KBank ชูความสำเร็จ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 หลักสูตรปั้น Startup ไทย สร้างโมเดลธุรกิจปัง | Techsauce

KBank ชูความสำเร็จ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 หลักสูตรปั้น Startup ไทย สร้างโมเดลธุรกิจปัง

ธนาคารกสิกรไทย ประกาศความสำเร็จโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 ถ่ายทอดสูตรความสำเร็จของสตาร์ทอัพระดับโลก ติวเข้ม 8 สัปดาห์ ได้ 8 ทีมสุดท้าย นำเสนอเพื่อชิงเงินรางวัลและผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดธุรกิจ มูลค่ารวม กว่า 800,000 บาท 

ผลทีมโปรเจค อีวี (Project EV) คว้าแชมป์ไปครองกับแผนธุรกิจการให้บริการดัดแปลงรถขนส่งสันดาปภายในเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจ พร้อมบริการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ศูนย์กระจายสินค้า เผยเทรนด์สตาร์ทอัพไทยเสนอไอเดียตอบโจทย์ภาคธุรกิจด้านความยั่งยืนมากขึ้น พร้อมเดินหน้าจัดโครงการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยต่อเนื่อง

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (บีคอน วีซี)

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (บีคอน วีซี) เปิดเผยว่า โครงการKATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 เกิดจากเจตนารมณ์ของธนาคารกสิกรไทย ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เน้นให้ความรู้ความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน โดยมีผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงเทคนิคด้านต่างๆ ให้สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจของตนเองและนำความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม 

ซึ่งธนาคารได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยในปีนี้มีสตาร์ทอัพให้ความสนใจสมัครร่วมโครงการจำนวนกว่า 250 ทีม และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้ารับการอบรมจำนวน 65 ทีม เป็นสตาร์ทอัพที่มาจากหลากหลายประเภทธุรกิจ ครอบคลุมความต้องการของตลาด และมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแข่งขันได้จริง

โดยตลอดระยะเวลาการเรียนรู้อย่างเข้มข้น 8 สัปดาห์ สตาร์ทอัพได้รับการอบรมหลักสูตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย Stanford Thailand Research Consortium นำโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ด้วยองค์ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของการดำเนินธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน 

และมีการคัดเลือกทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานโดดเด่น 8 ทีมสุดท้ายนำเสนอไอเดียธุรกิจที่แตกต่างหลากหลายต่อคณะกรรมการ เช่น เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Educational Technology) เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology) เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (Agricultural Technology ) วิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีขั้นสูงเรื่องน้ำ โซลูชันด้านคาร์บอนเครดิต เป็นต้น โดยสตาร์ทอัพหลายทีมมีการนำเสนอไอเดียเพื่อตอบโจทย์ความต้องการภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อมและการขับเคลื่อนสังคมได้อย่างน่าสนใจ

ผลการแข่งขัน ทีมชนะเลิศได้แก่ ทีมโปรเจค อีวี (Project EV) โซลูชั่นแบบครบวงจรเพื่อดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) เป็นรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) สำหรับธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ 

อันดับที่ 2 ทีม HealthTAG ผู้ให้บริการทางด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้เกิดการเเลกเปลี่ยน เชื่อมโยง และบูรณาการข้อมูลสุขภาพแบบไร้รอยต่อโดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 

อันดับที่ 3 ทีม LEET CARBON ให้บริการโซลูชั่นในการจัดการ ติดตามและตรวจสอบโครงการคาร์บอนเครดิตด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลพื้นฐานธรรมชาติ เพื่อการแก้ปัญหา (Nature Based Solution) อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

โดยทั้ง 3 ทีม ได้รับรางวัลจากโครงการทั้งเงินรางวัลและผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดธุรกิจ มูลค่ารวมกว่า 800,000 บาท  ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการและผ่านเกณฑ์ของหลักสูตรนี้ทุกทีม จะได้รับประกาศนียบัตรจากโครงการ KATALYST by KBank และเอกสารยืนยันการเข้าร่วมและสำเร็จหลักสูตรการเรียนรู้แบบออนไลน์ จาก Stanford Online ซึ่งเป็นใบเบิกทางและโอกาสสำคัญในการขยายเครือข่ายทางธุรกิจกับบริษัทชั้นนำมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

คุณธนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารกสิกรไทยจะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม Startup Community อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดเสวนาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ การนำสตาร์ทอัพมาร่วมโครงการต่อยอดทางธุรกิจกับธนาคาร รวมทั้งการให้คำปรึกษา และแนะนำโซลูชันของทางธนาคารให้แก่สตาร์ทอัพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...