Unilever จับมือกับ Lazada ส่งสินค้า FMCG ลุยตลาดออนไลน์เต็มตัว

bittner-sigismondi

Lazada (ลาซาด้า) หนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียน จับมือกับ Unilever (ยูนิลีเวอร์) ในการขยายตลาดค้าปลีกกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคหรือ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) ในภูมิภาคอาเซียน โดยตั้งเป้ารายได้ของความร่วมมือนี้ไว้ที่ 25 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2020

สำหรับดีลนี้ ทั้งสองบริษัทจะทำงานใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นในเรื่อง Supply Chain, Fulfillment, Marketing, Data, Social Commerce และการพัฒนาความสามารถเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตและเข้าถึงคนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

“เป้าหมายคือหาวิธีที่ดีกว่าเดิมในการเข้าถึงชนชั้นกลางให้ทั่วภูมิภาคอาเซียน และสื่อสารกับพวกเขาได้โดยตรง”  Maximilian Bittner กรุ๊ปซีอีโอของ Lazada กล่าว

เมื่อเทียบปี 2015 กับ 2016 สินค้ากลุ่ม FMCG หนึ่งใน category ของ Lazada เติบโตขึ้นถึง 181% จากการจำหน่ายสินค้าของบริษัทต่างๆ มากถึง 39 ล้านชิ้นจากทั่วอาเซียน ทำให้สินค้ากลุ่ม FMCG มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดใน Lazada

ดีลนี้จะทำให้ยอดขายสินค้าออนไลน์ของเราเติบโตขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับสิ่งที่ผ่านมาในปี 2015-2016

Pier-Luigi Sigismondi ประธาน Unilever SE Asia กล่าวถึงการขายสินค้าออนไลน์ของ Unilever ในอาเซียน ซึ่งสังเกตจากการที่ยอดขายในช่วงมีนาคม เดือนเดียวของปี 2017 ได้มากกว่ายอดขายตลอดปี 2016 และยังบอกเพิ่มว่า

เทรนด์ของผู้บริโภคทั้งหมดกำลังไปสู่โลกออนไลน์ ดังนั้น โอกาสนี้จึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น

ในเรื่องหลังบ้าน ข้อมูลการซื้อสินค้าใน Lazada จะเปิดเผยให้ทาง Unilever รับรู้และเข้าใจรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาดูสินค้าในแต่ละครั้งที่เข้าสู่โลกออนไลน์

Challenge of the deal

แม้ Unilever เห็นว่าอีคอมเมิร์ซเป็นคลื่นลูกต่อไป แต่ Sigismondi บอกว่า ดีลที่เกิดขึ้นจะช่วยต่ออนาคตของ brick-and-mortar (ธุรกิจที่มีหน้าร้านให้ลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้า) ได้อีกด้วย และความร่วมมือครั้งนี้ยังช่วยให้ Unilever สามารถทดสอบสินค้าใหม่ก่อนตัดสินใจว่าจะส่งไปจำหน่ายในโลกออฟไลน์หรือไม่ โดยเริ่มต้นทดสอบกับกลุ่มลูกค้าออนไลน์บน Lazada ก่อน

Frost & Sullivan (ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน) เผยข้อมูลด้านการวิจัยตลาดว่า จำนวนยอดขายออนไลน์ทั้งหมดในอาเซียนคิดเป็น 2.5% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด ขณะที่จีนมีการค้าออนไลน์มากกว่า 12% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

ตัวเลขนี้แสดงถึงความท้าทายและโอกาสใน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม

ความท้าทายในมุมหนึ่งคือ เรื่องโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ในภูมิภาคอาเซียนยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา อีกมุมคือ หากไม่รวมสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว ในภูมิภาคนี้มีผู้บริโภคที่มีบัตรเครดิตไม่ถึง 7%

ความสัมพันธ์ของ Unilever กับ Lazada ครั้งล่าสุดจึงคล้ายกับที่ Unilever เคยเป็นพาร์ทเนอร์กับ Alibaba ในประเทศจีนเมื่อปี 2015 ซึ่งในตอนนั้นมีเป้าหมายเพื่อเข้าถึงกลุ่มนักช็อปชาวจีนโดยตรง

ที่มาของเรื่องและภาพ CNBC

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมสถานีชาร์จ EV ของ PEA บนเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เทศกาลสงกรานต์มาถึงแล้ว หลายคนคงเตรียมออกเดินทางทั้งกลับบ้าน แต่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อาจกังวลเรื่องจุดชาร์จระหว่างทาง Techsauce จึงรวบรวมจุดให้บริการสถานีชาร์จ EV ทั่วประเท...

Responsive image

วิจัยพบ AI ไม่ได้คิดอย่างที่พูด แม้จะโชว์วิธีคิดยาวเหยียด แต่ซ่อนความคิดที่แท้จริงไว้ไม่บอกใคร

ตอนนี้มี AI ประเภทใหม่ที่เรียกว่าโมเดลจำลองการให้เหตุผล (SR Model) ซึ่งถูกสร้างมาให้โชว์วิธีคิดทีละขั้นตอน เวลาเราถามคำถามยากๆ AI จะอธิบายออกมาเป็นขั้นเป็นตอนว่าคิดด้วยวิธีไหน ถึงไ...

Responsive image

เปิดตัว Llama 4 โมเดล AI ที่ฉลาดที่สุดของ Meta ทำอะไรได้บ้าง แต่ละโมเดลต่างกันอย่างไร ?

Meta ได้เปิด Llama 4 ซึ่งเป็น AI เวอร์ชันอัปเดตล่าสุดอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนี้มีโมเดลใหม่ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ Llama 4 Scout, Llama 4 Maverick และ Llama 4 Behemoth โดยทาง Meta เป...