ภาพจริง หรือ AI เก่งแค่ไหนก็แยกไม่ออก ผู้ใช้เซ็งระบบ Meta มองภาพจริงเป็นของ AI ด้าน Meta เปลี่ยนแท็กจาก 'Made with AI' เป็น 'AI info' | Techsauce

ภาพจริง หรือ AI เก่งแค่ไหนก็แยกไม่ออก ผู้ใช้เซ็งระบบ Meta มองภาพจริงเป็นของ AI ด้าน Meta เปลี่ยนแท็กจาก 'Made with AI' เป็น 'AI info'

เมื่อวันจันทร์ (1 ก.ค) ที่ผ่านมา Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram ประกาศว่าจะเปลี่ยนป้ายกำกับคอนเทนต์ที่สร้างด้วย AI จากคำว่า 'Made with AI' เป็น 'AI info' ในทุกแอปพลิเคชันของบริษัท หลังผู้ใช้งานร้องเรียนว่าคอนเทนต์ที่มนุษย์สร้างเองถูกระบบมองว่าเป็นผลงานของ AI

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม Meta ได้ใช้วิธีแปะป้ายกำกับบนรูปภาพ วิดีโอ เสียง ที่สร้างโดย AI บนทุกแพลตฟอร์มของบริษัท เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สับสนระหว่างเนื้อหาที่สร้างโดยมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งคอนเทนต์ที่ AI สร้าง จะมีป้ายเขียนกำกับว่า  'Made with AI'

ปรากฎว่ามาตรการดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ไม่พอใจ โดยเฉพาะกลุ่มช่างภาพ เพราะภาพที่พวกเขาถ่ายเองกับมือ ถูกระบบมองว่าเป็นผลงานที่สร้างด้วย AI และติดป้ายกำกับเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ Pete Souza อดีตช่างภาพของทำเนียบขาว ซึ่งรูปเกมการแข่งขันบาสเก็ตบอลที่เจ้าตัวถ่ายด้วยฟิล์ม เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ถูกระบบแปะป้ายกำกับ 'Made with AI' เอาไว้

ตัว Souza  สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะการใช้เครื่องมือของ Adobe อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อัลกอริธึมของระบบมองว่าภาพถูกสร้างขึ้นด้วย AI ในขณะที่ PetaPixel รายงานว่า Meta จะใช้ป้ายกำกับ “Made with AI” เมื่อช่างภาพใช้เครื่องมือ เช่น Generative AI Fill ของ Adobe เพื่อลบวัตถุ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนคำเรียกของชื่อป้ายกำกับเท่านั้น เมื่อผู้ใข้คลิกที่ป้ายกำกับใหม่ อย่าง  'AI info' ระบบก็จะทำงานแบบเดิม โดยจะแสดงเหตุผลให้ผู้ใช้งานทราบว่าทำไมภาพดังกล่าวถึงถูกติดป้ายสร้างด้วย AI

ซึ่งรูปภาพที่จะโดนติดป้าย นอกจากเป็นแรูปภาพที่สร้างโดย AI ทั้งหมดแล้ว อาจจะรวมถึงรูปที่ผ่านการแก้ไขด้วยเครื่องมือที่มีถึงเทคโนโลยี AI เช่น Generative Fil ของ Photoshop ด้วย แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ Meta หวังว่าจะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่า รูปภาพที่มีแท็กไม่ได้สร้างด้วย AI เสมอไป เท่ากับว่ามาตรการนี้ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหามากนัก

นอกจากนั้น บริษัทไม่ได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีพื้นฐานในการตรวจจับการใช้ AI ยังคงใช้ข้อมูล Technical Metadata ตามมาตรฐาน เช่น C2PA และ IPTC ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถช่วยให้เราแยกแยะความจริงกับสิ่งที่ถูกสร้างได้แบบ 100% 

อ้างอิง : techcrunch , theverge 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KKP คาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 หดตัว บ้านใหม่เสี่ยงค้างสต๊อกสูงสุดใน 8 ปี หวังมาตรการใหม่ช่วยกระตุ้น

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผย ตลาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 ยังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดชะลอตัวได้แก่ หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90%...

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...