ทำความรู้จัก LAAB ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ช่วยป้องกันโควิด-19 สำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง | Techsauce

ทำความรู้จัก LAAB ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ช่วยป้องกันโควิด-19 สำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า LAAB หรือยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมกันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังมีข้อสงสัยต่างๆ เช่น เหมาะกับใคร ใช้งานอย่างไร รวมไปถึงมีความสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ และออกฤทธิ์ยาวนานแค่ไหน ฯลฯ ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมคำตอบสำหรับทุกคำถามของคุณไว้ที่นี่ และพร้อมจะพาคุณไปทำความรู้จัก LAAB ให้มากขึ้น

LAAB

  1. LAAB ย่อมาจาก Long-acting Antibody หรือ ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ซึ่งสามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสสายพันธ์ย่อยโอมิครอน BA.1, BA.1.1, BA.2, BA.3, BA.4และ BA.5 ได้ รวมไปถึงยังสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แบบมีอาการได้อีกด้วย

  2. LAAB สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป (น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม) ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคร่วมต่างๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้

  3. สำหรับการใช้งาน LAAB เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 150 มิลลิกรัม โดยมีผลวิจัยสนับสนุนว่าการฉีดยาครั้งเดียวสามารถให้การป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้อย่างน้อย 6 เดือน

  4. ปัจจุบัน LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รวมถึงสหภาพยุโรป และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลกสำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19

  5.  หากมีคำถามว่าบุคคลทั่วไปสามารถรับยา LAAB ได้หรือไม่ คงต้องตอบว่าเบื้องต้นยา LAAB นั้นได้รับ การขึ้นทะเบียนให้ใช้ในกลุ่มประชากรที่เปราะบาง มีความเสี่ยงสูง และมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงประชากรที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ก่อน

  6.  เมื่อไม่นานมานี้ แอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์จากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพของ LAAB ในการใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรครุนแรง และป้องกันการเสียชีวิต โดยผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่า LAAB สามารถมีบทบาทในการใช้รักษาโรคโควิด-19 ซึ่งต้องรอการขึ้นทะเบียนการใช้ในอนาคต

  7.  ทั้งนี้ LAAB มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดี และไม่มีการระบุถึงปัญหาด้านความปลอดภัย โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด ซึ่งส่วนมากมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางและสามารถหายได้เอง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...