รวมแอปพลิเคชันและศูนย์ช่วยเหลือออนไลน์ทางเลือกสำหรับติดตามและป้องกัน COVID-19 ในปัจจุบัน | Techsauce

รวมแอปพลิเคชันและศูนย์ช่วยเหลือออนไลน์ทางเลือกสำหรับติดตามและป้องกัน COVID-19 ในปัจจุบัน

นับว่าสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ล่าสุดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งนี้มีทีท่าว่าจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจต้องใช้เวลานานกว่าเดิมในการควบคุมสถานการณ์ให้กลับมาปกติอีกครั้ง แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายมากแค่ไหน ชีวิตของเรายังคงต้องดำเนินต่อไปด้วยความไม่ประมาท

ดังนั้น เพื่อให้เราทุกคนได้ใช้ชีวิตอย่างปกติที่สุด และปลอดภัยจากโรคร้ายที่เข้าใกล้เรามากขึ้นทุกที เราจึงขอแนะนำ ‘แอปพลิเคชันสำหรับติดตามและป้องกัน COVID-19’ ที่จะช่วยให้เราสามารถทราบสถานะของผู้ติดเชื้อ พื้นที่เสี่ยง ช่องทางการติดต่อแพทย์ และเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

1. AOT Airports 

‘AOT Airports’ เป็นแอปพลิเคชันสำหรับติดตามตำแหน่งของกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศและมาใช้บริการภายในสนามบิน ซึ่งจะติดตามตำแหน่งของผู้ใช้งานด้วยระบบ GPS นอกจากนี้แอปพลิเคชั่นดังกล่าว ยังสามารถใช้กรอกแบบฟอร์ม ต.8 (ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ) ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น สำหรับใครที่มีความจำเป็นจะต้องเดินทางและใช้บริการสนามบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ แอปพลิเคชันนี้ จะทำให้คุณสามารถเดินทางได้โดยสวัสดิภาพ

2. DDC-Care 

‘DDC-Care’ เป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกสร้างขึ้นโดยกรมควบคุมโรค (Department of Disease Control) ซึ่งจะช่วยในการติดตามตำแหน่งและประเมินสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในระหว่างการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ยิ่งกว่านั้น หากเราประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับเชื้อ ระบบภายในแอปพลิเคชันสามารถแนะนำให้เราติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อความช่วยเหลือได้อีกด้วย

3. หมอชนะ

‘หมอชนะ’ แอปพลิเคชั่นฝีมือคนไทยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการติดตามและป้องกันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ โดยแอปพลิเคชั่นนี้จะติดตามตำแหน่งของผู้ใช้งานด้วยระบบ GPS และติดตามการอยู่ในตำแหน่งใกล้กันของผู้ใช้งานด้วยระบบ Bluetooth อีกทั้งยังสามารถติดตามการเดินทางของผู้ใช้งานผ่านการเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ แอปพลิเคชั่นหมอชนะ ยังมีระบบ Trace Back ที่ช่วยให้เราสามารถติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อได้อีกด้วย

4. สบายดีบอต 

‘สบายดีบอต’ เป็นแอปพลิเคชั่นทาง LINE ที่สร้างขึ้นสำหรับบันทึกสุขภาพและกิจกรรมที่มีการติดต่อกับสังคมของผู้ใช้งาน เพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบและรักษาทางการแพทย์เมื่อเกิดจำเป็น สำหรับการใช้งานนั้น สามารถใช้งานได้ง่ายๆผ่าน LINE เหมาะสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ยิ่งกว่านั้น เรายังสามารถติดตามรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 จากกรมควบคุมโรคได้โดยตรงเลยทีเดียว

5. NIEMS-Care 

‘NIEMS-Care’ นับเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชน สำหรับหลักการทำงานของแอปพลิเคชันนี้ แต่ละครัวเรือนจะมีตัวแทนทำหน้าที่รายงานสถานะสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือนเป็นประจำทุกวัน โดยมีผู้ใหญ่บ้านหรือผู้แทน และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เป็นผู้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์จากข้อมูลที่แรากฏบนแอปพลิเคชัน ซึ่งจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่เสี่ยงสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

6. Traffy Fondue 

‘Traffy Fondue’ แอปพลิเคชันทาง LINE ที่คอยแจ้งและรายงานการเดินทางเข้ามาในพื้นที่ของบุคคลกลุ่มเสี่ยงให้กับกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่อเป็นการป้องกันตนเองไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่บุคคลกลุ่มเสี่ยงพักอาศัยโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังช่วยให้ผู้คนในชุมชนระมัดระวังในการติดต่อสัมผัสกับบุคคลกลุ่มเสี่ยงมากขึ้นอีกด้วย

7.Doctor A to Z 

Doctor A to Z เป็นเเอปพลิเคชันทางการเเพทย์ที่ช่วยป้องกันทั้งหมอและคนไข้เพื่อไม่ให้เสี่ยงเมื่อต้องออกไปพบเเพทย์ที่โรงพยาบาลผ่านการใช้ระบบออนไลน์ที่เรียกว่า teleconsult ที่ช่วยให้คนไข้หาหมอจากที่บ้านผ่านวิดีโอคอลแบบ online real time ปัจจุบันเป็นหนึ่งในช่องทางให้คำปรึกษาแก่ประชาชนที่มีอาการต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อเป็นทางเลือกในการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่อยู่ห่างไกล หรือ มีข้อจำกัดในการเข้ารับคำปรึกษาจากสถานพยาบาลในพื้นที่

8. Card2U

แอปพลิเคชันฝีมือคนไทยที่ผลิตมาเพื่อคนไทย และเป็นตัวช่วยในการสอดส่องเรื่องการระบาดของ COVID-19 ก็คือ ‘Card2U’ ที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากเว็บไซต์ ThaiFightCOVID ซึ่งแอปฯ นี้จะมีการนำเสนอข่าวสาร ทั้งข่าวด่วนและข่าวประจำวันเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาด สถิติจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ พื้นที่เสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง มีช่องทางตรวจสอบข่าวปลอม และยังสามารถดูประกาศต่างๆ จากภาครัฐได้ รวมไปถึงเมนูสำหรับบันทึกอาการ และลำดับการเดินทางของผู้ใช้งานตามการเช็คอินในสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบสถานพยาบาลที่มีบริการตรวจเชื้อไวรัส และมีการแจกโปรโมชั่นจากร้านอาหาร ร้านค้า และบริการต่างๆ ในช่วงของการระบาดอีกด้วย

9. ใกล้มือหมอ 

แอปพลิเคชันที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ หรือ สสส. เป็นแอปฯ สำหรับใช้ตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยจะมีทั้งคลิปวิดีโอสั้นๆ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล ซึ่งผู้ใช้สามารถบันทึกลักษณะอาการลงไป และสามารถคอยติดตามผลย้อนหลังได้ และสำหรับบุคคลที่มีข้อสงสัยด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 สามารถไปพิมพ์คำถามทิ้งไว้ และหลังจากนั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญมาตอบของท่าน นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเช็คตำแหน่งสถานพยาบาลใกล้ตัวท่านที่สามารถไปตรวจหาเชื้อ COVID-19 ได้อีกเช่นกัน

10. Away COVID-19

มินิแอปฯ ที่เป็นตัวช่วยในช่วงของการระบาด คือ ‘Away COVID-19’ ซึ่งสามารถใช้งานง่ายๆ ได้ผ่าน LINE แอปพลิเคชัน พัฒนาโดยบริษัท MAPEDIA โดยในแอปฯ จะมีแผนที่แสดงสถานะของผู้ติดเชื้อในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถทราบได้ทันที่ว่าบริเวณนั้นๆ มีผู้ติดเชื้อจำนวนกี่คน พวกเขาเข้ารับการรักษา หรือกักตัวแล้วหรือยัง นอกจากนี้ยังสามารถใช้แอปฯ นี้ช่วยค้นหาเส้นทางไปสถานพยาบาลที่มีบริการตรวจเชื้อ COVID-19 มีข่าวสารสถิติของผู้ติดเชื้อในประเทศไทย และยังมีข้อมูลของสถานที่บริจาคสิ่งของ และตำแหน่งร้านเวชภัณฑ์ต่างๆ

11. Ooca x Covid-19 

แอปพลิเคชันบริการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตผ่านวิดีโอคอล สามารถเลือกจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และเลือกเวลาในการให้ปรึกษาได้ปัจจุบันทาง Ooca ได้เปิดบริการพิเศษที่ชื่อว่า Ooca x Covid-19 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อาจมีภาวะเครียดหรือตื่นตระหนก ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกักตัว

ศูนย์ช่วยเหลือออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเเพร่ระบาดของไวรัส Covid-19

นอกจากกลุ่มเเอปพลิเคชันที่สามารถเช็คสถานที่เสี่ยงและตรวจสอบความเสี่ยงที่เกี่ยวกับไวรัส Covid-19 แล้วยังมี Solution จากกลุ่ม Startup ที่เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยสนับสนุนการป้องกันการเเพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในด้านต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้คนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม อาทิ

สายด่วนกรมการแพทย์ และ สบายดีบอต

อีกหนึ่งช่องทางสำหรับการค้นหาที่พักในโรงพยาบาล หรือ เตียงสนาม หากเป็นกลุ่มคนที่ตรวจหาเชื้อ Covid-19 เเล้วผลตรวจออกมาว่าติดเชื้อ สามารถโทรเบอร์สายด่วนเพื่อสอบถามในเรื่องของที่พักเพื่อให้ทางกรมการเเพทย์ดำเนินการหาและจัดพื้นที่หรือ เตียงนอนพักไว้ให้ท่านนอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อผ่านไลน์ที่ชื่อ สบายดีบอต ผ่านการสเเกน QR Code Code ซึ่งต้องแอดไลน์และให้ชื่อที่อยู่ สถานที่ติดต่อ และข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ

เบอร์สายด่วน 1669 หรือ 1668 สายด่วนกรมการแพทย์ (เฉพาะกิจ) รับสาย 08.00-22.00 น.ทุกวัน 1330 สายด่วนสปสช.รับสายตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

อ้างอิง: www.nstda.or.th, fukuoka.thaiembassy.org, news.thaipbs.or.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...