MAX Ventures Validation Program 2023 โครงการบ่มเพาะธุรกิจโดย PTG ที่นิสิต นักศึกษาจะได้พัฒนาไอเดียเป็นสินค้าหรือบริการจริง | Techsauce

MAX Ventures Validation Program 2023 โครงการบ่มเพาะธุรกิจโดย PTG ที่นิสิต นักศึกษาจะได้พัฒนาไอเดียเป็นสินค้าหรือบริการจริง

ถึงเวลาของนิสิต นักศึกษา ที่ต้องการพัฒนาสินค้า/บริการออกสู่ตลาด หรือเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพราะขณะนี้มี MAX Ventures Validation Program 2023 โครงการบ่มเพาะธุรกิจที่ บริษัท แมกซ์ เวนเจอร์ส จำกัด (MAX Ventures) กองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ (CVC) โดย บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เปิดโอกาสให้ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยที่กำลังริเริ่มทำธุรกิจ Startup หรือธุรกิจ Innovation สมัครเข้าร่วมโครงการได้ โดยไม่จำกัดว่า กำลังพัฒนาสินค้าหรือบริการในกลุ่มอุตสาหกรรมใด 

ในด้านการคัดเลือกผู้ที่จะได้เข้าร่วมโครงการ MAX Ventures Validation Program 2023 ทีม MAX Ventures จะคัดเลือกทีมที่มีสินค้า/บริการจริงและพร้อมให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทดลองใช้ โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้ายจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นทีมงานของ MAX Ventures ได้รับการสนับสนุนด้านเงินลงทุน รวมถึงโอกาสในการระดมทุนผ่านการ Pitching อีกด้วย

โครงการที่พร้อมสนับสนุน ‘ผู้เรียน’ ซึ่งกำลังมองหาโอกาสใหม่

ทาง MAX Ventures มีความมุ่งมั่นในการเปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษาที่กำลังพัฒนาธุรกิจแบบไม่จำกัดกลุ่มอุตสาหกรรม และมองเห็นโอกาสที่จะขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ให้เติบโตได้ต่อไป เนื่องจากผู้สนับสนุนโครงการคือกลุ่ม PTG องค์กรที่เริ่มต้นธุรกิจจากการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบป่าล้อมเมือง และเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีกิจการในเครือที่มีความแข็งแกร่งมากถึง 8 กลุ่มธุรกิจในปัจจุบัน ดังนี้ 

  • 1. กลุ่มธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและธุรกิจค้าปลีก 
  • 2. กลุ่มธุรกิจจำหน่ายก๊าซ LPG 
  • 3. กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนและการลงทุน 
  • 4. กลุ่มธุรกิจขนส่ง 
  • 5. กลุ่มธุรกิจบริหารและจัดการระบบ 
  • 6. กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 
  • 7.กลุ่มธุรกิจศูนย์บริการและซ่อมบำรุงรถยนต์ 
  • 8. กลุ่มธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) 

ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและความมั่นคงแข็งแรงของกลุ่มธุรกิจ PTG จึงเป็นแบ็คอัพอันแข็งแกร่งที่นิสิต นักศึกษา สามารถนำไอเดียนวัตกรรม เข้าไปพัฒนา ทดลอง ทดสอบ และสร้างสินค้า/บริการที่ผู้บริโภคใช้งานได้จริง โดยนิสิต นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการจะสามารถนำสินค้า/บริการของตนเข้าไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในระบบนิเวศการค้าของ PTG และยังเติบโตบนฐานธุรกิจของ PTG ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศได้ นอกจากนี้ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการอาจได้รับการสนับสนุนเพื่อต่อยอดและเตรียมแผนรุกตลาดใหม่ต่อไป

นิสิต นักศึกษาที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ต้องมีครบทั้ง 5 องค์ประกอบนี้

  1. Product/MVP : นิสิต นักศึกษามีสินค้า/บริการที่สามารถใช้งานได้จริง และพร้อมจำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  2. Traction : นิสิต นักศึกษามีความสามารถในการดึงดูดลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาทดลองใช้งานหรือทำให้เกิดการซื้อขายสินค้า/บริการจริง โดยมีข้อมูลจริงรองรับ เช่น สถิติการซื้อ จำนวนเงินที่ได้ การเข้ามาซื้อซ้ำ

  3. Team : นิสิต นักศึกษามีทีมที่มีศักยภาพในการสร้างสินค้า/บริการ และมีความพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจจริงร่วมกัน

  4. Plan : นิสิต นักศึกษามีแผนธุรกิจในช่วง 1 - 3 ปีแรก เพื่อนำไปสู่การทำธุรกิจจริง

  5. Member : มีสมาชิกในทีมมากกว่าครึ่ง (50%) กำลังศึกษาอยู่ หรือสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไม่เกิน 2 ปี (นับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา)

ไฟล์เอกสารที่ผู้สมัครจะต้องนำส่งให้ทีม MAX Ventures พิจารณา มีดังนี้

  • รายละเอียดของสินค้า/บริการที่กำลังพัฒนา
  • ชื่อและข้อมูลเบื้องต้นของสมาชิกทุกคนในทีม
  • ไฟล์ที่ใช้ในการเสนอขายไอเดีย (Pitch Deck Presentation File) โดยส่งได้ทั้งประเภท Document และ PDF
  • ลิงก์ข้อมูลอื่นๆ ที่ทำให้ MAX Ventures เข้าใจแนวคิด เข้าใจทีม หรือเข้าใจไอเดียทางธุรกิจมากขึ้น เช่น Facebook, Website แต่อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบข้อนี้ไม่ถือเป็นการบังคับ ทีมสามารถพิจารณาการส่งข้อมูลได้อย่างอิสระ

ผู้สมัครต้องเข้าร่วมการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ (Validation Process) เพื่อนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์จริง รวม 6 ข้อ ดังนี้

  1. ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการทำ NDA เพื่อรักษาความลับให้แก่ทีมสตาร์ทอัพและธุรกิจในเครือ PTG ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ

  2. ทีมจะต้องกำหนด OKRs หรือเป้าหมายของการทดสอบสินค้า/บริการ, ตัวชี้วัด, แผนการ และงบประมาณที่จะใช้ในการทดสอบ

  3. ทีมสามารถนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype/MVP) ไปทดลองตลาดได้ โดยให้ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้

  4. ทีมสามารถจัดทำสรุปผลการทดสอบและนำข้อมูลที่มีไปพัฒนาต่อได้

  5. ทีมต้องเปิดกว้างสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ซ้ำ เพื่อพัฒนาสินค้า/บริการตามความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละทีม

  6. ทีมสามารถสรุปผลการทดสอบและนำเสนอแก่ผู้บริหารโดยตรงเพื่อหาโอกาสต่อยอดทางธุรกิจต่อไป

และสุดท้าย เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา - คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ MAX Ventures Validation Program 2023 มีดังนี้

  1. Value Proposition นิสิต นักศึกษามีความเข้าใจกลุ่มลูกค้าและสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้

  2. Business Opportunity นิสิต นักศึกษาเห็นโอกาสจากการดำเนินธุรกิจว่าสามารถสร้างกำไรได้

  3. Product Readiness นิสิต นักศึกษามีความพร้อมในด้านการพัฒนาสินค้า/บริการ ที่จะนำไปทดสอบตลาด

  4. Validation นิสิต นักศึกษามีแผนทดสอบที่ชัดเจนและเหมาะสมกับตลาด

กำหนดการรับสมัครและคัดเลือกผู้สมัคร

โครงการ MAX Ventures Validation Program 2023 เปิดรับสมัครถึง 31 กรกฎาคม 2023 ซึ่งทีมผู้สมัครจะได้รับการ Prescreen จากทาง MAX Ventures โดยจะมี 10 - 12 ทีมที่จะได้ Pitching และ Incubation Committee กับผู้บริหารของเครือ PTG Energy ในวันที่ 8 สิงหาคม 2023 จากนั้น MAX Ventures จะคัดเลือกเพียง 3 - 5 ทีมที่จะได้เข้าร่วมโครงการนี้

MAX Ventures Validation Program 2023
หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MAX Ventures Validation Program 2023 สามารถติดต่อได้ทาง Messenger ของเพจเฟซบุ๊ก MAX Ventures หรือทางอีเมล [email protected] และหากต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการ MAX Ventures Validation Program 2023 สามารถกรอกข้อมูลเพื่อสมัครได้ที่ลิงก์ https://bit.ly/mvtvld23 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...