KBank อวดกำไร Q2/65 อยู่ที่ 10,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.36% ส่วนครึ่งปีแรกโต 22,005 ล้านบาท ด้วยรายได้ดอกเบี้ยหนุน | Techsauce

KBank อวดกำไร Q2/65 อยู่ที่ 10,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.36% ส่วนครึ่งปีแรกโต 22,005 ล้านบาท ด้วยรายได้ดอกเบี้ยหนุน

KBank เผยกำไร Q2/65 เติบโต 21.36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 10,793.75 ล้านบาท และลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนเล็กน้อยอยู่ที่ 417 ล้านบาท หรือ 3.72% ซึ่งเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยที่เติบโต เงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ เผยแม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ต้องติดตามแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อที่จะมีผลกระทบต่อภาคครัวเรือน และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK รายงานผลดำเนินการของธนาคารและบริษัทย่อย ครึ่งแรกของปีนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 22,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 2,484 ล้านบาท หรือ 12.72% หลัก ๆ เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจํานวน 5,913 ล้านบาท หรือ 10.22% จากรายได้ดอกเบี้ย เงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร และการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุน ให้ลูกค้าดําเนินธุรกิจได้ตามปกติสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายมาตรการทั้งในและต่างประเทศ

ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจํานวน 4,671 ล้านบาท หรือ 20.28% ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ตามภาวะตลาดของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นการลงทุนตามธุรกิจปกติของบริษัทย่อย รวมทั้งรายได้สุทธิ จากการรับประกันภัย และค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุนที่ลดลง 

สําหรับค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจํานวน 1,860 ล้านบาท หรือ 5.53% หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน นอกจากนี้ ธนาคาร และบริษัทย่อยตั้งสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในระดับที่ใกล้เคียงกับ งวดเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการพิจารณาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

ส่วนกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2565 จำนวน 10,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงจากไตรมาสก่อน 417 ล้านบาท หรือ 3.72% และเพิ่มขึ้นจำนวน 2,484 ล้านบาท หรือ 12.72% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจํานวน 261 ล้านบาท หรือ 0.82% ส่วนใหญ่จากรายได้ดอกเบี้ย เงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ทําให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21%

สําหรับไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจํานวน 32,012 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จํานวน 261 ล้านบาท หรือ 0.82% จากไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ย

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจํานวน 4,187,779 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จํานวน 84,380 ล้านบาท หรือ 2.06% ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ สําหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อ เงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 อยู่ที่ระดับ 3.80% ขณะที่เงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 67,607 ล้านบาท หรือ 2.79% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 64 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเงินหมุนเวียน และสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศ

คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปี โดยการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอยเพิ่มสูงขึ้น หลังทางการไทยผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศ ทั้งนี้ภาคการผลิตยังมีทิศทางอ่อนแอ เพราะต้องรับมือกับต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน

สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี มองว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ต้องติดตามแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อที่จะมีผลกระทบต่อภาคครัวเรือน และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกสิกรไทยและบริษัทย่อยเดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการใหม่ ๆ รวมทั้งการผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เชิงพาณิชย์ในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการธนาคารให้กับประชาชนในวงกว้างสามารถเข้ามาอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ ให้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนและสภาพคล่อง และใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของธนาคาร

อ้างอิง SET

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...