iNT Accelerate Platform ม.มหิดล รุกหนักก้าวกระโดด ตั้งเป้าขับเคลื่อนงานวิจั นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง | Techsauce

iNT Accelerate Platform ม.มหิดล รุกหนักก้าวกระโดด ตั้งเป้าขับเคลื่อนงานวิจั นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง

หากจะโฟกัสวงการสตาร์ทอัพบ้านเรา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตพร้อมพัฒนาอย่างก้าวกระโดดขึ้นเป็นอย่างมาก นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ ก่อให้เกิดสตาร์ทอัพที่มีความหลากหลาย มาพร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรมแนวคิดใหม่ ๆ  ให้กับคนไทย ช่วยเพิ่มขีดทักษะความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ อีกทั้งยังได้นำพาเศรษฐกิจและสังคมในยุคดิจิทัลได้อีกด้วย

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ และได้มีการดำเนินโครงการ iNT Accelerator Platform ที่ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในการบ่มเพาะ สนับสนุนการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยกระบวนการเร่งขับเคลื่อนแบบก้าวกระโดด หรือที่เรียกว่า Accelerator ให้กับนักวิจัย ทำหน้าที่สนับสนุนให้นักวิจัยสามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม 

“รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์” รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ iNT ได้ชูจุดยืนของโครงการ iNT Accelerate Platform

iNT Accelerator Platform มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่ภาคอุตสาหกรรมและสังคม โดยจะโฟกัสในเรื่อง  Health and Wellness ส่งผลให้ประเทศไทยเป็น Wellness Destination เพื่อการให้บริการสุขภาวะที่ดีจากทั้งในและต่างประเทศ โดยโครงการนี้ให้การสนับสนุนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ การสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และกลุ่มผู้ลงทุน Venture Capitalist รวมถึงการช่วยให้นักวิจัยสามารถนำเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปพัฒนาเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ในตลาดจริง

พลิกความท้าทายเป็นโอกาส พัฒนาศักยภาพ สตาร์ทอัพ นักวิจัยไทย พัฒนา Deep Tech Startup สร้างอิมแพคให้กับธุรกิจ 

ซึ่ง  “รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์” เน้นย้ำเสริมประเด็นนี้ต่ออีกว่า “iNT Accelerate Platform จะเป็นแกนหลักในการทำหน้าที่สนับสนุนให้นักวิจัยให้สามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Technology) และสร้างอิมแพคให้เกิดกับธุรกิจ ซึ่งอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการร่วมมือกับตลาดภายนอก ภาคอุตสาหกรรม การมองหา Venture Capitalist หรือ VC ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตอบสนองความต้องการของสังคมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม”

โดยในปัจจุบันมีบริษัทสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับการบ่มเพาะและสนับสนุนทุนจาก โครงการ iNT Accelerate Platform 

บริษัท เอียร์เอสเซนส์ จำกัด: ผลงานระบบเครื่องคัดกรองการได้ยินอัตโนมัติ 

บริษัท เพอร์เฟค โพรเทคชั่น จำกัด: ผลงานน้ำยาเข้มชั้นกำจัดกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคด้วยเอนไซม์นาโนโบโอคอนจูเกชัน 

บริษัท เอเวอร์เจน เทคโนโลยี จํากัด: ผลงาน PiLeatha หนังเทียมจากเส้นใยใบสับปะรด

บริษัท เอ อาร์ ทิเมด จำกัด: ผลงานแขนเทียมซิลิโคนเพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติการเจาะเลือด

จุดเด่นของ iNT Accelerate Platform เร่งให้เกิดการ Go to Market ของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของไทยได้มากขึ้น

iNT Accelerate Platform จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเร่งให้เกิดการ Go to Market สำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากประเทศไทยมากยิ่งขึ้น สร้างโอกาสในการเกิดเทคโนโลยีใหม่จากการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระบบนิเวศน์ทางสุขภาพ (Health Care Ecosystem) จากโรงพยาบาลภายในเครือของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึงการเป็น Venture Building ทำหน้าที่ไป Scouting ช่วยให้คำแนะนำดูแลในส่วนของ Business Model ให้กับผลิตภัณฑ์/บริการของบริษัทสตาร์ทอัพให้สามารถต่อยอดสู่ภาคธุรกิจต่อไปได้

และอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน คือ การทำให้ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพไทยมีความเข้าใจใน Business Model ที่วางเป้าหมายการขับเคลื่อนไปสู่ Global Market ให้ได้  ก็ยิ่งเป็นการเร่งสปีดให้เกิดการ Go to Market ของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของไทยได้มากขึ้นและนำสู่การสร้างมาตรฐานระดับโลกได้อย่างยั่งยืน 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

BGRIM แต่งตั้ง “ทวีศักดิ์” ร่วมบอร์ด “พีรเดช” คุมรีนิวเอเบิล “นพเดช” ดูแลธุรกิจไทย “ศิริวงศ์” นั่ง CFO

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ได้มีมติเห็นช...

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...