ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันมีคนไทยเป็นจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย เจ้าของร้านค้าขนาดเล็ก กลุ่มอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเงินทุนเสริมสภาพคล่อง จึงน่าจับตาว่า กสิกร อินเวสเจอร์ (KIV) บริษัทโฮลดิ้งภายใต้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย ที่เพิ่งแยกตัวออกมานั้น จะช่วยแก้ปมให้กลุ่มคนที่เป็นฐานใหญ่ของประเทศให้สามารถใช้บริการการเงินในระบบได้มากขึ้นด้วยวิธีใด
ให้ข้อมูลก่อนว่า บริษัทที่แยกมานี้ คุณพัชร สมะลาภา ถอดหมวกใบใหญ่ในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย มาสวมหมวก Group Chairman ของ บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ เคไอวี (KASIKORN INVESTURE: KIV) โดยเปิดเผยในงานแถลงข่าวว่า ที่แยกบริษัทก็เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการรุกธุรกิจให้บริการการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยในกลุ่มที่ยังไม่เคยได้ใช้บริการการเงินในระบบ หรือกลุ่ม Unbanked, Underserved ร่วมกับการใช้ศักยภาพของพันธมิตร และการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของธนาคารในด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาเป็นเครื่องมือในการลดต้นทุนธุรกิจและลดต้นทุนความเสี่ยงด้านเครดิตไปพร้อมๆ กัน
กลุ่มลูกค้า Unbanked, Underserved ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของกสิกร อินเวสเจอร์ หมายถึง กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ไม่มีบัญชีธนาคาร, ผู้ที่มีบัญชีธนาคารแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคารได้ ยกตัวอย่าง คนตัวเล็กตัวน้อยที่ทำธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งไม่ได้มีเงินเดือนเข้าทุกเดือนแบบชาวออฟฟิศ และความเคลื่อนไหวของตัวเลขในบัญชีธนาคารก็มากบ้าง น้อยบ้าง รายรับก็ไม่ใช่ตัวเลขที่เข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้มีโอกาสน้อยในการใช้บริการการเงินขั้นพื้นฐานกับธนาคาร โดยเฉพาะในรายที่ต้องการขอสินเชื่อจากธนาคารมาขยายธุรกิจ เพราะธนาคารจะขอดูบันทึกความเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร (Statement) ประกอบการพิจารณาการให้สินเชื่อและการพิจารณาวงเงิน แต่เมื่อตัวเลขขาเข้าไม่สม่ำเสมอก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่า ลูกค้ารายย่อยที่ได้รับสินเชื่อไปแล้วจะสามารถชำระเงินคืนได้ตามนัด
ธนาคารกสิกรไทยจึงวางยุทธศาสตร์เรียกลูกค้า - ลดต้นทุน โดยแยก กสิกร อินเวสเจอร์ ออกมา ‘ลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร’ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งทั้งของธนาคารและพันธมิตรด้วยการสร้างรายได้บนความเสี่ยงที่คุ้มค่า จากต้นทุนที่เหมาะสม โดยการทำธุรกิจการเงินรูปแบบใหม่ที่ผสมผสาน การใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งด้าน IT & Data ขององค์กร เช่น Big Data, AI, Machine Learning, Data Analytics มาเป็นเครื่องมือในการพิจารณา การให้บริการลูกค้า สร้างรายได้และลดต้นทุนธุรกิจในด้านการดำเนินงาน (Operating Cost) และความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) ผ่านบริษัทในโครงสร้าง 14 แห่ง โดยเมื่อพิจารณาจากรายชื่อบริษัท เชื่อว่าผู้อ่านจะเห็นภาพชัดขึ้น ว่ากสิกรเปิดดีลกับพันธมิตรที่มีฐานลูกค้าจำนวนมากอยู่แล้ว เช่น LINE และ Grab ซูเปอร์แอปใกล้ตัวที่มีผู้ใช้งานคนไทยจำนวนมาก และทุกๆ การใช้งาน การใช้จ่าย ก็จะมีการบันทึกข้อมูลจากความยินยอมจากลูกค้าอัตโนมัติ
ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของกสิกร อินเวสเจอร์ มีอยู่ 14 แห่ง รวมมูลค่าการลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท มีดังนี้
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพในแอปพลิเคชัน LINE ชื่อ LINE BK
บริษัท กสิกร ไลน์ อินชัวร์รันส์ โบรกเกอร์ จำกัด (KASIKORN LINE INSURANCE BROKER CO., LTD.)
ธุรกิจนายหน้าประกันที่บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด เข้าไปลงทุน 100%
ธุรกิจให้บริการ e-Wallet เพื่อเป็นโซลูชันธุรกรรมการเงิน และบริการสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย
ธุรกิจให้บริการพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจในการอนุมัติสินเชื่อ
ธุรกิจบริการสินเชื่อและบริการทางการเงิน แก่กลุ่มลูกค้าถูกดี และบริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว
ธุรกิจบริหารจัดการร้านค้าปลีก ภายใต้ชื่อร้านถูกดี มีมาตรฐาน
ธุรกิจที่กสิกร อินเวสเจอร์ ร่วมจัดตั้งกับ บัซซี่บีส์ เพื่อต่อยอดพัฒนาระบบ Loyalty Management ครอบคลุมถึงการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม CRM
ธุรกิจที่ให้บริการแพลตฟอร์ม CRM, Loyalty Platform & Privileges เพื่อเชื่อมและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
ธุรกิจให้บริการระบบรับชำระเงินดิจิทัล
ธุรกิจให้บริการสินเชื่อรถยนต์
ธุรกิจให้บริการสินเชื่อรถยนต์
ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือหนี้เสีย และติดตามหนี้
ธุรกิจที่ธนาคารกสิกรไทยและเจเอ็มทีร่วมกันลงทุนจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Loan)
ธุรกิจบริการในรูปแบบของซูเปอร์แอปที่ใช้ในการเรียกรถ ส่งอาหาร ส่งของ และสั่งซื้อสินค้า
และอยู่ระหว่างเตรียมการสำหรับบริการธุรกิจออนไลน์แพลตฟอร์ม Travel Ecosystem Platform
โดยทั่วไป การเก็บข้อมูลบุคคลโดยบริษัทหรือแพลตฟอร์มใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า/ผู้ใช้งานก่อน จึงจะบันทึกข้อมูลลูกค้าเอาไว้ได้ และเนื่องจากแต่ละบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับพิจารณาการให้สินเชื่อรายบุคคล กสิกรไทยจึงเดินหน้านำเทคโนโลยี Data Analytics และ AI ขององค์กรมาพัฒนาเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลจากธนาคารและพันธมิตร มาประมวลผลข้อมูลเป็นเครือข่าย เช่น ข้อมูลลูกค้ากว่า 20 ล้านรายที่ใช้บริการ K PLUS, ข้อมูลการเข้าใช้บริการในสาขาต่างๆ, ข้อมูลจาก 14 บริษัทในโครงสร้างของกสิกร อินเวสเจอร์
ข้อมูลที่ลิงก์ถึงกันนี้จะทำให้เห็นพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ประวัติการชำระบิล ชำระหนี้ของผู้ใช้งาน และการมีข้อมูลที่มากพอก็สามารถนำมาวิเคราะห์รูปแบบการใช้จ่ายรายบุคคลได้ เพื่อนำเสนอบริการทางการเงินให้แก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น ในทุก Ecosystem ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดทางให้ฟรีแลนซ์ เอสเอ็มอี พ่อค้าแม่ค้า ที่มีการบริหารจัดการเงินได้ดีและมีความรับผิดชอบ ได้รับการพิจารณาสินเชื่อผ่านระบบอย่างรวดเร็ว รู้ผลไว โดยไม่ต้องยื่น Statement และไม่ต้องรอผลการพิจารณาเป็นวันๆ หรือเป็นสัปดาห์อีกต่อไป
“อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ยังต้องการดู Statement แต่เนื่องจากผู้ใช้งานอาจปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ตัวเลขผ่านเกณฑ์ได้ ดังนั้น เราจึงหาทางเพื่อจะได้ข้อมูลที่แม่นยำขึ้นผ่านช่องทางอื่นโดยใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อ Underbank คนคุณภาพที่อยากได้สินเชื่อเพื่อไปทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นและพร้อมจ่าย” คุณพัชรกล่าว
แต่ความคืบหน้าด้านเทคโนโลยี ณ ปัจจุบัน ธนาคารยังอยู่ระหว่างการนำความสามารถในการหยิบฟีเจอร์มาเชื่อมต่อเพื่อนำข้อมูลจากแต่ละแห่งมาใช้ในการวิเคราะห์ พิจารณาข้อมูลบุคคล ไปจนถึงการประมวลผลเพื่อให้การปล่อยสินเชื่อทำได้อย่างรวดเร็ว ไร้รอยต่อ
และแม้งานนี้จะยาก แต่คุณพัชรกล่าวย้ำว่า “เราจะทำเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นจริง” เพราะธนาคารเองก็ต้องการความมั่นใจว่า ผู้ขอสินเชื่อจะนำเงินไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น หากผู้ขอสินเชื่อกู้เงินไปทำธุรกิจ รายจ่ายหรือบัญชีปลายทางก็ควรจะเป็นซัพพลายเออร์ ไม่ใช่ไหลไปที่การช็อปปิง
ในด้านเทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างการพัฒนานี้ คุณพัชรบอกเพิ่มว่า ใช้เทคโนโลยีที่ธนาคารกสิกรไทยลงทุนและพัฒนาขึ้นเอง เพื่อให้ปรับฟีเจอร์การใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเชื่อมั่นว่า จะเข้ามาลดขั้นตอนการทำงานและลดต้นทุนด้านการดำเนินงานได้ในคราวเดียว ตลอดจนสามารถเพิ่มมูลค่าองค์กรและรายได้ให้แก่ธนาคารต่อไป เพราะเมื่อจำนวนผู้ขอสินเชื่อที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น วงเงินขยายตัวออกไป เป็นการสร้างรายได้ใหม่ให้แก่ธนาคาร ทำให้ธนาคารมีกำไรทางธุรกิจที่สูงกว่าธนาคารบริหารจัดการเอง รวมทั้งทำให้ธนาคารมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด