สมาพันธ์ภาพยนตร์ จับมือ Netflix จัดทุน 16 ล้านเปิดลงทะเบียนเงินเยียวยาคนในอุตสาหกรรมบันเทิง | Techsauce

สมาพันธ์ภาพยนตร์ จับมือ Netflix จัดทุน 16 ล้านเปิดลงทะเบียนเงินเยียวยาคนในอุตสาหกรรมบันเทิง

“สมาพันธ์ภาพยนตร์” จับมือ Netflix  เปิดกองทุนเงินเยียวยาอุตสาหกรรมโทรทัศน์และภาพยนตร์ Netflix ร่วมสมทบทุนเป็นจำนวนเงิน 16 ล้านบาท (5 แสนเหรียญสหรัฐฯ โดยประมาณ)

สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติได้ประกาศความร่วมมือกับ Netflix เพื่อจัดตั้ง “กองทุนให้ลงทะเบียนเงินเยียวยาโควิด-19 สำหรับลูกจ้างอิสระในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครโทรทัศน์” ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือกับบุคลากรในวงการ ดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสถานการณ์ในปัจจุบัน

Credit: mpcthailand

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกต้องออกมาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อในประชากรให้น้อยที่สุดเพราะยังไม่มีเเนวทางหรือวัคซีนป้องกันไวรัสนี้ ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักในทุกด้านรวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่เริ่มวิกฤต เพราะการเเพร่ระบาดของไวรัสทำให้การดำเนินกิจการ บางอย่างไม่สามารถทำงานได้ เเละยังไม่มีคำตอบเเน่ชัดจากมาตรการถึงช่วงเวลาที่จะหยุดการเเพร่ระบาดของไวรัสนี้

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ อุตสาหกรรมโทรทัศน์และภาพยนตร์ หนึ่งในเส้นเลือดหลักของการสร้างรายได้และการจ้างงานของผู้มีทักษะด้านศิลปะ-การละคร รวมถึงช่างเทคนิกด้านงานบันเทิงทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังหลายคน เมื่อไม่สามารถดำเนินกิจการหรือจัดกิจกรรมได้ดังเดิม รวมถึงความไม่เเน่นอนของวิกฤตนี้ว่าจะจบลงเมื่อไร ทำให้กองถ่ายทำภาพยนตร์-ละครและการผลิตรายการโทรทัศน์จำนวนมากต่างต้องหยุดชะงักลง ทั้งนักแสดงและบุคลากรเบื้องหลังจำนวนมากต้องหยุดงานและขาดรายได้ 

ด้วยเหตุนี้ ทางสมาพันธ์ภาพยนตร์จึงได้ร่วมมือกับ Netflix เพื่อก่อตั้งกองทุนให้ลงทะเบียนเงินเยียวยาสำหรับอุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสถานการณ์นี้ โดยในโอกาสนี้ ทาง Netflix เอง ได้ร่วมสนับสนุนเงินทุนเป็นจำนวน 16 ล้านบาท

ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ได้กล่าวว่า “สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ในฐานะตัวแทนอุตสาหกรรมตระหนักถึงความเดือดร้อนทุกข์ยาก ของทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อันเกิดจากภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรอาชีพอิสระในสายการผลิตภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในประเทศไทย สมาพันธ์ภาพยนตร์ จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่มีโอกาสระดมกำลังเพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมอาชีพ ในอุตสาหกรรม ภาพยนตร์และละครไทยที่กำลังประสบปัญหาอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก Netflix สมาพันธ์ภาพยนตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากองทุนนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับเพื่อนๆบุคลากรในวงการในช่วงเวลาวิกฤตโควิด-19นี้ ได้บ้างไม่มากก็น้อย”

คุณไมลีตา อากา ผู้อำนวยการฝ่าย Content Acquisition เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ออสเตรเลีย Netflix  กล่าวว่า “เราขอขอบคุณคนทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สำหรับการทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าประทับใจจากประเทศไทยให้เราได้รับชมกันบน Netflix ความร่วมมือกับ สมาพันธ์ภาพยนตร์ ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่เราจะก้าวเข้ามาสนับสนุนพี่น้องในวงการบันเทิง ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมากจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงนี้”

กองทุนนี้จะเปิดให้ลูกจ้างอิสระและผู้ที่ทำงานเป็นรายโปรเจกต์ เช่น ผู้ช่วยประจำกองถ่าย ผู้ช่วยนักตัดต่อ ผู้ควบคุมไมค์บูม และตำแหน่งอื่น ๆ ในกองถ่ายภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในประเทศไทย ได้ยื่นขอรับ ความช่วยเหลือผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

รายละเอียดของกองทุนเงินเยียวยา

คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเงินเยียวยา: ต้องเป็นลูกจ้างอิสระ (Freelance) ในกระบวนการการผลิตภาพยนตร์ หรือ ละครโทรทัศน์ในไทยโดยสามารถชี้แจงให้เห็นได้ว่า งานที่ตนทำอยู่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็น การยกเลิกหรือเลื่อนการผลิตออกไปนับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา (ช่วงเวลาเดียวกับการประกาศ พรก. สถานการณ์ฉุกเฉิน) ต้องไม่เป็นลูกจ้างอิสระที่ทำงานให้กับสายการผลิตของ Netflix  อยู่ ณ เวลานี้ หรือได้รับเงินเยียวยาจาก Netflix  ก่อนหน้านี้และเป็นผู้ถือสัญชาติไทยหรือ ผู้มีถิ่นพํานักถาวรในประเทศไทย โดยลูกจ้างอิสระ ที่เข้าข่ายได้รับการเยียวยา มีดังต่อไปนี้:

● ฝ่ายแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟค - ลูกจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) ตัวอย่างเช่น 2D/3D แอนิเมเตอร์ นักวาดสตอรี่บอร์ด นักวาดคอนเซ็ปต์อาร์ต ช่าง2D/3D VFX นักตัดต่อ VFX ผู้ประสานงานฝ่าย VFX ผู้ช่วยช่างเทคนิคฝ่าย VFX และอื่นๆ

● ฝ่ายศิลป์ - ลูกจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) ตัวอย่างเช่น ผู้จัดซื้ออุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้จัดการอุปกรณ์ประกอบฉากหน้ากอง ทีมงานฝ่ายจัดสร้างฉาก ทีมงานช่างก่อสร้าง ผู้ช่วยฝ่ายศิลป์ และอื่นๆ

● ฝ่ายเครื่องแต่งกาย/แต่งหน้า - ลูกจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) ตัวอย่างเช่น ผู้ช่วยฝ่ายเครื่องแต่งกาย ผู้ช่วยฝ่ายแต่งหน้า ผู้ช่วยฝ่ายทำผม และอื่นๆ

● ฝ่ายบริหารจัดการกองถ่าย - ลูกจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) ตัวอย่างเช่น ผู้ช่วยประจำกองถ่าย ผู้ช่วยผู้กำกับที่สองและที่สาม ผู้ช่วยฝ่ายบัญชี แคชเชียร์ประจำกองถ่าย ผู้ช่วยฝ่ายสถานที่ และผู้ช่วยฝ่ายจัดหานักแสดง คนขับรถประจำกองถ่าย ผู้ช่วยด้านสวัสดิการ และอื่นๆ

● ฝ่ายโพสต์โปรดักชั่น - ผู้มีอาชีพรับจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) ตัวอย่างเช่น ผู้ประสานงานฝ่ายโพสต์ ผู้ช่วยนักตัดต่อ ผู้ช่วยฝ่ายเสียง ผู้ช่วยนักปรับแต่งสี ผู้แปลสคริปต์ และอื่นๆ

● ฝ่ายงานเทคนิค - ผู้มีอาชีพรับจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) ตัวอย่างเช่น ผู้เก็บบันทึกไฟล์งาน ผู้ควบคุมไมค์บูม ช่างไฟ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพที่สองและที่สาม ผู้ช่วยช่างถ่ายภาพนิ่งประจำกองถ่าย ทีมงานช่างไฟและผู้ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค และอื่นๆ

วิธีลงทะเบียนรับเงินเยียวยา:

1. ผู้ลงทะเบียนกรอกแบบฟอร์มใบลงทะเบียนรับเงินเยียวยาและมีหนังสือรับรองการทํางานจากผู้ว่าจ้างงานเพื่อใช้เป็น เอกสารยืนยันว่างานที่ตนทําอยู่ได้รับผลกระทบ

2. แบบฟอร์มใบลงทะเบียนเยียวยาและหนังสือรับรองการทํางานดาวน์โหลด ที่ www.mpc.or.th

3. ส่ง (1) ไฟล์แบบฟอร์มการลงทะเบียนที่กรอกรายละเอียดสมบูรณ์ครบถ้วนพร้อม (2) หนังสือรับรอง การทํางาน (3) สําเนาบัตรประชาชนหรือสําเนาหนังสือเดินทาง และ (4) สําเนาหน้าสมุดธนาคาร นําส่งไฟล์เอกสารทั้งหมด ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ลิ้งค์ >>> Google Form <<< (ซึ่งประกาศบนหน้าแรก ของเว็บไซด์ของสมาพันธ์ภาพยนตร์ www.mpc.or.th) ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2563

วัน-เวลาเปิดลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินเยียวยา:

วันที่ 4 มิถุนายน เวลา 12:00 น. ถึงวันที่ 11 มิถุนายน เวลา 23:59 น. หรือจนกว่าจะมีผู้สมัครเต็มตามกำหนด ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม ลงทะเบียนตามไฟล์ที่ดาวน์โหลดจาก www.mpc.or.th ให้สมบูรณ์ครบถ้วนจึงจะมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณา การพิจารณาผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาจะพิจารณาจากแบบฟอร์มใบลงทะเบียนที่สมบูรณ์ครบถ้วนพร้อมด้วยเอกสารทั้งหมดที่ระบุในวิธีการลงทะเบียนและลําดับ การยื่นแบบฟอร์มตามวันและเวลาที่ยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ที่ลิ้งค์ >>> Google Form <<< เท่านั้น

ทั้งนี้การพิจารณาของ คณะกรรมการพิจารณาผู้รับสิทธิ์การเยียวยา ของสมาพันธ์ภาพยนตร์ถือเป็นที่สิ้นสุด ดังนั้น การยื่นใบลงทะเบียนและเอกสารต่างๆตามลําดับเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่หลักประกันว่า ผู้ลงทะเบียนจะต้องได้รับเงินเยียวยาแต่อย่างใด

ช่วงเวลาการยืนยันผู้รับสิทธิ์:

ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะได้รับการติดต่อจากสมาพันธ์ภาพยนตร์ผ่านทาง SMS และอีเมล์ถึงผลการพิจารณาภายในสองสัปดาห์หลังการลงทะเบียนอย่างถูกต้อง

ยอดเงินบริจาค: 15,000 บาท ต่อ 1 ผู้สมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสมาพันธ์ภาพยนตร์ ที่: เบอร์โทร: 02-6439100 อีเมล์: [email protected]

ขอบคุณข้อมูลจาก mpcthailand

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBTG จับมือ 3 มหา’ลัยชั้นนำ สร้าง Co-Master's Degree ปั้น ป.โท เก่ง AI ออกสู่ตลาด

หลักสูตรการศึกษามาใหม่! ที่ KBTG จับมือ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU)...

Responsive image

Apple ทุ่มลงทุน 336 ล้านบาท หวังปลดล็อคแบน iPhone 16 ในอินโดฯ

iPhone 16 ในอินโดจะยังได้ไปต่อไหม? เมื่อ Apple เสนอเงินลงทุนกว่า 336 ล้านบาทในอินโดนีเซีย หวังปลดล็อคการแบน iPhone รุ่นล่าสุด หลัง Apple ยังไม่บรรลุเป้าหมายการลงทุนในประเทศตามที่ต...

Responsive image

จีนท้าชนสหรัฐฯ เดินหน้าครองอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโลก ท่ามกลางแรงกดดัน

สหรัฐฯ ได้ใช้กลยุทธ์หลายอย่าง เช่นการควบคุมการส่งออกและการห้ามจำหน่ายอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสกัดกั้นการเติบโตของจีนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น ชิป AI และเซมิคอนดักเตอร์ อย่างไ...