ทุกวันนี้เราทุกคนได้เดินทางมาสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า New Era อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะวงการไหนต่างต้องปรับตัวพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ให้ทัน โดยเฉพาะด้านฝั่งการเงินก็เรียกได้ว่าเป็นจุดที่เติบโตอย่างมากเห็นได้จากการมีเงินลงทุนที่มุ่งสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน Fintech อย่างมหาศาลกว่า 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นี่เป็นแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะขยายนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
ซึ่งสำหรับ KBTG ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลักดันนวัตกรรมการเงินใหม่ ๆ เพื่อสังคมมาโดยตลอดก็ให้ความสนใจกับโลกการเงินใบใหม่นี้เช่นกัน ล่าสุด KBTG ได้จัดงาน KBTG Vision 2025 พร้อมประกาศตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2025 ดันแนวคิด ‘Human First, Universe of Technology’ ปักหมุดเป็นองค์กรอนาคตแห่งการเงินที่มุ่งเน้นการเสริมกำลังบุคลากรเทคโนโลยีและดันนวัตกรรมการเงินผ่าน KBTG Labs อีกทั้งนำเสนอการสร้างสรรค์จักรวาลเทคโนโลยีทางการเงินผลิตภัณฑ์และบริการใหม่เพื่อลูกค้าทุกคนในทุก Ecosystem พร้อมจัดแสดงผลงานตัวอย่างให้ผู้ร่วมงานได้ทดลองใช้งาน
สำหรับภาพรวมของการเงินฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เปิดเผยว่า มีกองทุนชั้นนำอันดับหนึ่งของโลกอย่าง SEQUOIA ที่เปิดกองทุนกว่า 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยเฉพาะเพื่อการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อาจกล่าวได้ว่านี่คือภูมิภาคที่น่าสนใจและมีโอกาสในการเติบโตสูง จุดนี้เองทาง KBTG ก็มีความเห็นเช่นเดียวกันว่าภายในปี 2030 นี้จะเป็นยุคทองของฝั่งเอเชียจึงต้องการเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยีการเงิน โดยปัจจุบันมีการขยายทีมงานในสองประเทศที่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่าง K TECH ในจีนซึ่งเน้นไปที่ทีมพัฒนาด้าน Blockchain และในฝั่งเวียดนามที่มีการพัฒนา Lending as a Service Platform นอกจากนี้ยังมีการขยายไปที่อินโดนีเซียเช่นเดียวกัน ภายใต้เป้าหมายที่จะเป็น Regional Challenger ใน 2 ปีข้างหน้า
ต้องบอกว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะทางด้านนวัตกรรมของ Web 3.0 ครอบคลุมทั้งด้านลูกค้า ผู้ให้บริการ และ Startup ซึ่งด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ทำให้เราได้เห็นสถาบันการเงินพยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีให้พร้อมกับโอกาสที่จะมาถึงนี้ และจะได้เห็น Ecosystem ที่น่าสนใจในแง่ของ Web 2.0 และ Web 3.0 อีกทั้งจะมีผู้เล่นในระดับโลกเริ่มเข้ามาด้วย เป็น 3 ปีหลังที่จะได้เห็น Ecosystem ดังนั้น KBTG จึงต้องเริ่มลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหรือลงทุนในด้านนวัตกรรม
นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2019 จนถึง 2021 ทาง KBTG ได้พัฒนาต่อยอดโครงการอย่างต่อเนื่องจนมีโครงการเกิดขึ้นเพิ่มกว่า 50 เปอร์เซนต์ พร้อมเปิดบริษัทใหม่ 3 ราย อย่าง K TECH KX และ KUBIX สำหรับแอปพลิเคชันเรือธงอย่าง K PLUS ปัจจุบันที่มียอดผู้ใช้งานเกิน 18.6 ล้านราย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้งานมากขึ้นถึง 20 ล้านรายในเร็ว ๆ นี้ ด้วยจุดนี้เองทำให้ K PLUS เป็นแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการเงินไทย การพัฒนาเพื่อสร้างเสถียรภาพและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานจึงเป็นสิ่งที่ทาง KBTG พัฒนาต่อยอดจนสามารถลด Down Time ได้กว่า 66 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยขุนทองที่มีสมาชิกมากกว่า 850,000 คนและ MAKE by KBank ที่มียอดผู้ใช้งานกว่า 400,000 ราย อีกทั้งยังมีการเปิดตัว Kubix ที่ให้บริการ ICO Portal ระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลและ Coral แพลตฟอร์มจำหน่าย NFT ของไทยที่พัฒนาขึ้นโดย KX
ที่ผ่านมานั้น KBTG ยังมีการพัฒนาในด้านของงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างเข้มข้นอีกด้วย อาทิ Face Recignition and Face Liveness และ NLP รวมไปถึง AI ในการตลาด คุณเรืองโรจน์กล่าวว่า “เป้าต่อไปคือการเตรียมตัวขึ้นแท่นองค์กรที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์กรที่ผู้คนใฝ่ฝันจะร่วมงานด้วยอยู่ลำดับหนึ่งในร้อยของโลก โดยเป้าหมายทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ก็จากผู้คนในองค์กร ดังนั้นจึงพร้อมปรับองค์กรทุ่มเทให้กับพนักงานเพิ่มความมีส่วนร่วมและใส่ใจในผู้คน ที่ KBTG เราสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อมาช่วยเหลือมนุษย์โดยฝืมือของมนุษย์ดังนั้นเราจึงเปิดหน้าใหม่ของ KBTG ที่เรียกว่า ‘Human First, Universe of Technology’”
นอกเหนือจากการพัฒนานวัตกรรมอย่างเต็มที่แล้ว ในปีนี้ KBTG ยังพร้อมที่จะผลักดันด้านทรัพยากรบุคคลเช่นกัน คุณวรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้ให้ความเห็นว่า ทุกวันนี้เราไม่ได้มองแค่เรื่องของการแข่งขันทางธนาคารแล้ว แต่เรากำลังมองในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำอย่างไรจะทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้อย่างสะดวก โดย 3 ที่สุดที่ทาง KBTG ตั้งเป้าไว้ก็คือ (1) การเป็นธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน (2) การเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ดีที่สุด และ (3) การเป็นผู้ให้บริการที่ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดด้วย นอกจากนี้ภายในงานคุณวรนุชยังได้ชวนทุกคนชมภาพบรรยากาศอออฟฟิศ K TECH ในประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งถือเป็นบรรยากาศใหม่สำหรับหน่วยงานไทยที่มีโอกาสขยายในต่างแดน
สิ่งสำคัญของ K PLUS คือการ Maintain ระบบ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้งานเยอะอย่างช่วงสิ้นเดือน ที่ต้องสามารถรองรับการใช้งานจำนวนมากได้ ปัจจุบัน KBTG มีแอปพลิเคชันกว่า 500 ตัว ทำให้ต้องเลือกเก็บ พัฒนา และเลิกใช้งาน
สำหรับทิศทางของ KBTG ในปัจจุบันมีการขยายไปอย่างครอบคลุมทั้งบริการทั้งฝั่งของ Customer Ecosystem และ Partner Ecosystem นี่ทำให้ทาง KBTG อยากมุ่งเน้นที่จะสร้างให้องค์กรมีความเป็นองค์กรที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับทุกคน
โดยในภายหลังคุณวรนุชได้เปิดเผยกับทีม Techsauce ว่า สาเหตุที่ KBTG มี Vision 2025 หรือในอีก 3 ปีนั้น เพราะ 3 ปีถือเป็นตัวเลขที่ไม่ยาวนักในการที่จะแสดงให้เห็นว่าเราทำอะไรได้บ้าง ถือเป็นระยะที่สามารถมองเห็นและคาดการณ์ได้ การเติบโตตอนนี้เราไม่ได้โตคนเดียว เราอยากไปให้ถึงการมีลูกค้า 100 ล้านราย ดังนั้นเราจึงเร่งพัฒนาทั้งด้านลูกค้าและพันธมิตร สิ่งสำคัญสุดคือ Speed และ Value ที่สร้างมาด้วยกัน ถ้าพูดถึงนวัตกรรมคิดว่าเราไปได้กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของเป้าที่ตั้งไว้ และในขณะที่ฝั่งจีนก็ไปได้ไกลเช่นกัน ดังนั้นด้านการมีบุคลากรเพิ่มในต่างประเทศเราน่าจะไปถึงด้วย
คุณเรืองโรจน์ได้ให้ข้อมูลเสริมกับ Techsauce ว่า สำหรับในเรื่อง Human First อันดับแรกที่สำคัญที่สุดต้องเริ่มที่ผู้ใช้งาน เราต้องการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน หมายถึงต้องช่วยทำให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น และต้องการสร้าง Customer Journey ที่ดีให้กับลูกค้า ถัดมาคือพันธมิตรและพนักงานของเราทุกคนต้องได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดเพื่อผลักดันให้เกิด Ecosystem ที่ดี นอกจากนี้ยังพร้อมบุกต่อในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานภายใต้แนวคิดที่สร้างสิ่งที่มีความหมายที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ที่ KBTG ตั้งเป้ามาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2018
คุณธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์ Venture Director of KASIKORN X (KX) เล่าว่า KX เริ่มก้าวแรกในปีที่ผ่านมาและต่อยอดจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นในการที่จะสร้างความเชื่อมั่นในการเงินรูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อนให้กับผู้คนอย่าง Digital Asset และ DeFi ภายใต้แนวคิด Build Trust in Trustless World ขณะนี้ได้มีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่าง KUBIX ที่เป็น ICO (Initial Coin Offering) หรือการระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยได้ให้บริการเหรียญ Destiny Token จนสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจาก KUBIX แล้วยังมี Coral ตลาด NFT ของประเทศไทยที่มีความน่าเชื่อถือสูง พร้อมการันตีผลงานด้วยการจดสิทธิบัตรด้วยความร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีการยืนยันตัวตนศิลปินอย่างชัดเจน สามารถจ่ายด้วยค่าเงินไทยบาทปกติ และยังมีมาตราฐานในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานเป็นศิลปินที่หลากหลายสายมากกว่า 120 คน โดยผลงานแต่ละชิ้นถือว่ามีมูลค่าที่สูงและเหมาะสม
ต่อจากนี้ภายในปี 2025 Coral ตั้งเป้าจะเป็น Reginal Paltform พร้อมสร้าง Ecosystem และสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน อีกทั้งยังได้เปิดตัว Coralverse ภายในงานที่ประกอบด้วย Coral Wall 2.0 เป็นเสมือนพื้นที่แสดงผลงานสำหรับนักสะสม NFT และผู้ใช้งานบน Coral ซึ่งมีวิธีการใช้งานที่ง่ายเพียงสแกนและเชื่อมต่อกับ Coral มาพร้อมกับ Coggles ไกด์ประจำแพลตฟอร์มที่จะคอยช่วยแนะนำการใช้งานใน Coral นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งบริการและผลิตภัณฑ์จาก KX ที่น่าสนใจก็คือ Bigfin เครื่องมือผู้ช่วยด้านการลงทุนทำหน้าที่เป็นสมุดจดบันทึกการลงทุน มีจอแสดงผลภาพรวมพอร์ตการลงทุน โดย Bigfin เองก็มีผู้ช่วยแนะนำกสรใช้งานเช่นกัน
และสุดท้ายที่คุณธนะเมศฐ์ ได้พูดถึงก็คือกองทุน KX Endless Captial กองทุนพิเศษที่เข้ามาแก้ painpoint ของ Startup ด้วยการเสนอเงินลงทุนพร้อม Partnership เพื่อสร้าง Ecosystem ให้เกิดขึ้นเพื่อทำงานและสู้ไปพร้อมกับ Startup ถึงแม้ตอนนี้จะไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีเท่าไหร่สำหรับกลุ่มผู้ลงทุน แต่อีกด้านหนึ่งกลับเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการพัฒนาผลงานและนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเรามองว่า KX Endless Capital คือฟันเฟืองหนึ่งในการสนับสนุน Startup ที่น่าสนใจ และพร้อมที่จะเข้าไปผลักดันผลงานที่มีคุณค่าให้เกิดขึ้นในสังคม
ส่วนในประเด็นด้านการอ่อนตัวของค่าเงินบาทและอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน คุณธนะเมศฐ์เผยต่อ Techsauce ว่า Coral User อาจจะได้รับผลกระทบบ้างเนื่องจากมีการใช้สกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินหลักบนแพลตฟอร์ม แต่ว่าถึงอย่างไรเมื่อเทียบเงินบาทกับสกุลอื่นแต่เงินบาทยังมีเสถียรภาพสูงมาก เช่น ศิลปินใน Coral ก็จะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะหากขายงานในราคา 100,000 บาท ก็จะมีโอกาสได้เงิน 100,000 บาทเท่าเดิม ไม่มีการผันผวนตามค่าเงินสกุลอื่น ๆ
และยังให้ความเห็นต่อ Startup ว่า KX ยังพร้อมจับมือร่วมกับ Startup ที่มี Solution ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและใช้แก้ไขปัญหาได้ โดยมองว่าในปี 2025 จะเป็นโอกาสของ Startup ที่จะเติบโต และสร้างผลกระทบต่อโลกและผู้ใช้งานได้
ต่อกันที่ KBTG Labs หรือห้องทดลองของ KBTG ที่เน้นไปที่การทำ Human Interaction Design และทดลองผลิตภัณฑ์บริการทุกอย่างให้รวดเร็ว รวมทั้งผลิตนวัตกรรมที่มีประโยชน์กับ KBank และผู้ใช้งาน เพื่อส่งต่อให้แต่ละหน่วยทำงานต่อให้เกิดผลงานใหม่
ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director, KBTG Labs กล่าวว่า KBTG Labs สามารถเรียกตัวเองได้ว่าเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่นับหนึ่งให้กับองค์กร เป็นการนำไอเดียใหม่มาสร้างให้เกิดผล โดยมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับพันธมิตร หรือพัฒนาในทีม ซึ่งมี 3 ทักษะสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมที่ดีคือ (1) การมีความเข้าใจในประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (2) การมีความเชี่ยวชาญในด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และ (3) การมีความเข้าใจในธุรกิจเพื่อสานต่อให้ผลิตภัณฑ์เติบโตในตลาด อีกทั้งใน KBTG Labs มีการสร้าง Innovation Runway เป็นเครื่องมือและวิธีการทำงานที่เข้ามาช่วยเพิ่มระยะเวลาทำงานให้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตั้งเป้าให้มีความเร็วมากขึ้น 10 เท่าภายใน 3 ปี พร้อมทั้งมีการผนวกเอา AI เข้ามาช่วยทำงานให้เกิดการทำงานที่สะดวกมากขึ้นด้วย ปัจจุบัน KBTG Labs ยังผลักดันด้าน Deep Tech อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของมนุษย์ พร้อมแสดงผลงานที่มีการพัฒนาล่าสุดอย่าง KBTG Smart Checkoutt ระบบช่วยคิดเงินเพียงแค่วางสินค้า ซึ่งมีมาจัดแสดงให้ทดลองภายในงาน
และอีกหนึ่งความสำเร็จที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือการตีพิมพ์วารสารเชิงวิชาการที่มีประโยชน์ต่อโลก โดยที่ผ่านมามีการร่วมมือกับหลายสถาบันการศึกษาและหน่วยวิจัยในการทำงานร่วมกัน หรือแม้กระทั่งร่วมออกแบบหลักสูตรการเรียน และมีการร่วมมืองานวิจัยในระดับสากลกับ MIT Media Lab อีกด้วย ต่อจากนี้จะมีการขยายผลเรื่อย ๆ ในลำดับถัดไป
โดยในภายหลังงาน ดร.ทัดพงศ์ ตอบคำถามที่ว่าในปี 2025 สำหรับ AI จะไปอยู่ที่ไหนได้บ้าง เราต้องย้อนกลับมองที่ KBTG เราได้นำ AI เข้ามาใช้มีจุดประสงค์หลายอย่าง อย่างแรกคือการนำเพิ่มมูลค่าใหม่ ๆ ในสิ่งที่มีอยู่ นำมาช่วยงานมนุษย์ และสุดท้ายนำมาพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า โดยในขั้นถัดไปมองว่า AI จะเป็นเหมือนซอฟต์แวร์คือต้องมีคนเข้ามาจัดการ แก้ไข และดูแลอย่างต่อเนื่อง
จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการมาโดยตลอดนั้น เรามุ่งหวังว่า AI จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจไทย และสามารถทำให้เข้าถึงได้ในต้นทุนที่ต่ำลง แน่นอนว่าในอนาคตไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตามปัญหาที่เราจะพบได้ก็คือเรื่องของการขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากสังคมผู้สูงอายุ นี่คือโอกาสในการนำ AI เข้าไปช่วยสร้าง Productivity ให้มากขึ้น ช่วยทำงานแทนมนุษย์และแก้ปัญหาขาดบุคลากร เราจะสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพเข้าถึงได้กับพันธมิตรทุกระดับและทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมประกันภัย ที่นำ AI ไปทำงานร่วมกับเมืองไทยประกันภัยเพื่อตรวจจับรอยจากอุบัติเหตุบนรถ และในปีนี้ก็เป็น Smart Checkout ในอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งจะมีการต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และ KBTG พร้อมที่จะร่วมงานกับหลายอุตสาหกรรมเพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมต่อไป
โดย ดร.ทัดพงศ์ กล่าวในตอนท้ายไว้ว่า “เราเชื่อว่าเรามี Mission ที่ไม่ธรรมดา และเราเชื่อในการนำคนเก่งในไทยมาร่วมกันทำงาน เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับสังคมและธุรกิจไทย ถึงวันนี้อาจจะยังเห็นภาพไม่ชัด แต่ในอีก 5-10 ปี ผลงานต่าง ๆ จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ เราต้องการคนที่มีทักษะที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็น Design Business และ Technology เพื่อมาร่วมทีม ดังนั้นเราจึงขอชวนคนที่มีความฝันมาร่วมผลักดันสังคมไปกับเรา”
ในช่วงท้ายของกิจกรรม คุณเรืองโรจน์ได้เปิดโอกาสให้ทีม Techsauce ได้สอบถามและได้เปิดเผยว่า KBTG จะมุ่งต่อไปเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมใน Ecosystem อื่น ๆ เหมือนที่ได้เริ่มต้นใน Creator Community ผ่าน Coral แล้ว และยังมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI และ Blockchain ที่ยังมีศักยภาพอีกมาก ผ่านการเติบโตขึ้นของ Web3 ที่จะมีการใช้งานควบคู่กับ Web2 ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันขึ้นเรื่อย ๆ โดย KBTG จะทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาของคนและมีความหมายต่อชีวิต
ทั้งหมดคือก้าวสำคัญของ KBTG ในปีที่ผ่านมา และก้าวใหม่ที่กำลังจะเดินต่อเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อประเทศ ต่อจากนี้เราอาจจะได้เห็น KBTG ในฐานะ Reginal Company ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมและหลากหลายผลงานที่น่าตื่นเต้นในระยะเวลาไม่กี่ปีต่อจากนี้
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด