Social Media Marketing เติบโตอย่างรวดเร็วในไทย เพราะคนไทยใช้ Social Media เป็นอันดับแรกๆ ซึ่ง Social Media ที่คนไทยใช้มากที่สุดก็คือ Facebook Instagram และ Twitter ซึ่งคนไทยใช้ Facebook จำนวน 49 ล้านคน Instagram มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 11 ล้านคน และTwitter มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 9 ล้านคน
แบรนด์ต่างๆ ในเมืองไทยจึงแข่งกันใน Social Media Marketing กันอย่างดุเดือด งัดไม้เด็ดกันมาต่างๆ นานา Brand Mascot ก็เป็นท่วงท่าหนึ่งที่แบรนด์ต่างๆ ใช้กันมาก และดูเหมือนมันจะได้ผลดีซะด้วยสิ Startup หลายบริษัท ก็เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ที่ใช้เล่าเรื่องราวของแบรนด์ต่างๆ จึงทำให้เรารู้จักเจ๊จู ร้านวัสดุก่อนสร้าง, เพนกวิน Frank, สิงโต Lazada, แพนด้า Food Panda, พี่หมี Gobear โดยการใช้ Mascot ถูกวิจัยมาแล้วว่าถ้ามีการใช้ Mascot ให้ดีและเหมาะสม เหล่า Mascot น่ารักๆ พวกนี้มีพลังมากกว่าการใช้เงินจ้างดาราอีกนะ
มีงานวิจัยระบุไว้ว่า การใช้ Mascot ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากกว่าการจ้างคนดังซะอีก สถาบันวิจัย Synthesio พบว่า โพสต์ที่มีคนดังมีการแชร์เฉลี่ย 3.19% แต่โพสต์ที่มี Mastcot มีการแชร์มากกว่าเยอะเลย Pillsbury Doughboy มีการแชร์ถึง 22.14% Alfa Duck มีการแชร์ 11.82% GEICO Gecko มีการแชร์ 6.15%.
มากไปกว่านี้ โพสต์ที่มี Mascot ได้รับการแชร์มากกว่าโพสต์ที่เป็นแค่ Text หรือ รูปอย่างเดียว เช่น Charmin Bears มียอดแชร์สูงขึ้น 585% Keebler Elves มียอดแชร์สูงขึ้น 203% Mr. Clean มียอดแชร์สูงขึ้น 182%
กิ่งก่า GEICO เป็น Moscot ตัวอย่างที่ได้รับความรัก ความเอ็นดูมากในอเมริกา GEICO เลือกใช้กิ่งก่าสีเขียวหน้าตาตลก ซึ่งเจ้ากิ่งก่าตัวนี้ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้กับวงการประกัน ประกันของ GEICO จึงกลายเป็นสนุก เรื่องขำๆ ไม่ใช่เรื่องที่วุ่นวาย เข้าใจยาก กิ่งก่า GEICO ยังทำตัวใกล้ชิดกับผู้บริโภค ใช้ชีวิตเหมือนเราทุกคน (ถึงแม้จะเกรียนๆ หน่อย)
Aflac เป็นบริษัทประกันเช่นเดียวกับ GEICO แต่ใช้ Mascot เป็นเป็ด โดยเป็ด Alfac จะแสดงให้คนเห็นว่าประกัน Aflac เป็นเรื่องสนุก ใกล้ชิดกับเรา ซึ่งเป็ดตัวนี้จะไปในที่ๆ เราไป พูดเรื่องสนุกๆ น่าขำขัน ทำให้คนรักเจ้าเป็น Aflac (พอๆ กับกิ่งก่า GEICO เลยทีเดียว)
เป็นตัวอย่างการใช้ Mascot ที่ประสบความสำเร็จ Mr. Clean ถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1957 ได้เป็นที่รู้จักในโฆษณาโทรทัศน์ และปัจจุบัน Mr. Clean ได้ปรากฏอยู่ใน Social Media และเป็นที่รักของทุกคน เพราะภาพลักษณ์ที่ตลก ขำขัน ฮา และ Intrend จึงเป็นเรื่องที่ฮาและน่าแชร์
Frank.co.th ใช้หลักการเดียวกับ GEICO และ Aflac คือการใช้ Mascot มาทำให้คนรู้สึกว่าประกันเป็นเรื่องเข้าถึงง่าย เป็นเรื่องสนุก ให้คนรู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์ และให้แบรนด์มีส่วนร่วมกับคน เช่น พอราคาน้ำมันขึ้น เพนกวิน Frank ก็ออกมาบอกทุกคนพร้อมกับน้ำตาคลอ ส่วนเพนกวิน Frank จะเป็นที่รักของชาวไทยไหมก็ต้องรอดูกันต่อไป
Lazada ใช้ Mascot สิงโตนำมาเล่าเรื่องราวของแบรนด์โดยเล่าเรื่องตลกๆ มุขตลกๆ ให้คนเข้าถึงแบรนด์ง่ายๆ เล่นมุข shopping ขำๆ มุขง่ายๆ ที่ไม่ว่าเล่นกับใครก็โดนใจหมด
Food Panda ก็ใช้ตัวแพนด้าให้สมชื่อโดยเอาแพนด้ามาเล่นมุขตลกที่เกี่ยวกับอาหาร ซึ่งมุขต่างๆ เป็นมุขใกล้ตัวที่ใครๆ ก็ขำ
พี่หมี Gobear คอยมาทำน่านิ่ง น่ารัก ให้เราหลงไหล ซึ่งก็ใช้ไอเดียเดียวกับ GEICO และ Aflac ที่ใช้ Moscot มาสร้างความใกล้ชิดให้ลูกค้ากับสินค้า
ตัวอย่างสุดท้ายเป็น Mascot ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร เพราะแทนที่จะใช้สัตว์ หรือการ์ตูนเพื่อความน่ารัก เขากลับใช้คุณป้า แก่ๆ ในลุคล้ำสมัยเพื่อเสียดสีและล้อเลียนสังคม ตัวอย่างที่เราพูดถึงคือ เจ๊จู คุณป้าจาก BUILK.com x Yello ร้านขายวัสดุออนไลน์ ที่ใส่เสื้อคอเต่าแบบ Steve Job ซึ่งได้กลายเป็น Viral ในช่วงข้ามคืนใครๆ ก็แชร์ ใครๆ ก็ออกมาลอกเลียน ล้อเลียนกันใหญ่ ลักษณะของโพสต์เจ๊จูคือใช้ความขัดแย้งระหว่างภาพลักษณ์ของคุณเจ๊ กับความทันสมัยของ Mood and Tone เข้าถึงแล้วเข้าหาผู้บริโภคแบบเป็นกันเอง เจ๊จูถือเป็นตัวอย่างการใช้ Mascot ที่ประสบความสำเร็จของเมืองไทย
เพราะบางครั้ง Mascot มีพลังมากกว่าการจ้างคนดัง ทั้งสามารถทำให้คนจดจำได้มากกว่า และสร้างความใกล้ชิดให้กับสินค้าและผู้บริโภคมากกว่า Mascot จึงเป็นเครื่องมือทางการตลาด Startup เองก็มองเห็นจุดนี้ หลายๆ แบรนด์มี Mascot ประจำตัว แต่การที่เราจะสร้างเรื่องราวข้างหลัง Mascot พวกนี้ (Background story) ให้แบรนด์และ Mascot ของเรา การแสดงจุดยืนที่ชัดเจน เล่นกับผู้คนอย่างไร ถี่แค่ไหน ก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันที่จะทำให้ Mascot นี้ประสบความสำเร็จ
ข้อมูลจาก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด