กสิกรไทยเปิดบริการหนังสือค้ำประกันบน Blockchain ครั้งแรกของโลก ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้งานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็น 35% | Techsauce

กสิกรไทยเปิดบริการหนังสือค้ำประกันบน Blockchain ครั้งแรกของโลก ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้งานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็น 35%

กสิกรไทยเปิดโลกใหม่บริการหนังสือค้ำประกันมูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เป็นครั้งแรกของโลก สร้างมาตรฐานใหม่หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ลดขั้นตอนเวลา ต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยสูงสุด  หนุนภาคธุรกิจขับเคลื่อนเร็วขึ้น 4 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ-เอกชนร่วมพัฒนาใช้นวัตกรรมนี้ หวังดันสัดส่วนหนังสือค้ำประกันผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเป็น 35% สิ้นปีหน้า

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายระบบเก็บรักษาและเรียกใช้เอกสารยุค 4.0 ที่มีความปลอดภัยสูง เริ่มเข้ามาพลิกโฉมหน้าธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเอกสารให้ดีขึ้น เช่นบริการหนังสือค้ำประกัน ซึ่งรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจขนาดใหญ่ กำหนดให้บริษัทคู่ค้าต้องวางหนังสือค้ำประกันจากธนาคารเพื่อความมั่นใจในการประกอบธุรกิจร่วมกัน ดังนั้นเศรษฐกิจไทยจึงมีหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารต่าง ๆ หมุนเวียนในระบบเป็นจำนวนมาก

ธนาคารกสิกรไทย จึงร่วมกับ IBM ในการนำเทคโนโลยี Blockchain สร้างระบบต้นแบบใช้รับรองเอกสารต้นฉบับ นอกจากนี้ ได้ทำการทดสอบบริการบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย และจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล และบจก. พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมพัฒนาบริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยี ฺBlockchain (Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อยกระดับการจัดการเอกสารหนังสือค้ำประกันแก่หน่วยงานผู้รับหนังสือค้ำประกัน และคู่ค้าผู้วางหนังสือค้ำประกัน กล่าวคือรัฐวิสาหกิจหรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีคู่ค้าจำนวนมากจะเชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้าทั้งหมดบนมาตรฐานเดียวกันด้วยเทคโนโลยี Blockchain  ซึ่งเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 100% ตลอดกระบวนการตั้งแต่เริ่มจนจบโดยไม่ใช้กระดาษ ปลอดภัยสูง ตรวจสอบได้ง่าย และยังปลอมแปลงยาก รวมทั้งสะดวกรวดเร็วกว่ารูปแบบเดิม ซึ่งสามารถเข้าตรวจสอบได้ ทุกที่ ทุกเวลา และจะบันทึกประวัติต่อเป็นห่วงโซ่แบบอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารต่าง ๆ ได้ในอนาคต บริษัทผู้รับหนังสือค้ำประกันจึงเข้าระบบเพื่อดูเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้าที่ออกโดยธนาคารต่าง ๆ ได้ จากการเข้าระบบเพียงครั้งเดียว

บริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยี Blockchain จึงมีประโยชน์ต่อธุรกิจใน 6 ด้าน ได้แก่

  1. ความปลอดภัย มีการจัดเก็บข้อมูลขึ้นบนระบบบล็อกเชนที่มีมาตรฐานเดียวกันและตรวจสอบสถานะได้ตลอดเวลา
  2. ความเร็ว ช่วยลดเวลาขั้นตอนด้านเอกสารจาก 24 ชั่วโมง เหลือเพียง 30 นาที
  3. การลดต้นทุน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการจัดการเอกสารลง 2 เท่า
  4. การเพิ่มประสิทธิภาพภาคธุรกิจให้จัดการเอกสารได้รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา
  5. ข้อมูลรวมศูนย์ ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกัน
  6. การสร้างโอกาสทางธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น โดยการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านฐานข้อมูลที่มีมาตรฐานร่วมกัน สามารถเชื่อมต่อเพื่อต่อยอดได้ในอนาคต

นายพิพิธ กล่าวตอนท้ายว่า ในปี 2560 คาดว่าประเทศไทยจะมีการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 1.35 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีที่ผ่านมา 8% ในจำนวนนี้เป็นหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท ที่ส่วนแบ่งตลาด 25% เป็นอันดับหนึ่ง เป็นการใช้บริการหนังสือค้ำประกันผ่านสาขา 80% และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ 20%

ซึ่งธนาคารตั้งเป้าว่า ในสิ้นปี 2561 จะสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็น 35%  โดยเป็นสัดส่วนที่ใช้ผ่าน Blockchain 5% ทั้งนี้เชื่อมั่นว่า บริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยี Blockchain ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกนี้ จะถูกนำไปใช้และพัฒนาให้เป็นมาตรฐานใหม่ที่เป็นสากล เพราะ Blockchain จะเอื้อให้ทุกภาคส่วนในระบบเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ร่วมกัน ช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...