ม.มหิดล ผลักดันแหล่งทุนสตาร์ทอัพฯ iNT บ่มเพาะ สานต่อนวัตกรรมยุคใหม่สู่สังคม | Techsauce

ม.มหิดล ผลักดันแหล่งทุนสตาร์ทอัพฯ iNT บ่มเพาะ สานต่อนวัตกรรมยุคใหม่สู่สังคม

หากเปรียบสตาร์ทอัพคือ “นักรบเศรษฐกิจใหม่” ที่จะมาช่วยพลิกประเทศให้มีความเจริญเติบโตมากขึ้น การปั้นนักรบให้มีอาวุธที่แหลมคมและมีคลังเสบียงอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ดังนั้น การเริ่มต้นที่จะประสบความสำเร็จได้  การมีเงินทุนที่เพียงพอเป็นปัจจัยแรก ที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และดำเนินการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่มีเงินทุนที่เพียงพอ อาจทำให้ธุรกิจของคุณไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ตามแผนที่วางไว้  แต่หากต้องการหาเงินทุนเพิ่มเติม ควรพิจารณาหานักลงทุนหรือร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT เป็นส่วนงานของ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเป้าหมายสำคัญในการนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ รวมไปถึงการพัฒนา สนับสนุน และผลักดันให้นวัตกรรมสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

สถาบันฯ iNT ยังมีการสนับสนุนการบ่มเพาะสตาร์ทอัพและธุรกิจนวัตกรรมต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการ รวมถึงการช่วยเสาะหาแหล่งทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน สำหรับสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยให้สามารถเติบโตและประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว 

โดยในปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ ภายใต้การบ่มเพาะของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อช่วยสนับสนุนให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ความท้าทาย รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมไทย

ผลงานของสตาร์ทอัพที่ได้รับทุน ได้แก่ ผลงาน “MindMentor พี่เลี้ยงส่วนตัวและแชทบอทปัญญาประดิษฐ์เพื่อ การดูแลตนเองและสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน” ของ บริษัท มายด์บอท จำกัด เป็นโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแชทบอทและปัญญาประดิษฐ์เข้ากับกระบวนการทางจิตวิทยา ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหารูปแบบสมดุลชีวิตของตนเองได้จากการคุยกับนักจิตวิทยา พูดคุยในแต่ละวัน เพื่อกระตุ้นสร้างสมดุลในชีวิต 

ผลงาน “แพลตฟอร์มและระบบไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อแขนเทียมจากยางพาราดัดแปลงและซิลิโคน” ของ บริษัท เอ อาร์ ทิ เมด จำกัด (ArtiMed) พัฒนาต่อยอดอุปกรณ์แขนเทียมสำหรับฝึกหัตถการเจาะเลือด โดยการใช้เทคโนโลยี มอเตอร์ เซนเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลผลข้อมูลดิจิทัล โดยการนำเอาเทคโนโลยีการผลิตแขนเทียมที่มีความยืดหยุ่นคล้ายแขนมนุษย์ มาเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าควบคุมแรงดัน เพื่อมุ่งหวังให้การฝึกหัตถการนี้สามารถเพิ่มทักษะ และลดความเสี่ยงให้แก่คนไข้และบุคลากรทางการแพทย์ 

ผลงาน “เอไอไทยเจน: แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์” ของบริษัท เอม โกลบอล อินโนเวชั่น จำกัด เป็นนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยอาศัยเทคโนโลยี AI และ Web / Mobile application ทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยไม่ต้องอาศัย server ขนาดใหญ่ ช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการได้ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัด (sensors) ต่าง ๆ และนำข้อมูลมาประมวลผลและควบคุมได้ สามารถขยายการใช้งานไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ 

ผลงาน “TOS Platform สำหรับควบคุมหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบแหล่งกำเนิดรังสีเคลื่อนที่” ของ บริษัท พรีเมียร์ ออโตเมชั่น เซนเตอร์ จำกัดร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันคิดค้นหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบกำเนิดรังสีเคลื่อนที่ และต้องการที่จะพัฒนาแพลตฟอร์ม Total Operation System หรือ TOS Platform ที่ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ระยะไกลสำหรับการฆ่าเชื้อโรค 

สำหรับในประเทศไทย มีแหล่งเงินทุนมากมายทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่จะมาช่วยสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการไทยสามารถรันธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเป็นสะพานเชื่อมโยงผลักดันสตาร์ทอัพในทุกระดับ ให้มีศักยภาพพร้อมเติบโต ทั้งในระดับประเทศไปจนถึงระดับสากลต่อไปในอนาคต 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bluebik กางแผนธุรกิจปี 2568 ปักธงผู้นำ AI Transformation ในไทย ตั้งเป้าโต 20% ในปีหน้า

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร ประกาศปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่โดยใช้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผ่าน...

Responsive image

NIA จับมือ Business Finland ต่ออายุ MOU พัฒนานวัตกรรม & สตาร์ทอัพ ไทย-ฟินแลนด์อีก 5 ปี

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Business Finland ได้ต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอีก 5 ปี...

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...