รัฐบาลอังกฤษเร่งคุยบริษัทสตรีมมิ่งหลังศิลปินได้ค่าตอบแทนจากต้นสังกัดไม่เป็นธรรม | Techsauce

รัฐบาลอังกฤษเร่งคุยบริษัทสตรีมมิ่งหลังศิลปินได้ค่าตอบแทนจากต้นสังกัดไม่เป็นธรรม

ในยุคที่ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัล การจะฟังเพลงสักเพลงก็แสนง่าย เพียงแค่เราเปิดแอปสตรีมมิ่งขึ้นมา แต่ใครจะรู้ว่าศิลปินที่อยู่เบื้องหลังเพลงโปรดของเราอาจได้ค่าตอบแทนน้อยนิด 

ปัจจุบันบริการสตรีมมิ่งเพลงไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงให้ศิลปินโดยตรง แต่จะจ่ายให้กับค่ายเพลงตามสังกัดของศิลปิน ส่งผลให้ศิลปินส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม

ค่าลิขสิทธิ์ของบริการสตรีมมิ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่เพลงถูกเล่นบนแพลตฟอร์ม ศิลปินที่มียอดเข้าฟังเพลงเยอะก็จะมีรายรับจากการสตรีมในสัดส่วนที่มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เงินนั้นไม่ได้ไปถึงมือศิลปินหรือนักแต่งเพลงโดยตรง

มีรายงานว่าค่ายเพลงส่วนใหญ่จะแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้ศิลปินเพียงประมาณ 18-30% จากบริการสตรีมมิ่งเท่านั้น แม้หลายบริษัทสตรีมมิ่งได้เพิ่มการจ่ายค่าลิขสิทธิ์บ้างแล้ว แต่ศิลปินหรือนักแต่งเพลงยังคงได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรมอยู่ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักดนตรีเซสชั่นที่ได้รับค่าตอบแทนจากการร่วมงานในแต่ละเพลงเพียงแค่ 1-2% เท่านั้น 

สำหรับนักดนตรีอิสระที่ไม่มีสังกัดและปล่อยเพลงลงบนสตรีมมิ่งเองจะได้รับค่าลิขสิทธิ์เพลงจากบริการสตรีมมิ่งโดยตรง 

ในปี 2020 Nile Rodgers นักกีตาร์ โปรดิวเซอร์ และนักแต่งเพลง ก็เคยออกมาบอกไว้ว่าค่ายเพลงเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับจากบริการสตรีมมิ่งไว้ถึง 82%

ศิลปินจะได้เงินเท่าไหร่จากการปล่อยเพลงในแอป

สตรีมมิ่งแอปอย่าง Spotify ที่มีชื่อเสียงในด้าน PPS (pay-per-stream) ต่ำที่สุดในบรรดาบริการสตรีมมิ่งอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วเพลงของศิลปินบน Spotify จะได้เงินประมาณ 0.003$ ต่อการสตรีมหนึ่งครั้ง ซึ่งต้องมีการตรีมเพลงประมาณ 334 ครั้งถึงจะได้ 1$  

ในขณะที่ Apple music จ่ายให้ศิลปินประมาณ 0.01$ ต่อการสตรีมหนึ่งครั้ง ซึ่งเมื่อเทียบกับ Spotify แล้วศิลปินจะได้รับรายได้ที่มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม Apple Music ยังมียอดผู้ใช้บริการน้อยกว่า Spotify อยู่มาก 

ส่วน YouTube Music จ่ายเงินให้ศิลปินประมาณ 0.008$ ต่อการสตรีมหนึ่งครั้ง และจากความนิยมที่กำลังเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มรวมกับรายได้จากโฆษณาก็ทำให้มีรายได้สูงขึ้นอีกเล็กน้อย

ซึ่งมีความกังวลว่าศิลปินและนักแต่งเพลงได้รับส่วนแบ่งน้อยกว่าต้นสังกัดมาก เมื่อเล่นเพลงบนบริการสตรีมมิ่ง เช่น Spotify โดยมีรายงานเพิ่มเติมว่านักดนตรีอิสระนั้นไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการสตรีมเลย

ทำให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการในอุตสาหกรรมเพื่อพิจารณาถึงปัญหาเหล่านี้ ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ตรวจสอบการสตรีมเพลงมาตั้งแต่ปี 2019 และพบว่าในปี 2021 มีความไม่เป็นธรรมเรื่องค่าลิขสิทธิ์จริง

Dame Caroline Dinenage ประธานคณะกรรมการ Digital, Culture, Media and Sport (DCMS) กล่าวว่าเป็น "เป็นเรื่องที่ดีในการแก้ปัญหาความผิดหวังของนักดนตรีและนักแต่งเพลงที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่ควรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมและไม่ใช่แค่ประชุมพูดคุยเพียงเท่านั้น"

ในขณะเดียวกันฟากของค่ายเพลง Sophie Jones ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ British Phonographic Industry กังวลว่าอาจเกิดการกีดกันการลงทุนขึ้นมาได้เนื่องจากมีการแข่งขันจาก AI ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยกล่าวกับสื่อมวลชนว่ามีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการสตรีมมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและศิลปิน โดยที่ค่ายเพลงได้จ่ายเงินให้กับศิลปินมากกว่าที่เคยเป็นมา

'My money, my music'

Will Page อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Spotify กล่าวถึงการที่อุตสาหกรรมเพลงกำลังถกเถียงกันถึงวิธีการจัดสรรเงินว่า สำหรับศิลปิน ถ้าได้รับ 1% ของการสตรีมทั้งหมดในสหราชอาณาจักร ก็จะได้รับเงินเพียง 1% ในสหราชอาณาจักร เพราะว่าศิลปินไม่ได้รับค่าตอบแทนทุกครั้งที่มีการเล่นเพลงบน Spotify

ตามเว็บไซต์ของ Spotify ระบุถึงรูปแบบการจ่ายเงินลิขสิทธิ์ว่า :การจ่ายค่าลิขสิทธิ์ที่ศิลปินได้รับอาจแตกต่างกันไปตามความแตกต่างในการสตรีมเพลงของพวกเขาหรือข้อตกลงที่พวกเขามีกับค่ายเพลงหรือผู้จัดจำหน่าย 

Page เลยเสนออีกวิธีคือ ทำให้มีการชำระเงินโดยมีผู้ใช้เป็นตัวกลางอาจจะยุติธรรมสำหรับศิลปินมากกว่า โดยจ่ายค่าสมาชิกสำหรับเพลงที่ต้องการจะฟังเท่านั้น เรียกว่า 'My money, my music' ซึ่งจะทำให้ค่าสมัครถูกแบ่งไปยังศิลปินโดยตรง 

แต่เขายังมีความกังวลว่าคณะกรรมการนี้จะสร้างความแตกต่างได้หรือไม่ เพราะเคยสอบถามคณะกรรมการ DCMS ยาวนานกว่าสามปี มีการพิจารณาพูดคุย ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหลายต่อหลายครั้ง แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับความคืบหน้า 

อ้างอิง: bbc , producerhive , mashablesea , lalalai

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อดีตซีอีโอ Nissan เตือน การควบรวมกิจการกับ Honda อาจทำให้เจอ 'ปัญหา' การลดต้นทุนครั้งใหญ่

Carlos Ghosn อดีตซีอีโอของ Nissan ออกมาเตือนว่า บริษัทอาจต้องเผชิญกับ "หายนะ" จากการลดต้นทุนครั้งใหญ่ หากตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Honda โดยเขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองบริษัทมีความซ้ำซ้อน...

Responsive image

เชื่อหมอมากกว่า TikTok ? วิจัยชี้ คำแนะนำทางการแพทย์เกือบครึ่ง 'มั่ว'

Tebra บริษัทวิจัยด้านสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่า 5,000 รายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อทำการประเมินความถูกต้องของ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เ...

Responsive image

Zoom เผย 10 เทรนด์ AI ในการทำงาน ที่ต้องจับตา ปี 2025

ในปี 2568 บริษัทซูม วิดีโอคอมมิวนิเคชันส์ (Zoom) มองว่าเทคโนโลยี AI อาจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในหลายๆด้าน บริษัทที่ใช้ AI เป็นหลัก จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สร้างประสบการ...