NIA เปิดกลยุทธ์ 3 ปี สร้างโอกาสทางนวัตกรรมสู่ท้องถิ่น ในยุคที่เงินไม่ใช่เพียงคำตอบเดียวอีกต่อไป | Techsauce

NIA เปิดกลยุทธ์ 3 ปี สร้างโอกาสทางนวัตกรรมสู่ท้องถิ่น ในยุคที่เงินไม่ใช่เพียงคำตอบเดียวอีกต่อไป


สำนักงานนวัตกรรมแหงชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดแผนส่งเสริมนวัตกรรมระดับท้องถิ่นให้เกิดการกระจายโอกาสให้ผู้ประกอบการ บริษัท Startup เข้าถึงนวัตกรรม แหล่งเงินทุน โมเดลการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เน้นนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ในธุรกิจ วางเป้าหมาย 3 ปีข้างหน้าจะต้องสร้าง Deep Tech Startup 100 ราย และสร้างบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่ 3,000 ราย



ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาสังคมไทยถูกดึงเข้าสู่สังคมในยุค New Normal อย่างกะทันหัน ซึ่ง NIA คาดว่าปัญหาเหล่านี้จะยังคงอยู่ไปอีกหลายปี และส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องจากปัญหาที่เกิดกระทบต่อโครงการสร้างพื้นฐานทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และสำหรับปี 2564 การสร้างนวัตกรรมจะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เท่านั้น แต่จะสะท้อนไปถึงการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ โดยจะเน้นการเสริมพลังและสร้างโอกาสนวัตกรรมท้องถิ่นผ่านความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งเอกชน รัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างให้จังหวัดหัวเมืองกลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในระดับภูมิภาค และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหรือ Startup  ในพื้นที่ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการส่งเสริมให้เข้าถึงการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยหรืองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้เกิดการจ้างงานภายในภูมิภาคเพื่อสร้างความเท่าเทียม สร้างโอกาสทางนวัตกรรมในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีเชิงลึกในภาคธุรกิจให้มากขึ้น  

เป้าหมาย 3 ปี (64-66)

ทั้งนี้ในระยะเวลา 3 ปี(2564-2566) คีย์เวิร์ดที่สำคัญของ NIA คือ การสร้างนวัตกรรมที่มาจากประเทศไทย( Innovation Thailand) ให้มีความชัดเจนที่ไม่เพียงแค่ให้โอกาสทางการเงินแก่ผู้ประกอบการอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากมองว่าหลังจากนี้เงินจะไม่ใช่เพียงคำตอบเดียวอีกต่อไปแล้ว ถ้าหากเราไม่มีการหยิบยื่นโอกาสทางนวัตกรรมไปสู่ภูมิภาค ก็เปรียบเสมือนว่าเราไม่สามรถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปได้อย่างถาวร

โดย NIA ได้วางเป้าหมายว่าในปี 3 ปีจะต้องสามารถสร้าง Deep Tech Startup 100 ราย และสร้างบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่ 3,000 ราย จาก 7 กลุ่มอุตสากหรรม ซึ่งแบ่งเป็น 'นวัตกรรมเชิงลึก' ได้แก่ นวัตกรรมเกษตร (Agritech) นวัตกรรมอาหาร (FoodTech) นวัตกรรมที่ใช้ระบบAI Robotic(ARI) นวัตกรรมเชิงพื้นที่(Space) นวัตกรรมสุขภาพ (Healthtech)   และ นวัตกรรมเชิงคอนเทนต์ ซึ่งได้แก่ นวัตกรรมด้านศิลปะ (MARtech) และนวัตกรรมท่องเที่ยว (Traveltech) 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวต่อว่า สำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรม NIA มีการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ให้ตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ครอบคลุมในทุกกลุ่ม ผ่าน 7 เครื่องมือ ได้แก่

⦁    Incubator/Accelerator ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อให้ความรู้ บ่มเพาะ และเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพ

⦁    Investment โดย NIA จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพให้เข้าถึงแหล่งลงทุนมากขึ้น ผ่านเครือข่ายนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

⦁    Innovation Organization / Digital / Transformation เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรมีการใช้ระบบดิจิทัล หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจตัวเองให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมถึงการใช้เครื่องมือในการประเมินองค์กรนวัตกรรม

⦁    SID หรือหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อบ่มเพาะ ยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถด้วยการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม ให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือผู้ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมจนสามารถพัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องได้ ผ่านกิจกรรมเครือข่าย การให้ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและการบ่มเพาะ 

⦁    Grant ผ่านเงินทุนอุดหนุนให้กับผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพ โดยต้องดำเนินการพร้อมกับแผนธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 

⦁    Region / Innovation Hub/ Innovation District เพื่อสร้างให้เกิดการทำงานร่วมกันในแบบเครือข่ายที่เข้มแข็ง ซึ่งถือเป็นการสร้างศักยภาพให้แก่พื้นที่นั้นๆ โดยการสร้างนวัตกรรมเชิงพื้นที่จำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย 

⦁    Entrepreneurial University การส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้ความรู้และความเข้าใจในการทำธุรกิจนวัตกรรม สามารถสร้างโมเดลการทำธุรกิจใหม่ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยหลักๆ ตามหัวเมืองใหญ่ของประเทศ เพื่อกระจายความรู้และโอกาสไปยังท้องถิ่น

7 นวัตกรรมที่จะช่วยในการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม NIA ตั้งเป้าอยากเห็นผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนสามารถสร้างโมเดลธุรกิจนวัตกรรมให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน โดย NIA เล็งเห็นถึง 7 นวัตกรรมที่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศได้ในช่วงที่ระบบนวัตกรรมกำลังเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 

1.นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ (Business Model Innovation) ส่งเสริมให้บริษัทเอกชนหันมาสร้างโมเดลธุรกิจในรูปแบบใหม่ด้วยนวัตกรรม รวมถึงการหาเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ

2.นวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-Based Innovation) โดยสร้างให้เกิดหน่วยนวัตกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ช่วยให้เกิดการจ้างงาน 

3.นวัตกรรมสังคม (Social Innovation) เน้นลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ชุมชนเมือง และพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผู้คนให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19

4.นวัตกรรมภาครัฐและสาธารณะ (Public-Sector Innovation) เป็นเรื่องใหม่ที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมในภาคการบริการประชาชน และเปิดโอกาสให้หน่วยงานระดับกรมทำงานใกล้ชิดกับสตาร์ทอัพมากขึ้น เนื่องจากเอสเอ็มอีหลายรายมีความสามารถในการเข้าไปร่วมกับภาครัฐอยู่แล้ว

5.นวัตกรรมข้อมูล (Data-Driven Innovation) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญสำหรับใช้วิเคราะห์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการวิเคราะห์ว่าพื้นที่ใดมีโอกาสในการเข้าถึงระบบนวัตกรรม โดยผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพสามารถหยิบข้อมูลไปประกอบการทำธุรกิจได้เลย ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดให้เข้าถึงข้อมูลได้ประมาณกลางปี 2564 

6.นวัตกรรมกระบวนทัศน์ (Paradigm Innovation) เน้นเรื่องการมองอนาคตนวัตกรรม เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น ทำให้สามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที 

7.นวัตกรรมเชิงศิลป์ (Aesthetic Innovation ) ทั้ง ดนตรี ศิลปะ และสันทนาการ โดยเป็นนวัตกรรมที่จะส่งเสริมเพื่อเกาะกระแสความต้องการของคนในสังคมที่เสพคอนเท้นท์บันเทิงต่างๆ เพราะที่ผ่านมาหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สามารถสร้างสรรค์จนประสบความสำเร็จและสร้างรายได้มหาศาลกลับเข้าสู่ประเทศ 





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...