป็นสิ่งล่อตาล่อใจก็ตาม แต่พนักงานของ iHeartMedia จะต้องไม่ใช้ ChatGPT หรือเครื่องมือ AI ที่คล้ายกันบนอุปกรณ์ของบริษัทหรือทำงานของบริษัท หรือใช้เอกสารใดๆ ของบริษัทบนแพลตฟอร์มดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของ iHeart และข้อมูลลับอื่นๆ รวมถึงของพันธมิตรด้วย”

ซึ่งข้อกังวลหลักคือ ChatGPT อาจทำให้ข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์รั่วไหลและจะกลายเป็นประโยชน์กับคู่แข่งได้ ถึงแม้ว่าแชทบอตยอดนิยมของ OpenAI จะได้รับการฝึกอบรบเกี่ยวกับชุดข้อมูลหลักที่รวมถึง Website บทความ และบันทึกออนไลน์อื่นๆ ที่สิ้นสุดไปในปี 2021 แต่ก็ยังคงมีการจัดเก็บข้อมูลตามค่าเริ่มต้นสำหรับระบบ AI

แม้ iHeartMedia จะแบน ChatGPT แต่ก็เคยมีการใช้ AI อย่างจริงจังในอดีตที่ผ่านมาอย่างการใช้ ‘AI DJs’ ซึ่งขณะนี้บริษัทกำลังเดินการเกี่ยวกับ AI ของตัวเองเพื่อปรับใช้ในบริษัทต่างหาก

“แม้ว่า AI ซึ่งรวมถึง ChatGPT และ AI แบบ 'การสนทนา' อื่นๆ จะมีประโยชน์มหาศาลและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง แต่เราต้องการทราบวิธีการใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างชาญฉลาดเพื่อปกป้องตนเอง พันธมิตรของเรา ข้อมูลของบริษัท และข้อมูลผู้ใช้ของเรา ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังอัปโหลดข้อมูล iHeart ไปยังแพลตฟอร์ม AI (เช่น ChatGPT) ระบบจะฝึก AI นั้นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ใครก็ตาม แม้แต่คู่แข่งของเราก็สามารถใช้ข้อมูลนี้ได้ รวมถึงข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่แข่งทั้งหมดของเราด้วย” ผู้นำทั้งสองกล่าว

บริษัทวางแผนที่จะเปิดตัวชุดเครื่องมือ AI 'iHeart-specific' ซึ่งจะออกแบบมาเพื่อใช้ภายในองค์กร แทนที่จะเป็นตลาดทั่วไป เครื่องมือ AI นี้จะรวมถึงการป้องกันไม่ให้ข้อมูลที่เป็นความลับและ IP ของ iHeart รั่วไหลสู่สาธารณะ รายละเอียดบันทึกช่วยจำ แต่จนกว่าจะถึงเวลานั้น พนักงานที่ต้องการปรึกษา ChatGPT หรือเครื่องมือ AI ของบริษัทอื่นจะต้องผ่านการอนุมัติหลายครั้ง นอกเหนือจากการได้รับตกลงจากทีมกฎหมายและ IT ของ iHeart

“ในระหว่างนี้ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของเราเกี่ยวกับ AI และเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่ทำร้ายแบรนด์ของเราหรือของลูกค้า หรือเปิดเผยของมูลที่ละเอียดอ่อนโดยไม่ได้ตั้งใจ การพัฒนาหรืองานที่เกี่ยวข้องกับ ChatGPT หรือเทคโนโลยี AI อื่นๆ จะต้องได้รับการอนุญาตจากหัวหน้างานเท่านั้น ซึ่งโครงการทั้งหมดจะต้องมีการประเมินผลกระทบทางธุรกิจและมูลค่าของโครงการ แผนสำหรับการติดตามและประเมินผล รวมถึงการอนุมัติเอกสารล่วงหน้าจากฝ่ายกฎหมายและ IT ของบริษัท” Pittman และ Bressler เขียน

ทำให้ iHeartMedia เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ห้ามไม่ให้พนักงานใช้ ChatGPT และเครื่องมือ AI อื่นๆ ด้วยสาเหตุหลักที่มาจากความกังวลว่า ChatGPT จะทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหลได้ สำหรับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ เช่น Samsung, Apple และ Verizon ก็ได้ทำการบล็อกเว็บไซต์การเข้าถึงเครื่องมือ AI จากระบบของบริษัทเนื่องจากกลัวว่าจะทำให้ IP รั่วไหลเช่นเดียวกัน จึงทำให้ iHeart และ Apple กำลังพัฒนาเครื่องมือ AI ของตัวเองโดยระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ตกไปอยู่ในมือของคู่แข่งได้

OpenAI ได้ออกมาตอบข้อกังวลเหล่านี้ว่ากำลังแก้ไข และให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะ ‘ไม่แบ่งปันประวัติการแชท’ ระหว่างผู้ใช้งานกับ ChatGPT และกำลังพัฒนาชุดเครื่องมือที่ตอบโจทย์กับธุรกิจโดยเฉพาะเช่นกัน


อ้างอิง

The Verge


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

โตโยต้า เปิดแผนการลงทุน พร้อมทุ่มงบ 4.7 แสนล้านบาทพัฒนารถ EV และ AI

โตโยต้า ประกาศแผนการลงทุนมูเพื่อส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีไฮโดรเจน...

Responsive image

LINE MAN Wongnai เตรียม IPO ไทย-สหรัฐฯ ปี 2025 มุ่งสู่การเป็นมากกว่าแอปฯ สั่งอาหาร

LINE MAN Wongai แพลตฟอร์มบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยอดนิยมของไทย กำลังพิจารณาการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ไทยหรือสหรัฐฯ ภายในปี 2025 ตามข้อมูลจากคุณยอด ชิน...

Responsive image

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม”

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม” สู่เป้าหมายการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค...