หลังจากที่มีคำสั่ง lockdown ประเทศเกิดขึ้นในอินเดีย และห้ามเดินทางระหว่างเมืองตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม จนถึง 14 เมษายน ทำให้อินเดียต้องปิดทำการรถไฟเป็นครั้งแรกในรอบ 167 ปี และได้มีการเปลี่ยนตู้รถไฟเก่ากว่า 20,000 ตู้ให้เป็นหอพักผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19
การรถไฟอินเดียถือเป็นผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และยังได้ดำเนินกิจการโรงพยาบาลกว่า 125 แห่งทั่วประเทศ ดังนั้นจึงมีความเชี่ยวชาญในการขยายจำนวนเตียงผู้ป่วยเคลื่อนที่เป็นอย่างดี โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 1991 การรถไฟอินเดียมีประสบการณ์ในการบริหารโรงพยาบาลบนรถไฟ Lifeline Express ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และศัลยกรรมขั้นสูงสำหรับผู้ใหญ่และเด็กบนการทำโรงพยาบาลเคลื่อนที่ที่ได้เดินทางไปทั่ว 19 รัฐของอินเดียและปฏิบัติต่อผู้คนกว่า 1 ล้านคนมาแล้ว
โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมาอินเดียมีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 อยู่ที่จำนวน 4,288 ราย และเสียชีวิตอยู่ที่ 117 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชาการที่มีอยู่กว่า 1,300 ล้านคน แต่ระบบสาธารณสุขของอินเดียก็ยังไม่ได้ครอบคลุมได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นการแปลงรถไฟเป็นหอผู้ป่วยเคลื่อนที่เพิ่มเติมจึงสามารถช่วยลดความกดดันทางบริการสาธารณสุขลงได้หากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับตู้รถไฟที่ได้แปลงเป็นหอพักผู้ป่วยนั้น แต่ละตู้จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้มากถึง 16 คน และตู้ข้าง ๆ ตู้หอพักนั้นจะเป็นห้องพักของบุคลากรทางการแพทย์ และมีห้องสำหรับเก็บเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นโรงพยาบาลรถไฟเคลื่อนที่นี้จะมีความพร้อมที่จะถูกส่งไปยังสถานที่ใดของอินเดียก็ได้ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตโรงพยาบาลไม่เพียงพอ หากมีจำนวนผู้ป่วยไวรัส COVID-19 เพิ่มสูงขึ้น พร้อมกันนี้ในหน่วยงานสาธารณสุขในท้องที่ก็จะมอบหมายให้แพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครไปกับรถไฟนั้นด้วย
ทั้งนี้ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 เดิมอินเดียได้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนเตียงโรงพยาบาลอยู่แล้ว โดยข้อมูลจาก OECD ระบุว่าอินเดียมีโรงพยาบาลให้บริการเพียง 0.5 เตียงต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองเท่านั้น และมีความพร้อมในการใช้งานของแต่ละรัฐที่แตกต่างกันด้วย เช่น รัฐพิหารทางทิศตะวันออกของอินเดียมีค่าเฉลี่ยของเตียงอยู่ที่ 0.11 เตียงต่อ 1,000 คนในขณะที่รัฐเบงกอลทางฝั่งตะวันตกมี 2.5 เตียงต่อ 1,000 คน
หากย้อนกลับมามองในประเทศที่มีความพร้อมอย่างจีน จะมีค่าเฉลี่ยของเตียงโรงพยาบาลอยู่ที่ 4 เตียงต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนที่จีนจะมีการโรงพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วยไวรัส COVID-19 ภายใน 10 วัน ในจังหวัดหูเป่ยซึ่งเป็นศูนย์กลางของการระบาดของโรค
“เราได้เห็นสิ่งที่จีนประสบมาแล้ว ดังนั้นการเพิ่มโรงพยาบาลมันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งในระยะสั้นที่เกิดการระบาดอยู่ และในระยะยาวต้องมีการทำให้เป็นระบบมากขึ้น หลังจากที่การระบาดในครั้งนี้จบลง" Shahid Jameel นักไวรัสวิทยาและ CEO ของ Wellcome Trust / DBT India Alliance องค์กรการกุศลสาธารณะที่ให้ทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและชีวการแพทย์ของอินเดีย กล่าว
Spotify : https://spoti.fi/2Rs259p
Podbean : https://bit.ly/2JSfHqn
Soundclound : https://bit.ly/3eceE2o
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด